ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาดุก

โดย : นางมวลมณี มุศิริ วันที่ : 2017-03-04-14:33:11

ที่อยู่ : 2/4 ม.3 ต.โคกภู อ.ภูพาน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาดุกเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว และอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้น ในปัจจุบัน การเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ้กอุย"ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย (ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ้งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็วและต้านทานโรคได้ดี ลักษณะทั่วไปของปลาดุก คือ เป็นปลาไม่มีเกล็ด ตัวยาวเรียว ครีบหลังยาวไม่มีกระโดง ครีบท้องยาวเกือบถึงโคนหาง มีอวัยวะช่วยในการหายใจ ซึ่งช่วยให้ปลาดุกมีความอดทนสามารถในสภาพน้ำ ที่ไม่เหมาะสม หรืออยู่พ้นน้ำได้นาน ชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่ออาจให้อาหารจำพวกพืช และสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำได้

             การเลี้ยงปลาดุก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์และในกระชัง แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน 1 ไร่

                      ปลาดุกในประเทศไทยที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงในอดีตนั้นแต่ เดิมมี๒ ชนิด แต่ที่นิยมในการเพาะเลี้ยงอย่างมากได้แก่ ปลาดุก อุย (Clarias macrocephalus) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิด ไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด ๔ เส้นที่ริมฝีปาก ผิวหนังมี สีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวล สามารถนำมา ปรุงแต่งเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้มากมาย ในประเทศไทยมีพันธุ์ ปลาดุกอยู่จำนวน ๕ ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่วๆ ไปคือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุย และปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีการ นำปลาดุกชนิดใหม่เข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย อธิบดีกรมประมง ได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดดำเนินการศึกษา พบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า Clarias gariepinus, African sharptooth catfish เป็นปลาที่มี การเจริญเติบโตรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูง เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์

          2.1 เพื่อให้สมาชิกสัมมาชีพได้มีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยง และการจำหน่ายปลาดุก

          2.2 เพื่อให้สามาชิกสัมมาชีพได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายปลาดุก

          2.3 เพื่อลดรายจากในครอบครัวจากการเลี้ยงปลาดุกไว้กินเอง

          2.4 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้จากการเลี้ยงปลาดุกแก่ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา

             มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้

             1.บ่อใหม่

                 - ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้น บ่อ

                 - ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่ว บ่อ

                 - เติมน้ำ ให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้ง ไว้ 1-2 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา

             2. บ่อเก่า

 

 

 

 

 

 

                 - หลังจากจับสัตว์น้ำ ออกจากบ่อหมดแล้ว สูบน้ำ จากบ่อเลี้ยงให้แห้งพอหมาด เพราะการตากบ่อจนแห้งจะเป็นการฆ่าจุลชีพที่มีประโยชน์ในดินจนหมด กำจัดวัชพืชหรือหญ้าตามขอบบ่อออกให้มากที่สุด

                 การเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทั่วไปจะประสบผลสำเร็จในช่วง 1-2 ปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นหากไม่มีการพักหรือฟื้นฟูสภาพบ่อ เกษตรกรมักจะประสบปัญหาผลผลิตลดลง ปัญหาการเกิดโรคระบาด ทำให้ไม่สามารถได้ผลผลิตดีเหมือนกับที่เคยได้ จนต้องขาดทุนอยู่เสมอ ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ

                     1) เกษตรกรไม่มีการพักบ่อหรือเว้นระยะการเลี้ยง

                     2) สภาพดินในบ่อเสื่อมโทรม

                     3) เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ในดินก้นบ่อ

                     4) เกิดการสะสมของสารพิษหรือก๊าซพิษในดิน

                     5) ดินพื้น บ่อกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื่อ โรค

                     6) จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไม่สามารถเจริญได้

                 - สาดปูนขาวในอัตรา 100-120 กิโลกรัม/ไร่ ให้ทั่วพื้น ก้นบ่อ เพื่อเป็นการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลชีพในการย่อยสลายของเสียในบ่อ

                 - ตากบ่อทิ้ง ไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้น พลิกกลับหน้าดิน ชั้น ล่างขึ้น มา โดยใช้รถไถหรือคลาด เพื่อให้ของเสียที่ หมักหมมในดนิ สัมผัสกับอากาศและจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายของเสียได้ดียิ่งขึ้น

                     - สาดปูนขาวในอัตรา 100-120 กิโลกรัม/ไร่ ให้ทั่วพื้น ก้นบ่ออีกครั้ง จากนั้น ตากบ่อปอีกเป็นเวลา 1 สัปดาห์ในบ่อที่ใช้งานมากกว่า 3 ปี ควรทำซ้ำ อีกครั้ง จนครบ 3 ครั้ง หรือใช้เวลาตากบ่ออย่างน้อย 3 สัปดาห์

                     - นำน้ำเข้าบ่อเลี้ยง 1-2 วัน แล้วทำการปล่อยสัตว์น้ำก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำ อีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำ ปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5 -8.5

 

การเตรียมพันธุ์ปลา

             การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

                 1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก

                     - ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ

                     - มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ

                     - มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา

                 2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก

                     - การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ

                     - ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ

                     - ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน

 

การปล่อยลูกปลา

             เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำ ในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

อัตราการปล่อย

             เกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้วจะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย ปลาขนาด 3-4 เซนติเมตร ปล่อย 60,000- 80,000 ตัว/ไร่ ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง

 

อาหารและการให้อาหาร

             ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80% เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้น ในการเลี้ยงปลาการให้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ทั้ง ในส่วนของคุณภาพของอาหารและปริมาณที่ให้ต้องเพียงพอกับความต้องการของปลา ซึ้งถ้าไม่เพียงพอจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ไม่ดี แต่ก็ไม่ควรมากเกินความต้องการ เพราะจะเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น สิ้นเปลืองอาหาร น้ำเน่าเสียเร็ว ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ

             การเลือกซื้ออาหาร

             ลักษณะของอาหาร

                 - สีสันดี

                 - กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน

                 - ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น

                 - การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน

                 - อาหารไม่เปียกชื่นไม่จับตัวเป็นก้อนไม่ขึ้นรา

             การใช้อาหารสำเร็จรูป

                 - อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน (ชนิดผง ) ไบโอ 600 ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 1 – 4 เซนติเมตร

                 - อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน เบ-ฟิน 111 ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 3-5 เซนติเมตร

                 - อาหารปลาดุกเล็ก ( เบทาโกร 831 , ไบโอ 631 , โอเม็ก 731 ) ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 5 เซนติเมตร –1.5 เดือน

                 - อาหารปลาดุกกลาง ( เบทาโกร 832 , ไบโอ 632 , โอเม็ก 732 ) ใช้สำหรับปลาอายุ 1.5 -3 เดือน

                 - อาหารปลาดุกใหญ่ ( เบทาโกร 833 , ไบโอ 633 , โอเม็ก 733 ) ใช้สำหรับปลาอายุ 3 เดือน – ส่งตลาด

             วิธีการให้อาหารปลา

                 1. เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหารจะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน (ชนิดผง ) ไบโอ 600 พรมน้ำแล้วนวดจนเหนียวปั่นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด ภายในเวลา

15-20 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์

                 2. หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน เบ-ฟิน 111 แช่น้ำให้นิ่มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 15 นาที ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์

                 3. เมื่อปลามีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตรก็เริ่มเปลี่ยน อาหารปลาดุกเล็ก ( เบทาโกร 831 , ไบโอ 631) โดยให้ในแต่ละมื่อ ควรให้ปลากินหมดภายใน 15 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่โดยให้อาหารจุดเดิมประจำและเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื่อ ต่อวัน

                 4. เมือปลามีอายุ 1.5 เดือน ให้อาหารปลาดุกกลาง ( เบทาโกร 832 , ไบโอ 632 ) และเปลี่ยนเป็นอาหารปลาดุกใหญ่ ( เบทาโกร 833 , ไบโอ 633) เมื่อปลาอายุประมาณ 3 เดือน หรือน้ำหนักปลามากว่า 180 กรัม โดยปริมาณที่ให้แต่ละมื่อ จะต้องให้ปลากินหมดภายใน 15 นาที ให้อาหาร 2 มื่อ

                 ในกรณีปลาป่วย หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำ โดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่เกลือ หรือปูนขาวถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื่อ แบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน เช่นอาออกชีเตตร้าซัยคลิน ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้นๆ เช่นถ้าพบปลิงใส เห็บระฆังเกาะจำนวนมาก หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 20-25 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด

ข้อพึงระวัง ->

การปล่อยลูกปลา

             เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำ ในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา