ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสาน

โดย : นายขอ เหลาแตว วันที่ : 2017-03-17-16:44:03

ที่อยู่ : เลขที่ 115 ม.1 ต.พอกน้อย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน

- อนุรักษ์ภูมิปัญญาชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่,พร้า,เลื้อย,หินลับมีด,กระดาษทราย,เชือกไนล่อน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ใช้มีดเหลาไม้ไผ่ (ตอก) ให้บางๆ พอได้ขนาดที่พอเหมาะจึงนำตอกมาสานโดยเริ่มจากฐานก่อน เมื่อได้ฐานตามขนาดที่ต้องการจึงเริ่มกดหรือดัดตัวกระโปงให้ตั้งขึ้นเมื่อได้ความสูงที่ต้องการจึงมัดปากด้วยตอก แล้วนำไม้ไผ่หนาประมาณ 1 นิ้ว วางปากตอกจากนั้นจึงมัดซ้ำด้วยลวด

หมายเหตุ: การจักรสานแต่ละชนิดจะเริ่มต้นที่ฐานก่อน ลายจะมีลายเดียว

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา