ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลา

โดย : นายชุมพร หาญมนตรี วันที่ : 2017-03-23-14:38:41

ที่อยู่ : 4 หมู่ที่ 18 ตำบลนาหัวบ่อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

โดยธรรมชาติ ปลาหมอไทยวางไข่ในช่วงฤดูฝนเหมือนปลาอื่นๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะน้ำใหม่หรือฝนแรก ปลาหมอเพศเมียที่พร้อมจะวางไข่จะมีส่วนท้องอูมเป่ง และนิ่ม เมื่อบีบท้องเบาๆ จะมีไข่กลม สีเหลืองอ่อนออกมา ส่วนเพศผู้จะมีลักษณะปกติ ไม่เปลี่ยนแปลง  ก่อนวางไข่ ปลาเพศผู้จะก่อหวอดที่เคลือบด้วยสารเมือกเกาะติดกันเป็นกลุ่มฟองอากาศ บริเวณก่อหวอดมักเป็นน้ำตื้น มีกอหญ้า ปลาตัวเมียจะเข้าวางไข่ใต้หวอด และตัวผู้ก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม ไข่ปลาหมอจะลอยอยู่ผิวน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะมีสีเหลืองอ่อนใส ขนาดประมาณ 0.7-1 มิลลิเมตร และจะพัฒนาการจนฟักออกเป็นตัวอ่อนต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ลูกปลา

หัวอาหารปลา

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ อัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000-80,000 ตัว/ไร่ ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย อัตราพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 25-50 คู่/ไร่ จะได้ลูกประมาณ 50,000-100,000 ตัว/ไร่

สำหรับเกษตรกรไม่มีความเรื่องการเพราะพันธุ์ปลา อาจหาซื้อลูกปลาตามฟาร์มหรือโรงเพาะพันธุ์ ขนาด 2-3 นิ้ว (อายุ 60-75 วัน หรือ 2-3 เดือน) อัตราการปล่อยประมาณ 25 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000 ตัว/ไร่ บ่อที่ใช้เลี้ยงควรขึงด้วยผ้าเขียวรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูของปลาหรือปลาปีนป่ายออกนอกบ่อ โดยเฉพาะเวลาฝนตก และอาจติดตั้งระบบการเพิ่มออกซิเจนหากคุณภาพน้ำมีปัญหา

อาหาร และการให้อาหาร
อาหารปลาหมอในระยะเลี้ยงดูในบ่อดิน ในระยะ 1-2 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ระยะ 2-3 เดือน ขึ้นไป อาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 หรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก ร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ เช่น ไรแดง ปลวก รำข้าว เป็นต้น ระยะเวลาในการเลี้ยงที่เริ่มจับขายได้ 90-120 วัน หรือประมาณ 4-5 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา