ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายชวลิต บุญชาญ วันที่ : 2017-03-15-13:44:08

ที่อยู่ : 34 ม.7 ต.สามัคคีพัฒนา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นำแนวทางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

การใช้พื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์ ->

1. ลดต้นทุนการผลิตล

2. ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

3. เพิ่มรายได้ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

   เกษตรผสมผสาน เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่ง มาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น ข้อมูลระบบเกษตรผสมผสาน ระบบไร่นาสวนผสม เป็นระบบเกษตรแบบผสมผสานที่มีกิจกรรมการผลิตหลายกิจกรรม เพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะของระบบเกษตรผสมผสานได้

 มีการจัดการแหล่งน้ำ ผสมผสานกิจกรรมการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ให้หลากหลาย อีกทั้งมีการจัดการผลผลิตการเกษตรที่คำนึงถึงสถานการณ์การตลาดที่ดี เป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน บนพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด นอกจากที่นาปลูกข้าว บนพื้นที่ทำกินประมาณ 5 ไร่ จะมีการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างประณีต โดยการขุดสระเก็บน้ำและร่องน้ำใช้เลี้ยงปลาและเป็นแหล่งน้ำสำรอง อีกมุมใช้เป็นคอกไว้สำหรับเลี้ยงหมู ซึ่งมูลหมูจะไหลลงไปสู่บ่อปลา พื้นที่ตามคันดินโดยรอบจะปลูกพืชผักสวนครัวและไม่ยืนต้นเป็นร่มเงาให้กับปลา นอกจากนี้ยังสามารถลอกขี้เลนจากบ่อปลาขึ้นมากระจายอยู่ในพื้นที่รอบๆ เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกทางหนึ่ง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา