ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นายจำเนียร วงษ์ธรรม วันที่ : 2017-03-17-15:56:01

ที่อยู่ : บ้านเลขที่. 78 .หมู่ 5 ซอย - ถนน...-...ตำบล นาใน อำเภอ พรรณานิคม จังหวัด สกลนคร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคือปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกรจำนวนมากประมาณร้อยละ 70- 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 -20 ตัวต่อครัวเรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปรับปรุงพันธุ์ผู้เลี้ยงควรจะปฏิบัติดังนี้คือ

          1. ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพื่อใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ได้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง

          2. ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได

 

การผสมเลือดชิด การผสมสายเลือดชิด หมายถึง การนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่ เดียวกัน หรือที่เกิดจากพ่อตัวเดียวกัน แต่ต่างแม่ หรือแม่ตัวเดียวกันแต่ต่างพ่อ มาผสมกันเอง หรือการนำพ่อหรือแม่มาผสมกับลูก การผสมสายเลือดชิดมักก่อให้ เกิดลักษณะผิดปกติ หรือลักษณะที่เลวร้ายขึ้นมาก เช่น อัตราการฟักออกต่ำ ไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม อัตราการเลี้ยงรอดต่ำ ไม่แข็งแรงเป็นต้น

การผสมสายเลือดชิดจะพบได้ง่ายในสภาพการเลี้ยงตามชนบท เพราะ เกษตรกรมักจะเลี้ยงไก่โดยใช้พ่อพันธุ์ประมาณ 1-2 ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ จำนวนน้อย ตัว ดังนั้นลูกไก่ที่เกิดมาส่วนมากจะเป็นพี่น้องกันทางสายเลือด และถูกเลี้ยงให้ โตมาพร้อม ๆ กันโดยไม่มีพันธุ์ประวัติจึงไม่ทราบว่าตัวใดมาจากพ่อตัวไหน แม่ตัว ไหน เมื่อไก่เริ่มโตถึงวัยผสมพันธุ์ ไก่ที่เป็นพี่น้องกันก็อาจมาผสมกันเองหรืออาจ กลับไปผสมกับพ่อแม่ของตัวเอง ชึ่งก่อให้เกิดปัญหาการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านต้อง ประสบกับอัตราการตายที่สูงและ มีสุขภาพไม่แข็งแรง

การแก้ไขส่าหรับปัญหาการผสมเลือดชิดกัน สามารถทำได้โดยนำไก่รุ่นเพศผู้ ไปแลกกับไก่บ้านเพศผู้ของหมู่บ้านอื่นมาใช้เพื่อคุมฝูงตัวเมียที่เก็บไว้ ส่วนไก่เพศผู้ที่ เหลืออาจจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้ภายในครอบครัวได้ หรือจะใช้วิธีจำหน่ายไก่เพศผู้ ให้หมด แล้วไปชื้อพ่อไก่รุ่นจากหมู่บ้านอื่น หรือแหล่งอื่นมาทดแทน ซึ่งการทำเช่นนี้ จะช่วยให้ลูกไก่ที่เกิดมามีจำนวนเพิ่มขึ้น ลูกไก่แข็งแรง อัตราการเลี้ยงรอดสูง ขึ้น นอกจากนั้นยังจะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย

          3. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อป้องกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ

          4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

เรือนโรงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร

การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ

1.      ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่

2.      ให้ไก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน

3.      เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปรวน เช่น ฝนตกหนัก

4.      ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน

5.      ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฎิชีวนะป้องกันรักษาโรค

6.      การสร้างเรือนโรงไก่ควรคำนึงถึงความโปร่งและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มืดทึบและมีความสูงเพื่อที่จะให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวกพอควร

7.      บริเวณตัวเรือนโรงจะใช้ลวดตาข่าย แห อวนเก่า ๆ หรือไม้รวกผ่าซีกก็ได้ นำมาปูรอบเรือนโรง นอกจากนั้นควรมีถุงปุ๋ยหรือกระสอบเก่า ๆ แต่ล้างให้ สะอาดแล้ว ส่าหรับทำเป็นม่านป้องกันลมและฝน โดยเฉพาะในระยะการกกลูกไก่ เรือนโรงที่สร้างอยู่ใต้ถุนบ้านไม่มีความจำเป็นต้องสร้างหลังคา แต่ถ้าสร้างอยู่บนลาน บ้านอาจใช้แผงจากมุงเป็นหลังคาได้

ขนาดของเรือนโรงขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ ขนาดอายุของไก่ที่จะเลี้ยง เช่น ถ้าต้องการเลี้ยงเฉพาะระยะลูกไก่จนถึงระยะไก่รุ่นที่ได้น้ำหนักระหว่าง 1.5 - 2.0 กิโลกรัม จำนวนที่จะเลี้ยงได้นั้น จะใช้สัดส่วนประมาณ 8 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ดังนั้นถ้าเรือนโรงมีขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ 3 X 5 เมตร จะสามารถเลี้ยง ไก่ได้ประมาณ 120 ตัว แต่ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นพ่อและแม่พันธุ์ ควรใช้สัดส่วน ประมาณ 4 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร ดังนั้นในเรือนโรงดังกล่าวจะสามารถเลี้ยงได้ ประมาณ 60 ตัว

ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ

ข้อพึงระวัง ->

2. การใช้ยาปฏิชีวนะ

2.1 สภาวะเครียด อัตราความสูญเสียของการเลี้ยงไก่โดยปล่อยให้หาอาหารตามธรรมชาติเองนั้น มีส่วนหนึ่งที่เนื่องมาจากความแปรปรวนของอากาศที่จะทำให้ไก่เกิดสภาวะเครียด เป็นเหตุให้ไก่ต้องปรับสภาพร่างกาย ตัวไหนปรับไม่ทันย่อมแสดงอาการป่วย ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค และตายในที่สุด

สาเหตุต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะเครียดกับไก่นั้นมีดังนี้

อากาศร้อนจัดแล้วเปลี่ยนเป็นฝนตกทันที

ลมกรรโชกรุนแรงตลอด

การไล่จับไก่ที่อาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือของสัตว์ชนิดอื่น

ไก่ได้กินอาหารไม่เพียงพอ

การทำวัคซีนไก่

การนำไก่จากต่างถิ่นมาเลี้ยงรวมกัน

เปลี่ยนอุปกรณ์การเลี้ยงไก่อย่างกระทันหัน

ไก่ที่เริ่มแสดงอาการป่วย เป็นต้น

สภาวะเครียด ในไก่สามารถป้องกันได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือพวกไวตามินรวมละลายน้ำให้ไก่ดื่มล่วงหน้าก่อนหรือในวันที่พบว่าไก่ได้เผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นแล้ว การใช้ยาป้องกันสภาวะเครียดจะส่งผลทำให้การเจริญเติบโตของไก่เป็นไปด้วยดี ไม่ชะงักงัน ซึ่งจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงรอดสูงขึ้น และได้ไก่ที่มีคุณภาพดีด้วย

2.2 โรคหวัด โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและมักพบว่าเป็นปัญหาต่อการเลี้ยงไก่บ้านมาโดยตลอด โดยเฉพาะในฤดูฝน คือ โรคหวัด อาการที่พบคือ ตาหรือหน้าจะบวม ในโพรงจมูกจะอุดตันด้วยเมือกที่มีกลิ่นเหม็นคาว การรักษาควรใช้ยาตระกูลซัลฟา หรือยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน

2.3 โรคพยาธิ โรคอื่น ๆ ที่พบบ่อย ๆ ในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านคือโรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่น เหา ไร และพยาธิภายใน การป้องกันโรคพยาธิคงทำได้ยาก เพราะต้องปล่อยไก่ออกหาอาหารเองตามธรรมชาติ ซึ่งไก่ย่อมได้รับไข่พยาธิที่แพร่กระจายอยู่ตามพื้นดินเข้าไป แต่การป้องกันรักษาก็ยังพอทำได้

การรักษาโรคพยาธิภายนอกอาจทำได้โดยการจับไก่จุ่มลงในน้ำที่ละลายด้วยยาฆ่าแมลงพวก เซฟวิ่น ความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำ 1 แกลลอน หรือใช้มาลาไธออน 1 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำ 1 แกลลอนก็ได้ การจับไก่จุ่มควรใส่ถุงมือยางให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยาถูกดูดซึมผ่านเข้าทางผิวหนังของมนุษย์ ในระหว่างการจุ่มยานั้นควรใช้มือลูบย้อนขนไก่ เพื่อให้ยาส่วนมากแทรกซึมเข้าไปตามซอกขนไก่

การกำจัดพยาธิภายในก็ใช้ยาถ่ายพยาธิผสมในอาหารให้ไก่กินซึ่งประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน บางชนิดมีประสิทธิภาพเพียงแค่ขับพยาธิออกจากร่างกายเท่านั้น แต่บางชนิดจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าพยาธิได้ ซึ่งการเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้านนี้ควรถ่ายพยาธิโดยใช้ยาที่สามารถฆ่าพยาธิได้เพื่อป้องกันไม่ให้พยาธิที่ถูกขับออกมาแต่ยังไม่ตายกลับเข้าไปในตัวไก่ได้อีก

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา