ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นายทะนง หนูสวัสดิ์ วันที่ : 2017-09-06-11:22:05

ที่อยู่ : 27/3 หมู 3 ตำบล : รำแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความเป็นมา : ครอบครัวทำนาสวนผสม ปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกตะไคร้ ปลูกมะพร้าว ทำน้ำหมักผลไม้ ทำจากผลไม้สุก มะละกอสุก สัปะรดสุก หมักทำปุ๋ยน้ำหมัก และทำปุ๋ยอินทรีย์ จากแกลบดำ และแกลบเหลือง
แรงบันดาลใจ : ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน กับครอบครัว ได้เห็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น จึงมีแรงบันดาลใจที่จะนำมาใช้กับหมู่บ้าน
เหตุผลที่ทำ : ด้วยตำแหน่งกำนันตำบลรำแดง ต้องการขยายผลแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่คนในชุมชน ในการประหยัดและลดต้นทุนในการทำเกษตรผสมผสาน ในเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้ปุ๋ยที่ทำขึ้นเอง ให้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ทำปุ๋ยอินทรีย์ วัตถุดิบที่ใช้
  - แกลบดำ กระสอบละ 30 กก. จำนวน 50 กระสอบ
  - แกลบเหลือง กระสอบละ 20 กก. จำนวน 92.5 กระสอบ
  - รำละเอียด จำนวน 200 กิโลกรัม 
  - กากน้ำตาล จำนวน 60 กิโลกรัม
  - มูลสัตว์ขี้วัว กระสอบละ 20 กก. จำนวน 50 กระสอบ

อุปกรณ์ ->

สร้างลานผสมปุ๋ย : -วัสดุ ปูนตราเสือ  จำนวน 10 ถุง
                         - หิน 3/4  จำนวน 3 คิว
                         - ทรายหยาด  จำนวน 3 คิว
                         - เหล็กแท่ง 2 หุน  จำนวน 13 แท่ง
                         - บัวรดน้ำ จำนวน 2 อัน
                         - พลั่วเหล็กพร้อมด้าม จำนวน 2 อัน
                         - ตะขอเบื้อง 8 นิ้ว  จำนวน 100 อัน
                         - อิฐบล๊อค  จำนวน 160 ก้อน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-สร้างลานผสมปุ๋ย จากวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนโดยใช้แรงงานจากสมาชิกสัมมาชีพชุมชน
- หลังจากได้ลานผสมปุ๋ย นำวัตถุดิบทำปุ๋ยมาผสมทำปุ๋ยโดยการสาธิตของปราชญ์สัมมาชีพชุมชน

ขั้นตอนการผสมปุ๋ยหมักจากแกลบผสมขี้วัว
1. ขี้วัว จำนวน 30 กิโลกรัม
2. แกลบดำ จำนวน 10 กิโลกรัม
3. แกลบเหลือ จำนวน 10 กิโลกรัม
4. รำละเอียด จำนวน 10 กิโลกรัม
5. กากน้ำตาล จำนวน 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 กิโลกรัม
ขั้นตอนการผสมปุ๋ย
     นำวัตถุดิบผสมปุ๋ยมากองรวมกัน (ข้อ 1-4) แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำกากน้ำตาลที่ผสมน้ำมาราดให้ทั่ว ๆ และคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง หลังจากนั้นใช้มือกำปุ๋ยขึ้นมาหนึ่งกำมือบีบให้มีน้ำออกเล็กน้อย หลังจากนั้นตั้งหมักไว้ประมาณ 30 วัน นำไปใช้ได้
 

ข้อพึงระวัง ->

- การนำปุ๋ยไปใช้ให้ใช้กับที่นาที่มีน้ำขัง ไม่ควรใช้กับนาแห้ง เพราะเมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจะทำให้ต้นวัชพืชขึ้นได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสงขลา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา