ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน

โดย : นายทักษิณ โพธิ์ศรีชัย วันที่ : 2017-03-14-18:05:43

ที่อยู่ : 57 ม. 12 ต.เดื่อศรีคันไชย อ.วานรนิวาส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ให้กับคนในชุมชน  และเป็นอาชีพให้กับคนที่สนใจทั้งภายในและภายนอกชุมชน

ระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละ ชนิด เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ เศษซากและผลพลอยได้จากการปลูกพืชจะเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในทางตรงกันข้าม ผลที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วยเช่นกัน (1)

หลักการของ "เกษตรผสมผสาน" (2) 
หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสานมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการสำคัญๆ คือ 
1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมเป็นต้นไป โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ และสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันได้ 
2) การเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมเกษตรต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระบบเกษตรแบบผสมผสานนั้น เกิดขึ้นทั้งจากวงจรการใช้แร่ธาตุอาหารรวมทั้งอากาศ และพลังงาน เช่น การหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ให้เป็นประโยชน์กับพืช และให้เศษพืชเป็นอาหารสัตว์ โดยที่กระบวนการใช้ประโยชน์จะเป็นไปทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น ผ่านการหมักของจุลินทรีย์เสียก่อน 
ทั้งนี้ ลักษณะการผสมผสานในระบบเกษตร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์
หลักการผสมผสานเป็นไปเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์อีกชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น พืช และจุลินทรีย์ ตัวอย่างของระบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงหมูควบคู่กับปลา การเลี้ยงเป็ดหรือไก่ร่วมกับปลา การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นต้น 
อย่างไรก็ตาม การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสร้างระบบที่สมบูรณ์ ได้เหมือนกับการผสมผสานการปลูกพืชและเลี้ยงสัต

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.วางแผนจัดการพื้นที่

2.งบประมาณ

3.เลือกชนิดสัตว์ที่จะนำมาเลี้ยง

4.ต้องรักในอาชีพเลี้ยงสัตว์

ข้อพึงระวัง ->

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

                                1. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงปลาที่ถูกต้องทำให้ประสบกับปัญหาในเรื่องน้ำเสียปลาเป็นโรคปลาไม่โตเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การปล่อยปลามากเกินไป จำนวนสัตว์เลี้ยงไม่สัมพันธ์กับบ่อและจำนวนปลา  ขาดแนวทางป้องกันและแก้ไขเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของย่อและจำนวนปลาการใช้ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

                                2. การกำหนดการขายปลายังขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง จึงทำให้ราคาขายตกต่ำ ผลกำไรน้อย

                                3. ขาดแหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี  และมีจำนวนมากเพียงพอ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา