ความรู้สัมมาชีพชุมชน

หมอดินอาสา

โดย : นางสาวจารุณี เสตสิงห์ วันที่ : 2017-03-09-14:39:28

ที่อยู่ : 11 ม.2 ต.พอกน้อย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมอดิน ที่มีความหมาย 2 นัย
นัยแรก คือ ผู้รอบรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านดิน การจัดการดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับดิน เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากดินและที่ดินในการเกษตรเป็นไปอย่างยั่งยืนและเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด
นัยที่ 2 คือ ผู้รักษา เพราะที่ผ่านมาเราใช้ดินและที่ดินอย่างประมาท ขาดการระมัดระวัง ปัจจุบันทั้งสภาพทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน(สุขภาพของดิน) จึงเสื่อมโทรมลงเป็นอย่างมาก บางแห่งถึงขั้นวิกฤติที่เรียกว่า ” ดินป่วย ” ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างคุ้มค่า หมอดินต้องทำหน้าที่รักษา (ปรับปรุง) ให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ดีดังเดิม หรือมั่นคอยดูแลรักษา(อนุรักษ์) ดินที่อุดมสมบูรณ์(สุขภาพดี)ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป
นิยามหมอดิน – หมอดินอาสา

1.หมอดิน คือ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ที่ทำงานช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ เป็นภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่และกรมพัฒนาที่ดิน ที่บ่งบอกลักษณะงานของกรมพัฒนาที่ดิน ที่ทำงานแตกต่างจากหน่วยงานการเกษตรและหน่วยงานที่ลงท้ายว่า ดิน หรือ ที่ดิน
          2.หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน คือ เกษตรกรที่สนใจในงานพัฒนาที่ดินและอาสาที่จะเป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดิน ประจำหมู่บ้าน ซึ่งได้รับการคัดเลือก/แต่งตั้งให้เป็นหมอดินอาสาหมู่บ้านละ 1 คน และเป็นสมาชิกในเครือข่ายหมอดินอาสาประจำตำบล
          3.หมอดินอาสาประจำตำบล คือ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกจากหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ด้วยกัน หรือแต่งตั้งโดยเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อเป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดินประจำตำบล และเป็นแกนนำบริหารเครือข่ายหมอดินอาสาในระดับตำบล ปฏิบัติงานร่วมกับสมาชิกหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของหมอดินอาสาประจำตำบล  ในปีงบประมาณ 2552 โครงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร และ ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนผลประโยชน์ที่หมอดินอาสาประจำตำบลจะได้รับ

          2. เพื่อให้มีความรู้ในเรื่องการอ่านและการใช้ประโยชน์แผนที่ดินไทยและธาตุอาหารพืชของกรมพัฒนาที่ดินและโปรแกรมสำเร็จรูปดินไทยและธาตุอาหารพืช

          3. เพื่อให้มีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง การใช้ประโยชน์ พด.11 , 12

          4. เพื่อให้ทราบถึงภาวะโลกร้อนและผลกระทบตลอดจนการทำการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อลดภาวะโลกร้อน

          5. เพื่อเสวนาและอภิปรายปัญหาอุปสรรคและแนวทางการปฏิบัติงานหมอดินอาสาประจำตำบล การดำเนินงานเครือข่ายหมอดินอาสาและการดำเนินการโครงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร

          6. เพื่อศึกษาดูงานจุดเรียนรู้หรือพื้นที่การเกษตรที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาที่ดินสร้างวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องในการเป็นผู้ชำนาญด้านการพัฒนาที่ดิน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หมอดินต้องเข้ารับการอบรมหมอดินอาสาประจำตำบล

          หมอดินอาสาประจำตำบล เป็นผู้ทำการเกษตรถูกต้องตามหลักวิชาการพัฒนาที่ดิน เป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรข้างเคียง และสามารถให้คำแนะนำเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ให้แก่เพื่อนบ้านในหมู่บ้าน ตำบล และเป็นวิทยากรด้านการพัฒนาที่ดินประจำศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน เป็นเจ้าของพื้นที่การเกษตรที่ใช้เป็นจุดเรียนรู้ทางด้านการพัฒนาที่ดิน เป็นผู้เผยแพร่เอกสารความรู้ รวมทั้งให้บริการวัสดุการเกษตรของกรมพัฒนาที่ดิน เช่น สารเร่ง พด.1 พด.2 พด.3  กล้าแฝก  เป็นต้น

          การพัฒนาอบรมหมอดินอาสาประจำตำบล เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินได้ตามบทบาท โดยกำหนดการอบรมปีละ 1 ครั้ง 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา