ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงจิ้งหรีด

โดย : นายทำมา สีนาน วันที่ : 2017-03-21-14:08:19

ที่อยู่ : บ้านกลางเจริญ ตำบลต้นผึ้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จิ้งหรีด (Cricket) เป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยง และนำมาบริโภคทั่วทุกภาคของประเทศเนื่องจากมีรสชาติอร่อย กรอบ มัน และมีคุณค่าทางอาหารสูง

advertisement

 

ในอดีตมีการจับจิ้งหรีดธรรมชาติมาบริโภคภายในครัวเรือนหรือส่งจำหน่ายตามชุมชนเท่านั้น แต่เนื่องด้วยเป็นแมลงที่เมื่อนำมาทอดแล้วมีรสกรอบ มัน ทำให้มีคนชื่นชอบมาก จนปัจจุบันมีการเพาะจิ้งหรีดจำหน่ายเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ และความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน

วัตถุประสงค์ ->

๑ เป็นการเพิ่มรายได้

๒ มีแหล่งโปรตีนบริโภคในราคาถูก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์การเลี้ยงจิ้งหรีด
1. บ่อเลี้ยง
บ่อเลี้ยงอาจเป็นวัสดุประยุกต์ต่างๆ เช่น กะละมัง ถังน้ำ (เลี้ยงจำนวนน้อย) แต่โดยทั่วไปนิยมใช้บ่อซีเมนต์สำเร็จรูปหรือการก่ออิฐเป็นสี่เหลี่ยม หรือใช้แผ่นพลาสติกตียึดกับโครงไม้ เพราะจะได้พื้นที่มากพอสำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีดจำนวนมาก หากเลี้ยงหลายบ่อควรให้มีระยะห่างของบ่อ ประมาณ 1 เมตร หรือมีระยะที่สามารถเดินเข้าออกได้สะดวก
2. ผ้าเขียวหรือลวดตาข่าย
ผ้าเขียวหรือลวดตาข่ายจะใช้สำหรับครอบปิดปากบ่อเพื่อป้องกันจิ้งหรีดไต่หรือกระโดดออกจากบ่อ และป้องกันศัตรูของจิ้งหรีด เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก นก เป็นต้น โดยทั่วไปจะใช้ผ้าเขียวจะให้ผลดีสุดทั้งป้องกันจิ้งหรีดออก และป้องกันศัตรูจิ้งหรีดได้ดี มีราคาถูก ใช้ และรื้อง่าย โยควรมีขนาดที่คลุมมิดทั้งปากบ่อที่สามารถใช้เชือกรัดปิดรอบบ่อได้

3. วัสดุหลบซ่อน
วัสดุหลบซ่อนจะใช้วางในบ่อเลี้ยงเพื่อให้จิ้งหรีดหลบซ่อนตัว และให้ความอบอุ่น เช่น กาบมะพร้าว อิฐบล็อกมีรู หญ้าแห้ง ถาดกระดาษรองไข่ เป็นต้น

4. ถาดน้ำ และถาดอาหาร
ถาดน้ำควรมีลักษณะทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน กว้างประมาณ 5 ซม. สูงประมาณ 3-5 ซม. และยาวตั้งแต่ 10 ซม. ขึ้นไป วางในบ่อ 3-5 อัน ตามจำนวนที่เลี้ยง ส่วนถาดอาหารควรมีลักษณะเป็นวงกลม เช่น ถาดอาหารทั่วไปตามท้องตลาด 1-2 ถาด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปล่อย และเลี้ยงจิ้งหรีด
การปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้เลี้ยงจะต้องเป็นพ่อแม่พันธุ์ตัวเต็มวัยแล้ว 3-5 วัน โดยสังเกตจากปีกที่คลุมมิดส่วนท้องแล้ว ปีกมีลักษณะสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ปีกไม่หัก หนวดมีครบทั้ง 2 เส้น ขามีสภาพสมบูรณ์ และครบทุกขา อัตราการปล่อยพ่อพันธุ์ : แม่พันธุ์ที่ 1 : 3

หลังการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 3 สัปดาห์ ช่วงนี้จะมีการผสมพันธุ์ และวางไข่ จนถึงระยะที่จิ้งหรีดฟักออกเป็นตัวอ่อน ส่วนพ่อ-แม่พันธุ์ จะถึงอายุขัย และตายไปหมด ซึ่งต้องคอยกำจัดออกในช่วงนี้

การให้น้ำ และอาหาร
จิ้งหรีดเป็นแมลงที่กินพืชเป็นอาหารหลัก ประเภทยอดหญ้าอ่อนทุกชนิด เช่น หญ้าขน หญ้าลูซี่ ผักตบชวา ผักกาด เป็นต้น แต่เกษตรกรบางรายอาจเลี้ยงด้วยการให้อาหารเสริมควบคู่หรือให้อาหารเสริมเพียงอย่างเดียว เช่น อาหารสำเร็จรูปพวกอาหารไก่ อาหารปลา รำ ปลายข้าว

การให้อาหารเสริมจะให้ทุก 2 วัน/ครั้ง อย่าให้ขาด ส่วนหญ้าสดจะให้ทุกวัน พร้อมมั่นถ่ายน้ำทุกครั้ง สำหรับหญ้าหรือพืชสดที่ให้ควรมั่นตรวจสอบอย่าให้เน่า หากจิ้งหรีดกินไม่หมดภายในวันที่ 2 ควรเปลี่ยนถ่ายทิ้งออกไป และซากหญ้าของเก่าต้องกำจัดออกไปด้วยเสมอ

พื้นที่รอบบ่อ
เพื่อป้องกันสัตว์หรือแมลงชนิดอื่นที่อาจเข้ามาทำลายจิ้งหรีดหรือแย่งอาหารจิ้งหรีด เช่น มดชนิดต่างๆ นั้น จะต้องป้องกันด้วยการโรยผงกันแมลงหรือปูนขาวโดยรอบบ่อเลี้ยง และคอยมั่นตรวจสอบบริเวณโดยรอบเป็นประจำ

การจับจิ้งหรีด
จิ้งหรีดที่เลี่ยงจะสามารถจับจำหน่ายได้เมื่ออายุประมาณ 35 วัน ขึ้นไป หลังฟักออกจากไข่ ซึ่งวิธีการจับจะใช้การเปลี่ยนวัสดุหลบอาศัยหรือเป็นวัสดุที่ใส่ตั้งแต่ตอนแรกที่สามารถเก็บรวบรวมจิ้งหรีดขณะหลบซ่อนตัวได้ดี เช่น กระบออกไม่ไผ่หรือท่อพลาสติก ด้วยการปิดคลุมด้วยปลายด้านใดด้านหนึ่งให้มิดชิด เวลาจับจะใช้ปลายด้านที่เปิดเทภายใส่ภายในถุงผ้าที่ครอบปากไว้ แล้วค่อยๆเคาะให้จิ้งหรีดออก

ข้อพึงระวัง ->

ระวังมดและจิ้งจก

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสกลนคร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา