ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นายเสนอ หนูแท้ วันที่ : 2017-03-29-07:08:48

ที่อยู่ : 14 หมู่ที่ 9

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการไปศึกษาดูงานการเพาะเห็ด แล้วกลับมาทดลองทำดู ได้ผดดี รู้สึกภูมิใจ ทำให้ขยายการเพาะเห็ดเพื่อการค้าได้มากตามกำลังของครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

1.สร้างอาชีพ เลี้ยงครอบครัวได้

2.หาวัสดุในพื้นที่ได้ง่าย

3.หาตลาดจำหน่ายได้พอเพียงกับการผลิต

3.ประโยชน์เห็ดนางฟ้า
   -เห็ดนางฟ้านิยมนำดอกเห็ดสดมาประกอบอาหาร เช่น เห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ต้มยำเห็ดนางฟ้า และห่อหมกเห็ดนางฟ้า เป็นต้น

   -สรรพคุณทางยา
– ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
– ลดไขมันในเส้นเลือด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบที่ใช้สูตรส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
– ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม
– รำละเอียด 5 กิโลกรัม
– ปูนขาว 1 กิโลกรัม
– ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม
– ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
– ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์

  1. วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาหารเสริม
  2. แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
  3. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 3/4 x 12 1/2 หรือ 8x12 นิ้ว
  4. คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว
  5. สำลี ยางรัด
  6. ถึงนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
  7. โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเพาะเห็ดนางฟ้า

การทำถุงเชื้อเห็ดนางฟ้า
อุปกรณ์ที่จะต้องใช้มี ถุงร้อนขนาด 7×11 นิ้ว หรือ 9×12 นิ้ว หรือใหญ่กว่านี้ คอขวดพลาสติกทำจากพลาสติกทนร้อน สำลี ยางรัด กระดาษหุ้มสำลี และช้อนตัก
การทำถุงเชื้อ
– นำขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนหรือขี้เลื่อยไม้ยางพารำ ผสมด้วยปูนขาวประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียดประมาณ 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามส่วนผสมนี้บางฟาร์มอาจแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมหรืออาจมีส่วนผสมอื่นๆ เพิ่มเติมก็ได้
– การหมักปุ๋ยเมื่อครบกำหนด 1 คืนแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงเติมรำละเอียดตามอัตราส่วน หรืออาจเติมดีเกลือลงไปด้วย การผสมน้ำ สำหรับเห็ดนางฟ้า อาจต้องผสมน้ำ ให้ชื้นปกติไม่ให้แห้งหรือแฉะเกินไป
– บรรจุในถุงพลาสติก เกือบเต็มถุง หรือประมาณ 1 – 1.2 กิโลกรัม เว้นปากถุงไว้สำหรับสวมคอขวดพลาสติก เพื่อการเขี่ยเชื้อ เมื่อใส่ปุ๋ยหมักลงในถุงแล้วให้ยกถุงกระทุ้งเบาๆเพื่อให้ขี้เลื่อยแน่นหรืออาจใช้มือกดลงไป บางฟาร์มเห็ดมีเครื่องบรรจุถุง ก็นำ มาใช้ได้ เมื่อปุ๋ยแน่นแล้วก็รวบปากถุงและใช้คอขวดสวมลงไป ใช้มือดึงถุงให้ตึงแล้วรวบปากถุงลงมา ด้านนอกใช้ยางรัดให้แน่น ก็จะทำ ให้ปากถุงก้อนเชื้อแคบลงมีขนาดเท่ากับคอขวด มันจะคงรูปร่างเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อใช้สำหรับให้มีที่ว่างของอากาศสำหรับเขี่ยเชื้อเห็ดลงไป
– ใช้ไม้ปลายแหลมเจาะรูปุ๋ยจากคอขวดให้ลึกลงเกือบกึ่งกลางถุง เพื่อ ให้
เชื้อเห็ดที่ใส่ลงไปเจริญได้จากบริเวณกลางถุงหรืออาจไม่เจาะก็ได้ หากไม่เจาะเส้นใยเห็ดก็จะเจริญ
จากด้านบนลงมา เช่นเดียวกับการทำ หัวเชื้อในเมล็ดข้าวฟ่าง ทั้งนี้ก็แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละฟาร์ม
– ใช้สำลีอุด แล้วหุ้มด้วยกระดาษและรัดด้วยยาง หรืออาจใช้ฝาครอบสำลี
แทนกระดาษก็ได้ เพื่อ ไม่ให้สำลีเปียกในเวลานึ่ง สำลีที่เปียกอาจนำ เชื้อราต่างๆ เข้ามาในถุงได้ง่าย

การนึ่งฆ่าเชื้อถุงปุ๋ย
เมื่อเตรียมถุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันหรือหม้อนึ่งลูกทุ่ง เพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ ที่เป็นศัตรูเห็ด เวลาในการนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของหม้อนึ่งและจำนวนก้อนเชื้อ อาจนึ่งเพียง 2 ชั่วโมง สำหรับการนึ่งเชื้อจำนวนน้อยและนึ่ง 4- 6 ชั่วโมง สำหรับเชื้อจำนวนมาก การนึ่งเชื้อจำนวนมากต้องระมัดระวัง และแน่ใจว่าสามารถนึ่งฆ่าเชื้อได้ทั่วถึง หลังจากนึ่งเรียบร้อยแล้ว นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้เย็นสนิทดีเสียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเชื้อเห็ดนางฟ้า จากเมล็ดข้าวฟ่างลงถุงต่อไป

การเขี่ยเชื้อเห็ดจากหัวเชื้อลงในถุงก้อนเชื้อ
ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเรียบร้อยแล้ว จึงนำเอาหัวเชื้อเห็ดนางฟ้าในเมล็ดข้าวฟ่างที่ทำขึ้นหรือซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้า มาเขี่ยลงไปในก้อนเชื้อโดยปฏิบัติ ดังนี้
– วางก้อนเชื้อเรียงกันเป็นแถว
– แกะเอากระดาษที่หุ้มปิดสำลีออกให้หมด แต่ยังคงจุกสำลีไว้โดยไม่ต้องเปิด และระวังไม่ให้สำลีหลุดออกมาจากคอขวด
– เช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ทั่ว นำขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง ที่คัดเลือกไว้แล้วเขย่าในขณะที่ยังปิดจุกสำลีอยู่ เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจาย
– ถอดจุกสำลีที่ขวดเมล็ดข้าวฟ่างออก
– นำปากขวดไปลนไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ใช้มืออีกข้างหนึ่งเปิดจุกสำลีก้อนเชื้อ แล้วเทหัวเชื้อลงไปในถุงประมาณ 10-20 เมล็ด จากนั้นจึงรีบปิดจุกสำลีทันที ไม่ต้องใช้กระดาษปิดทับ ถุงต่อไปก็ทำเช่นเดียวกัน ทุก 3-4 ถุง ให้ลนปากขวดด้วยไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ เมื่อเปิดขวดหัวเชื้อแล้ว ก็เขี่ยเชื้อให้หมด แต่หากเหลือไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะเชื้อในขวดอาจตายแล้วหรือเชื้อมีความอ่อนแอ

หัวเชื้อหนึ่งขวด สามารถเพาะใส่ถุงได้ประมาณ 50-60 ถุง และสำหรับ เห็ดนางฟ้าบางแห่งจะใช้หัวเชื้อมากกว่านี้ คือ ประมาณ 25-30 ก้อน ต่อเชื้อหนึ่งขวด ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อเจริญเร็ว และเชื้อเสียน้อย

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวัง

ปัจจัยการผลิต และการดูแลรักษา
โดยธรรมชาติในการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้า นับตั้งแต่เกิดดอก จนกระทั่งพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ จะใช้เวลาประมาณ 5 – 7 วัน การเกิดดอกเห็ดก็คือ การที่เส้นใยได้มีการเปลี่ยนรูปมาอัดตัวกันสร้างดอกเห็ดขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมเหมาะสมผลผลิตและคุณภาพของดอกเห็ดจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้า คือ ประมาณ 24- 26 องศาเซลเซียส ดอกเห็ดจะออกดอกเร็วมาก อาจกล่าวได้ว่าเห็ดนางฟ้าขึ้นได้ดีในหน้าฝนดีพอสมควรในหน้าร้อนดีมากในหน้าหนาว ไม่หนาวจัดจนเกินไป ถ้าหนาวจัดก็จะชะงักการเจริญเติบโตและสีซีด ดังนั้น ภาคกลางและภาคใต้ ปลูกได้ทุกฤดู ตลอดปี ภาคเหนือและภาคอีสานจะให้ผลดีในฤดูฝน
2. อากาศ
เห็ดเป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเวลาเกิดดอกเห็ดจะต้องการออกซิเจนมาก ทั้งระยะเป็นดอกเห็ดและระยะเป็นเส้นใย
3. ความชื้น
จุลินทรีย์ทั่วๆ ไปชอบความชื้นสูง แต่สำหรับเห็ด เมื่อเทียบกันแล้วก็ทนแล้งได้ดีกว่าจุลินทรีย์อื่น การเพิ่มความชื้นในวัตถุเพาะทำ ได้โดยการรดน้ำ แต่ต้องระวังมิให้มากเกินไปเพราะจะทำ ให้เส้นใยชะงักการเจริญหรือเปียกเกินไป ความชื้นในอากาศ ทำ ได้โดยการพ่นละอองน้ำในอากาศ

น้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารเคมี และสิ่งสกปรกปนเปื้อน เช่น น้ำ ฝน น้ำ คลอง น้ำ บ่อ และน้ำ บาดาล น้ำ ที่ใช้รดเห็ดนางฟ้าควรเป็นกลาง ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เหมาะควรเป็นประมาณ 7 ถ้าสามารถ นำ น้ำ ตัวอย่างประมาณ ไปตรวจวิเคราะห์ที่หน่วยงานด้านเกษตร เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมที่ดิน เพื่อขอคา แนะนำ ได้ก็จะเป็นการดียิ่ง
4. แสง
เห็ดทุกชนิดไม่สามารถปรุงอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากพืชต่างๆ ดังนั้น แสงจึงไม่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเห็ด โดยเฉพาะในระยะที่เส้นใยกาลังลามทั่วก้อนหากมีแสงสว่างมากจะทำ ให้เส้นใยเจริญเติบโตช้าลง ฉะนั้นในระยะของการบ่มก้อนเชื้อเพื่อเลี้ยงเส้นใย ควรทำในโรงเรือนที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามแสงก็มีความจำเป็นในการกระตุ้นให้เส้นใยรวมตัวกันเพื่อให้เกิดดอกเห็ดได้เร็วขึ้น ในระยะเห็ดออกดอกหากมีแสงน้อยเกินไปหรือไม่เพียงพอ จะทำ ให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์ได้ เห็ดนางฟ้าถ้าถูกแสงแดดส่องบ้างก็เจริญ เอนเข้าหาแสง ในช่วงนี้จึงต้องการแสงปานกลาง แสงที่เหมาะคือ ขนาดพอที่จะอ่านหนังสือออกก็พอ และแสงสีน้ำ เงินจะมีผลต่อการออกดอกของเห็ดมากกว่าสีอื่น
5. ความสะอาด
เมื่อเปิดปากถุง และนำก้อนเชื้อไปวางบนชั้นในโรงเพาะแล้ว สิ่งที่ต้องเอาใจใส่ระมัดระวังมากที่สุด คือ ความสะอาด โรงเรือนที่ไม่สะอาดจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่เป็นผลเสียต่อเห็ดได้ เช่นโรงเรือนที่มีโรค และแมลงศัตรูเห็ด แล้วระบาดทำ ให้ก้อนเชื้อ และดอกเห็ดเสียหายหมดทั้งโรงเรือน

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสงขลา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา