ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกไม้ผล

โดย : นายคัณชิต ธิสาร วันที่ : 2017-03-14-17:11:09

ที่อยู่ : 39 ม. 17 เดื่อศรีคันไชย อ.วานรนิวาส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เพื่อเพิ่มรายได้จากการทำนา

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ระยะปลูก 

ในการทำสวนผลไม้ ระยะปลูกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะทำให้สวนดูงามตาแล้ว ยังมีผลต่อการเจริญเติบโต และการปฏิบัติงานในสวน ตลอดจนรายได้ต่อเนื้อที่ด้วย ไม้ผลแต่ละชนิดอาจต้องการระยะปลูกแตกต่างกันออกไป แม้แต่พืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างพันธุ์กันก็อาจใช้ระยะปลูกแตกต่างกันได้ ระยะปลูกจะสั้นหรือยาวมีสิ่งที่ควรคำนึงดังต่อไปนี้

๑. ขนาดทรงพุ่ม 

ขนาดของทรงพุ่มของไม้ผลแต่ละพันธุ์อาจแตกต่างกัน บางทีทรงพุ่มอาจเป็นผลมาจากต้นตอ เช่น ต้นตอแคระก็อาจทำให้ทรงพุ่มแจ้ บางพันธุ์มีทรงพุ่มแผ่กว้าง บางพันธุ์สูงชะลูด ขนาดของทรงพุ่มอาจเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณน้ำในดิน การวางระยะปลูกควรดูว่า เมื่อต้นไม้ผลโตเต็มที่แล้ว กิ่งหรือใบของแต่ละต้นจะไม่ซ้อนทับกัน ซึ่งอาจจะบังแสงให้กับอีกต้นหนึ่งได้

๒. การแผ่ของราก 

ไม้ผลยืนต้นมีการกระจายของรากหลายแบบด้วยกัน บางชนิดแผ่รากออกทางด้านข้างเป็นวงกว้าง กรณีเช่นนี้ระยะปลูกก็ควรจะห่างกว่าพวกที่แผ่รากทางด้านข้างได้น้อย
หลักสำคัญอยู่ที่ว่า ไม่ควรปลูกชิดกันจนรากแผ่ขยายออกทับกัน เพราะจะทำให้พืชแย่งอาหารจากต้นข้างเคียงได้

๓. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน 

การเจริญเติบโตของพืชในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพียงพอ ย่อมจะดีกว่าพืชที่ขึ้นในดินจืด และมีน้ำไม่เพียงพอ การปลูกไม้ผลในดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพียงพอนั้นอาจปลูกให้มากที่สุดเท่าที่พืชไม่บังกัน ทั้งนี้เพราะดินมีอาหารและน้ำเพียงพอ สำหรับการเจริญเติบโต และผลิดอกออกผล ส่วนในดินตื้นที่ขาดธาตุอาหารและน้ำนั้น ถ้าปลูกถี่เกินไปต้นไม้อาจขาดแคลนอาหาร และอาจอดตายได้

การเตรียมที่ 

หลังจากกำหนดแผนการปลูกว่า จะปลูกระบบไหน ใช้ระยะปลูกเท่าใดแล้ว ก็จะทำการปักหลักเพื่อวางตำแหน่งต้น และปลูกต้นไม้ในแถวปลูก

งานขั้นต่อไป คือ การขุดหลุมปลูกซึ่งควรเตรียมไว้ก่อนปลูกประมาณ ๒-๓ สัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมกิ่งพันธุ์สำหรับปลูกต่อไป ขนาดของหลุมปลูกโดยทั่วไปควรจะกว้างพอ เพื่อให้รากอยู่ได้โดยไม่เกาะกันเป็นกระจุก สำหรับในดินทราย หรือดินร่วนปนทราย ขนาดของหลุมปลูกอาจเล็กกว่าในดินเหนียว หลุมปลูกควรมีขนาดอย่างน้อย คือ กว้าง ๕๐ ซม. ยาว ๕๐ ซม. และลึก ๕๐ ซม. ขนาดของหลุมปลูกที่โตกว่านี้จะไม่มีผลเสียแต่อย่างไร กลับจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชเสียอีก เพราะเมื่อต้นไม้เติบโตขึ้น รากจะเพิ่มขนาด และขยายกินวงกว้างออกไป
ถ้าการเตรียมดินไว้เป็นบริเวณกว้าง การไชชอนของรากจะสะดวก และเป็นประโยชน์ต่อพืชมาก แต่ปัญหามีอยู่ว่า การขุดหลุมปลูกให้กว้างมากเกินไปนั้นจะต้องใช้แรงงานมากขึ้น ทำให้เปลืองค่าใช้จ่าย

ดินชั้นบนเป็นดินที่มีธาตุอาหาร และอินทรียวัตถุมาก เวลาเราขุดหลุมปลูกจึงควรเอาดินชั้นบนที่ลึกประมาณ ๒-๓ ซม. แยกไว้ต่างหาก และขุดเอาดินชั้นล่างแยกไว้เช่นกัน เอาดินชั้นบนที่ขุดออกนั้นผสมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้แห้งที่ผุดีแล้ว เพื่อใช้รองก้นหลุม และใช้กลบเมื่อวางกิ่งพันธุ์ลงในหลุมแล้ว ข้อควรระวังถ้าดินผสมดังกล่าวไม่พอ เราก็เอาดินล่างผสมกับปุ๋ยคอก หรือเศษพืชวัตถุเช่นเดียวกับที่คลุกกับดินชั้นบน การทำเช่นนี้จะทำให้พืชได้อาหารจากดินมากขึ้น และทำให้ดินในหลุมปลูกมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้น เป็นต้นว่า ทำให้ถ่ายเทอากาศได้สะดวก และอุ้มน้ำได้ดี ดินที่ร่วนซุยทำให้รากไชชอนได้ง่าย ซึ่งจะช่วยในการเจริญของรากและต้นต่อไป

ต้นพันธุ์และการปฏิบัติต่อต้นพันธุ์ 

ต้นพันธุ์ไม้ผลที่จะใช้ปลูกนั้นอาจได้มาจากกิ่งตอน
ทาบกิ่ง ติดตาหรือเมล็ด ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรเป็นพันธุ์ดีตรงต่อพันธุ์ และได้มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ถ้าเราได้ต้นพันธุ์ที่ไม่ดีมาปลูกผลที่ได้จะไม่คุ้มกับการลงทุน หรืออาจประสบความล้มเหลวได้ ในปัจจุบันนิยมใช้กิ่งตอน เพราะราคาถูก และให้ผลเร็ว ควรเลือกซื้อต้นพันธุ์จากสวนหรือสถานเพาะชำที่อยู่ไม่ไกลจากสวน เพราะถ้าซื้อจากแหล่งไกลๆ แล้วเวลาขนย้ายจะทำให้ต้นพันธุ์คายน้ำมาก ทำให้ชอกช้ำได้ ในการขนย้ายต้นพันธุ์ไประยะไกลๆ ควรตัดแต่งเอาใบและกิ่งออกเสียบ้างเพื่อลดการคายน้ำ การย้ายต้นไม้ลงปลูกควรทำระหว่างฤดูฝน และควรเป็นวันที่แดดไม่จัดนอกจากว่าจะมีการชลประทานดี

กิ่งตอนที่ใช้ปลูกอาจเป็นกิ่งตอนชำ ซึ่งเป็นต้นพันธุ์ที่ตอนออกรากได้ขนาดดีแล้ว จึงตัดกิ่งลงชำในภาชนะ นำไปเลี้ยงในสถานเพาะชำระยะหนึ่ง จนเจริญดีแล้วจึงนำไปปลูก การปลูกกิ่งตอนชำนี้แม้ว่าจะเป็นกิ่งที่เจริญงอกงามแล้วก็ตาม ก็ควรปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง เป็นต้นว่าค่อยๆ ทุบหรือผ่าภาชนะที่ชำอยู่นั้นโดยไม่ให้รากอ่อนบอบช้ำ ถ้ารากขดงออยู่ก็จัดการคลี่ หรือทำให้อยู่ในสภาพปกติ ค่อยๆ วางต้นพันธุ์ลงตรงกลางหลุม ให้แนวปากกระเปาะหุ้มด้านบนอยู่ในระดับเดียวกับดินปากหลุมปลูก หรืออาจต่ำกว่าระดับผิวดินประมาณ ๒ นิ้ว กลบดินให้มิด แล้วใช้มือกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่นรากจะกระชับดินดีขึ้น การปลูกในฤดูแล้งหรือที่ดอนอาจวางต้นพันธุ์ให้ลึกกว่านี้ สำหรับการปลูกไม้ผลในที่ลุ่ม ควรจะยกต้นพันธุ์ให้สูงขึ้นโดยการยกโคน หรือพูนดินพอกต้นเข้าไป พอปลูกเสร็จควรใช้หลัก เช่นไม้รวกขนาดเล็กปักให้ชิดกับโคนต้น เอาเชือกผูกกิ่งติดกับหลัก เพื่อกันลมโยก

กิ่งตอนตัด คือ กิ่งตอนที่ทิ้งไว้กับต้นแม่จนรากแก่ได้ขนาดดีแล้ว เวลาจะปลูกก็ตัดไปปลูกได้ทันที ไม่ต้องชำเสียก่อนเหมือนดังกิ่งตอนชำ เช่น กิ่งตอนของส้มชนิดต่างๆ การปฏิบัติในการปลูก ทำได้เช่นเดียวกันกับกิ่งตอนชำ พืชบางชนิด เช่น ทุเรียน ลิ้นจี่ ไม่ควรปลูกด้วยกิ่งตอนตัด ควรชำให้เจริญดีเสียก่อนจึงค่อยปลูก

ต้นตอที่ใช้ในการติดตาต่อกิ่งนิยมเพาะจากเมล็ด และก่อนที่จะเอาปลูกในแปลงถาวรก็จะใช้เวลาเป็นปีๆ รากแก้ว และรากแขนงจะขดอยู่ที่ก้นภาชนะที่ใช้ชำต้นตอ การปลูกด้วยต้นติดตา หรือต้นทาบกิ่งจำเป็นต้องจัดการทำให้รากที่ขดงออยู่นั้นอยู่ในท่าปกติ แต่ระวังอย่างทำรากขาด บางครั้งอาจจะต้องทำการตัดแต่งรากที่มากเกินไปออกเสียบ้าง และปลิดแขนงที่เกิดจากต้นตอออกให้หมด ก่อนที่จะเอาวางลงในหลุมปลูก

ต้นติดตาใช้ต้นตอเช่นเดียวกับกิ่งทาบ แต่บางครั้งต้นตออาจเพาะไว้ในแปลงติดตา เมื่อต้องการย้ายจำเป็นต้องทำการล้อมเป็นเบ้า แล้วยกออกมาทั้งเบ้าเลย กรณีเช่นนี้รากอาจถูกดัดออกไปบ้าง เราอาจนำลงไปปลูกในแปลงถาวรเลย หรือชำไว้ก่อนก็ได้ การปฏิบัติในการปลูกทำเช่นเดียวกับกิ่งทาบ

การปฏิบัติต่อต้นพันธุ์ที่ยังตั้งตัวไม่ได้นั้น จำเป็นต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เช่น ต้องมีหลัก เพื่อยึดกับต้นโค่นล้ม อาจต้องบังร่มให้ เช่น ใช้ทางมะพร้าว หรือเศษหญ้าทำเป็นหลังคาคลุมไว้ พืชบางชนิดจำเป็นต้องปลูกไม้บังร่มให้พร้อมกันไปกับการปลูกต้นพันธุ์ หรือปลูกล่วงหน้าไว้ พืชที่ควรบังร่มให้ ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ฯลฯ ไม้บังร่มอาจเป็นไม้ชั่วคราว หรือถาวร บางครั้งเราจำต้องตัดไม้บังร่มทิ้ง เมื่อเห็นว่าเกะกะ หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อไม้ประธาน ไม้บังร่มควรเป็นพืชที่โตเร็วที่นิยมกันมีทองหลาง กล้วย ปกติชาวสวนนิยม
ปลูกไม้บังร่มไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ทันบังร่ม เมื่อเริ่มปลูกไม้ผล

เมื่อปลูกเสร็จแล้ว ต้องรดน้ำให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้พืชอดน้ำ ฤดูปลูกไม้ผลส่วนมากทำในต้นฤดูฝน แต่พืชบางชนิดต้องชิงปลูกก่อนฝน เพราะต้นพันธุ์ หรือหน่ออาจถูกฝนทำให้เน่าเสียหายได้ ปุ๋ยที่ใช้ในระยะแรกนั้นไม่จำเป็นต้องให้มาก เพราะพืชยังไม่ต้องการอาหารมาก ปกติสูตรปุ๋ยที่ใช้มักมีเปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัสสูง เพื่อช่วยกระตุ้นให้รากเจริญเร็ว ทำให้พืชมีระบบรากแข็งแรง นอกจากนี้ต้องคอยดูแลรักษา ควรฉีดยาป้องกันโรคและแมลงเป็นครั้งคราว

การปลูกไม้บังลม 

การทำสวนผลไม้ในบริเวณที่มีลมแรง เช่น ชายฝั่งทะเล หรือที่โล่งแจ้ง อาจจำเป็นต้องปลูกไม้บังลม เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ต้นไม้ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ไม้บังลมยังมีประโยชน์ ในการลดการระเหยของน้ำออกจากต้นและดิน ตลอดจนช่วยการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตในพืชบางชนิดด้วย

ลักษณะของไม้บังลมที่ดีนั้นควรมีกิ่งก้านไม่แผ่กว้าง ทรงพุ่มเรียวสูง ต้นตั้งตรง แข็งแรง โตเร็ว พุ่มหนา โรคแมลงไม่ค่อยชอบ ไม้บังลมที่นิยมใช้กันมี สนทะเล สนประดิพัทธ์ ไผ่ชนิดที่ไม่มีหนาม ยูคาลิพตัส ไม้อื่นๆ เช่น มะม่วง ขนุน มะม่วงหิมพานต์ ก็อาจปลูกเป็นไม้บังลมได้ แต่อาจมีข้อเสียคือ กิ่งเปราะ และมีหนอนบางชนิดชอบเจาะลำต้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา