ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์

โดย : นายสำเริง แฮนหลุน วันที่ : 2017-03-24-18:43:54

ที่อยู่ : 137/2 ม.14 ต.โคกภู อ.ภูพาน จ.สกลนคร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มะนาวเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่รู้จักกันดีทั่วไปสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ให้ผลผลิตเร็วหลังจาก 1 ปีและสามารถให้ผลตลอดทั้งปีเป็นระยะ 3-5 ปีหรือมากกว่า และยังสามารถบังคับให้ออกผลในช่วงที่มะนาวมีราคาแพงได้อีกด้วย สามารถจำหน่ายผลผลิตมีรายได้ตลอดทั้งปีเช่นกัน 

วัตถุประสงค์ ->

2.1 เพื่อให้สมาชิกสัมมาชีพได้มีความรู้ ความสามารถในการปลูก และการจำหน่ายมะนาว

          2.2 เพื่อให้สามาชิกสัมมาชีพได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายมะนาว

          2.3 เพื่อลดรายจากในครอบครัวจากการปลูกมะนาวกินเอง

          2.4 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้จากปลูกมะนาวแก่ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ดินร่วน(หน้าดิน) + ปุ๋ยคอก (ขี้วัวแห้ง) + แกลบขาว (แกลบดิบ หรือเปลือกข้าว) หรือ เปลือกถั่วเหลือง-ถั่วเขียว

อุปกรณ์ ->

บ่อซีเมนต์ขนาด 80 เซนติเมตร พร้อมฝาปิด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมวงบ่อซีเมนต์

วงบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร (มาตรฐาน) หรือตามที่หาได้ รวมฐานรองก้นบ่อ ราคาประมาณ 150-200 บาทฐานรองก้นบ่อต้องเป็นชนิดที่ไม่เชื่อมกับวงบ่อโดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่รดลงไปขังอยู่ด้านล่าง และฝารองบ่อควรมีขนาดกว้างกว่าวงบ่อประมาณ 5-10ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้รากมะนาว แทงลงดินออกจากบ่อ

สถานที่วางวงบ่อซีเมนต์ที่ปลูกมะนาวจะต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวันเท่านั้นและ วัสดุปลูกจะต้องเน้นในเรื่องของการระบายน้ำที่ดี ไม่ควรปลูกใต้ร่มไม้ใหญ่ เพราะต้นมะนาวจะไม่เจริญเติบโต

 

การเตรียมดิน

             ขั้นตอนนี้สำคัญ เพราะการจำกัดพื้นที่การปลูกและต้องการให้มะนาวเจริญเติบโต ได้ตามปกติดินที่ใช้จะต้องดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง ในการเตรียมดินปลูกทำดังนี้คือใช้อัตราส่วนดินร่วน(หน้าดิน) + ปุ๋ยคอก (ขี้วัวแห้ง) + แกลบขาว (แกลบดิบ หรือเปลือกข้าว) หรือ เปลือกถั่วเหลือง-ถั่วเขียว ผสมคลุกเคล้ากันสัดส่วน 3 : 2 : 1 โดยนำดินที่ผสมแล้ว ใส่ในวงบ่อซีเมนต์ แล้วพูนดินปลูกขึ้นมาเป็นภูเขาเล็กน้อย

 

การคัดเลือกพันธุ์มะนาว

             มะนาวที่จะนำมาปลูกต้องพิจารณาถึงขนาดของผล ปริมาณน้ำต่อผลการปฏิบัติดูแลรักษาง่ายทนทานต่อโรคและแมลงและให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งพันธุ์ที่แนะนำได้แก่ มะนาวแป้นพิจิต1,มะนาวแป้นดกพิเศษ, มะนาวตาฮิติไร้เมล็ด ส่วนมะนาวแป้นรำไพให้ผลดีเช่นกันแต่เป็นโรคแคงเกอร์มากกว่า

             (ต้นพันธุ์มะนาวที่เสียบยอดบนต้นตอที่ทนแล้ง-ทนน้ำ ทนโรครากเน่าโคนเน่า ระบบรากดี เช่นต้นตอส้มทรอยเยอร์ ต้นตอส้มคลีโอพัตรา ต้นตอส้มโวลคา จะมีอายุยืนยาวกว่ากิ่งตอน และเจริญเติบโตดีกว่าต้นพันธุ์ที่เสียบยอดกับต้นมะขวิด)

 

การปลูก

             นำต้นพันธุ์ดีที่สมบูรณ์แข็งแรงมาปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์ที่จัดเตรียมไว้แล้ว ควรมีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ 1-3 วันต่อครั้ง นอกจากนี้ควรเสริมปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต โดยใส่ปุ๋ยสูตร15-15-15 รองก้นหลุมก่อนปลูกอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อต้น และใส่หลังจากปลูกทุก 1-2 เดือนอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อต้น ส่วนในระยะบังคับให้ออกดอกติดผลควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1ช้อนแกงต่อต้น หลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อมะนาวอายุได้ 8 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป ให้เริ่มบังคับมะนาวให้ออกดอก ติดผลตามต้องการ

 

การปลิดดอก และผลมะนาวที่ออกในฤดูกาล

             หลังจากปลูกมะนาวในวงบ่อได้ประมาณ 6 เดือน มะนาวบางพันธุ์อาจมีการออกดอกติดผลบ้างเล็กน้อย ก่อนถึงช่วงบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลในเดือน กันยายน - พฤศจิกายน มะนาวที่ออกดอกก่อนหน้านี้ ควรเด็ดดอก หรือปลิดดอกทั้งหมด

 

การคลุมโคนต้นด้วยพลาสติก

             ก่อน ถึงช่วงบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลนอกฤดูกาล ประมาณ 1 เดือน เช่นบังคับให้มะนาวออกดอกในเดือน กันยายนหรือเดือนตุลาคม ให้ผู้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์งดให้น้ำ ในเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน แล้วนำพลาสติก (ผ้าพลาสติกกันฝน) มาคลุมปากวงบ่อด้านโคนต้นไม่ให้น้ำซึมลงไปในดินปลูกภายในวงบ่อ ได้ประมาณ 15-30 วัน ใบมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จะเริ่มเหี่ยวหรือใบร่วง แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์

 

การเก็บเกี่ยว

             หลัง จาก มะนาวออกดอกติดผล ได้ประมาณ 4-5 เดือน ก็สามารถจะเก็บเกี่ยวผลผลิตสู่ตลาดได้ ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ถ้าเป็นมะนาวน้ำหอม มะนาวพันธุ์นี้จะมีน้ำตั้งแต่ผลเล็กๆ ผู้ปลูกสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 3-4 เดือน ถ้าสังเกตมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ มีการติดผลมาก (ผลดก) เมื่อถึงช่วงอายุเก็บเกี่ยวแล้วควรดำเนินการเก็บเกี่ยวสู่ตลาดเลย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้บนต้นนานๆ ต้นมะนาวจะต้องใช้อาหารมาเลี้ยงหรือบำรุงผลมะนาว เป็นเวลานานกว่าปกติ ต้นมะนาวอาจทรุดโทรมได้ง่าย และควรระมัดระวัง อย่าให้กิ่งฉีกหัก และผลมะนาวช้ำ จะวางตลาดได้ไม่นาน

การตัดแต่งกิ่ง

             หลัง จากเก็บเกี่ยวผลผลิตมะนาวนอกฤดูกาล(มะนาวหน้าแล้ง) หมดแล้ว ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหัก กิ่งที่แตกกิ่งไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออก ควรตัดแต่งกิ่งให้เรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายนของปี เพื่อให้มะนาวแตกยอดใหม่และบำรุงต้นในเดือนสิงหาคม-กันยายนเพื่อเตรียมให้ออกดอกในเดือนตุลาคมเป็นผลมะนาวนอกฤดูและจะมีราคาแพงในอีก 4 เดือนข้างหน้า

 

การใส่ปุ๋ยและเพิ่มดิน

             การใส่ปุ๋ยและเพิ่มดินปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งมะนาว ที่ปลูกในวงบ่อแต่ละปีแล้ว ควรนำดินร่วนผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ที่สลายตัวแล้ว 1 ส่วนผสมให้เข้ากันดีแล้วนำมาใส่เพิ่มในวงบ่อให้เต็มปากบ่อ มีลักษณะพูนขึ้นมาเล็กน้อย และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5 ช้อนแกง ต่อต้น รดน้ำดูแลรักษามะนาวในวงบ่อซีเมนต์ให้สมบูรณ์ แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อบังคับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป

 

ต้นทุนการปลูกมะนาว

             ต้นทุนการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ขนาดความกว้าง 80 ซม. X สูง 40 ซม.(มาตรฐาน) ต่อ 1 วงบ่อ

             • วงบ่อซีเมนต์ + ฝารองวงบ่อกว้างกว่าวงบ่อประมาณ 10 ซม. ราคาประมาณ 160 บาท

             • ต้นพันธุ์มะนาว ราคาประมาณ 100 บาท

             • ดินร่วน (หน้าดิน) + ปุ๋ยคอก (ขี้วัวแห้ง) + แกลบขาว (แกลบดิบ หรือเปลือกข้าว) หรือเปลือกถั่วเหลือง-ถั่วเขียว 3 : 2 : 1 รวมราคาประมาณ 90 บาท

             • ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 100 กรัม ราคาประมาณ 10 บาท (ใช้สำหรับรองก้นหลุมก่อนปลูก)

             • รวมค่าใช้จ่ายต่อ 1 วงบ่อซีเมนต์ ประมาณ 360 บาท

 

             ระยะปลูกและจำนวนบ่อซีเมนต์ขนาดความกว้าง 80 ซม. X สูง 40 ซม. (มาตรฐาน) และงบประมาณต่อพื้นที่ 1 ไร่

             • ระยะปลูก 3x3 เมตร จำนวน 177 บ่อ งบประมาณคร่าวๆ 64,000 บาท

             • ระยะปลูก 3x4 เมตร จำนวน 133 บ่อ งบประมาณคร่าวๆ 48,000 บาท

             • ระยะปลูก 4x4 เมตร จำนวน 100 บ่อ งบประมาณคร่าวๆ 36,000 บาท

 

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคของมะนาว

             • โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ใช้สารเคมีประเภทคอปเปอร์ไฮดรอกไซต์, คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์, คอปเปอร์ออกไซด์ (หรือเรียกว่ายารักษาโรคแคงเกอร์ ชื่อทางการค้า แคงเกอร์เอ็กซ์)

             • โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา ใช้สารเคมีประเภทมีทาแลคซิล หรือแคปตาโฟล (หรือเรียกว่ายารักษาโรครากเน่าโคนเน่า ชื่อทางการค้า เมทาแลคซิล)

             • โรคราดำ ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อราในสวนส้มหรือมะนาวทั่วๆ ไปได้ หรือสารเคมีกลุ่มแมนโคเซ็บ

             • โรคยางไหล เกิดจากเชื้อรา ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อรา เช่น คูปราวิท, กำมะถันผสมปูนขาว ทาบาดแผลของลำต้น

             • โรคใบแก้ว-ใบด่าง ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภท ไดแทนเอ็ม-45 และให้ปุ๋ยทางรากทางใบและฮอร์โมนพืช

 

 

 

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของมะนาว

             • หนอนชอนใบ ใช้สารเคมีประเภทคาร์บาริล หรือคาร์โบซัลแฟน (ชื่อทางการค้า อะบาเม็กติน, เซฟวิน 85)

             • หนอนกินใบหรือหนอนแก้ว ใช้สารเคมีประเภทเมทามิโดฟอส (ทามารอน) หรือชื่อทางการค้าใดก็ได้ที่กำจัดหนอนกินใบ

             • เพลี้ยไก่แจ้ ใช้สารเคมีประเภทคาร์บิล, มาลาไธออน, ฟอร์โมโธออน ชื่อทางการค้าใดก็ได้

             • เพลี้ยไฟ ใช้สารเคมีประเภทคาร์โบซัลแฟน (ชื่อทางการค้า อะบาเม็กติน)

             • ไรแดง ใช้สารเคมีประเภทไดโคฟอล หรือกำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้

             • เพลี้ยหอย ใช้สารเคมีประเภทคาร์บาริล (ชื่อทางการค้า เซฟวิน 85)

             • แมลงค่อมทอง ใช้สารเคมีประเภทคาร์บาริล (ชื่อทางการค้า เซฟวิน 85)

 

การให้ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นมะนาว (ไม่รวมช่วงมะนาวติดผลหรือผลิตมะนาวนอกฤดู)

             มะนาวเป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักได้ดี แต่ปุ๋ยเคมีก็มีความจำเป็นต่อการปลูกมะนาวเช่นกัน สำหรับการให้ปุ๋ยเคมีทางดินต้องหว่านรอบๆ ทรงพุ่มห่างจากโคนต้นประมาณ1 ฝ่ามือขึ้นไป โดยก่อนหว่านปุ๋ยต้องรถน้ำให้ดินชุ่มเสียก่อนและหลังหว่านก็รดอีกครั้งหนึ่ง หากเป็นช่วงฤดูฝนหว่านหลังฝนตกใหม่ๆ จะดีมาก เนื้อปุ๋ยจะได้ละลายลงดินให้พืชใช้ได้ทันที โดยไม่เสียประโยชน์

             • ระยะเริ่มปลูกถึง 3 เดือนแรก ไม่ต้องให้ปุ๋ย แต่สามารถฉีดพ่นฮอร์โมนพืชทางใบได้

             • ระยะเดือนที่ 4 ให้ใส่ปุ๋ยเคมีเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เช่น สูตร 20-10-10หรือ 20-11-11 หรือสูตร 15-15-15 อัตราครั้งละประมาณ 100 กรัมต่อต้น

             • ระยะเดือนที่ 4-12 ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เดือนละ 1 ครั้ง

             • ระยะเดือนที่ 4, 8 และ 12 ให้ปุ๋ยคอก(ขี้วัวแห้ง) หรือปุ๋ยหมัก ตามขนาดของลำต้นโดยประมาณ โดยหว่านภายใต้ทรงพุ่มและรอบทรงพุ่มทั้งหมด ความหนาประมาณ 1-2 นิ้ว

             • ระยะเริ่มเข้าปีที่ 2 ให้ปุ๋ยเคมี 4 เดือนครั้ง เช่น สูตร 20-10-10 หรือ 20-11-11 หรือสูตร 15-15-15 อัตราครั้งละประมาณ 100-200 กรัมต่อต้น อาจให้ปุ๋ยคอก(ขี้วัวแห้ง)หรือปุ๋ยหมัก ตามขนาดของลำต้นโดยประมาณ โดยหว่านภายใต้ทรงพุ่มและรอบทรงพุ่มทั้งหมด ความหนาประมาณ 1-2 นิ้ว ทับปุ๋ยเคมีที่หว่านไปก่อนหน้า

             • ระยะเริ่มเข้าปีที่ 3 ขึ้นไป ให้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกตามระยะเวลาเหมือนกับปีที่ 2 แต่เพิ่มปริมาณมากขึ้นตามขนาดลำต้น อัตราครั้งละประมาณ 500-700 กรัมต่อต้น

             • ควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมนพืชเดือนละ 1 ครั้งตลอดอายุของมะนาว

ข้อพึงระวัง ->

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคของมะนาว

             • โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ใช้สารเคมีประเภทคอปเปอร์ไฮดรอกไซต์, คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์, คอปเปอร์ออกไซด์ (หรือเรียกว่ายารักษาโรคแคงเกอร์ ชื่อทางการค้า แคงเกอร์เอ็กซ์)

             • โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา ใช้สารเคมีประเภทมีทาแลคซิล หรือแคปตาโฟล (หรือเรียกว่ายารักษาโรครากเน่าโคนเน่า ชื่อทางการค้า เมทาแลคซิล)

             • โรคราดำ ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อราในสวนส้มหรือมะนาวทั่วๆ ไปได้ หรือสารเคมีกลุ่มแมนโคเซ็บ

             • โรคยางไหล เกิดจากเชื้อรา ใช้สารเคมีประเภทกำจัดเชื้อรา เช่น คูปราวิท, กำมะถันผสมปูนขาว ทาบาดแผลของลำต้น

             • โรคใบแก้ว-ใบด่าง ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราประเภท ไดแทนเอ็ม-45 และให้ปุ๋ยทางรากทางใบและฮอร์โมนพืช

 

 

 

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของมะนาว

             • หนอนชอนใบ ใช้สารเคมีประเภทคาร์บาริล หรือคาร์โบซัลแฟน (ชื่อทางการค้า อะบาเม็กติน, เซฟวิน 85)

             • หนอนกินใบหรือหนอนแก้ว ใช้สารเคมีประเภทเมทามิโดฟอส (ทามารอน) หรือชื่อทางการค้าใดก็ได้ที่กำจัดหนอนกินใบ

             • เพลี้ยไก่แจ้ ใช้สารเคมีประเภทคาร์บิล, มาลาไธออน, ฟอร์โมโธออน ชื่อทางการค้าใดก็ได้

             • เพลี้ยไฟ ใช้สารเคมีประเภทคาร์โบซัลแฟน (ชื่อทางการค้า อะบาเม็กติน)

             • ไรแดง ใช้สารเคมีประเภทไดโคฟอล หรือกำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้

             • เพลี้ยหอย ใช้สารเคมีประเภทคาร์บาริล (ชื่อทางการค้า เซฟวิน 85)

             • แมลงค่อมทอง ใช้สารเคมีประเภทคาร์บาริล (ชื่อทางการค้า เซฟวิน 85)

 

การให้ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นมะนาว (ไม่รวมช่วงมะนาวติดผลหรือผลิตมะนาวนอกฤดู)

             มะนาวเป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักได้ดี แต่ปุ๋ยเคมีก็มีความจำเป็นต่อการปลูกมะนาวเช่นกัน สำหรับการให้ปุ๋ยเคมีทางดินต้องหว่านรอบๆ ทรงพุ่มห่างจากโคนต้นประมาณ1 ฝ่ามือขึ้นไป โดยก่อนหว่านปุ๋ยต้องรถน้ำให้ดินชุ่มเสียก่อนและหลังหว่านก็รดอีกครั้งหนึ่ง หากเป็นช่วงฤดูฝนหว่านหลังฝนตกใหม่ๆ จะดีมาก เนื้อปุ๋ยจะได้ละลายลงดินให้พืชใช้ได้ทันที โดยไม่เสียประโยชน์

             • ระยะเริ่มปลูกถึง 3 เดือนแรก ไม่ต้องให้ปุ๋ย แต่สามารถฉีดพ่นฮอร์โมนพืชทางใบได้

             • ระยะเดือนที่ 4 ให้ใส่ปุ๋ยเคมีเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เช่น สูตร 20-10-10หรือ 20-11-11 หรือสูตร 15-15-15 อัตราครั้งละประมาณ 100 กรัมต่อต้น

             • ระยะเดือนที่ 4-12 ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เดือนละ 1 ครั้ง

             • ระยะเดือนที่ 4, 8 และ 12 ให้ปุ๋ยคอก(ขี้วัวแห้ง) หรือปุ๋ยหมัก ตามขนาดของลำต้นโดยประมาณ โดยหว่านภายใต้ทรงพุ่มและรอบทรงพุ่มทั้งหมด ความหนาประมาณ 1-2 นิ้ว

             • ระยะเริ่มเข้าปีที่ 2 ให้ปุ๋ยเคมี 4 เดือนครั้ง เช่น สูตร 20-10-10 หรือ 20-11-11 หรือสูตร 15-15-15 อัตราครั้งละประมาณ 100-200 กรัมต่อต้น อาจให้ปุ๋ยคอก(ขี้วัวแห้ง)หรือปุ๋ยหมัก ตามขนาดของลำต้นโดยประมาณ โดยหว่านภายใต้ทรงพุ่มและรอบทรงพุ่มทั้งหมด ความหนาประมาณ 1-2 นิ้ว ทับปุ๋ยเคมีที่หว่านไปก่อนหน้า

             • ระยะเริ่มเข้าปีที่ 3 ขึ้นไป ให้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกตามระยะเวลาเหมือนกับปีที่ 2 แต่เพิ่มปริมาณมากขึ้นตามขนาดลำต้น อัตราครั้งละประมาณ 500-700 กรัมต่อต้น

             • ควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบหรือฮอร์โมนพืชเดือนละ 1 ครั้งตลอดอายุของมะนาว

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา