ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงเป็ดไข่

โดย : นายโสพณ ขันวงษ์ วันที่ : 2017-04-01-04:25:33

ที่อยู่ : หมู่ 1 โนนปูน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็ดไข่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรค สามารถใช้วัสดุท้องถิ่นหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารได้ ประชาชนนิยมบริโภคไข่เป็ด นอกจากนี้ไข่เป็ดสามารถนำไปประกอบอาหารและทำขนมได้หลายชนิด เหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ การทำไข่เค็ม เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้

          1. พันธุ์เป็ดไข่ พันธุ์เป็ดไข่ที่กรมปศุสัตว์แนะนำ คือ เป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรีและเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ
             1.1 ลักษณะของเป็ดไข่พันธุ์กบินทร์บุรี
             เพศเมีย มีสีขนเป็นสีกากีตลอดลำตัว แข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำเริ่มไข่เมื่ออายุ 150-160 วัน น้ำหนักเริ่มไข่ 1,450-1,500 กรัม ไข่ได้ 300-320 ฟอง/ตัว ไข่มีขนาด 65 กรัม กินอาหารวันละ 145-160 กรัม/ตัว อายุการให้ไข่ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะให้ไข่มากที่สุด
             เพศผู้ ตัวใหญ่กว่าเพศเมีย น้ำหนักอยู่ระหว่าง 1,700-1,800 กรัม/ตัว หัวมีขนสีเขียวแก่คลุมลงมาจนถึงกลางลำคอ โดยเฉพาะเป็ดหนุ่มอายุ 5-7 เดือน ขนหัวและคอจะมีสีเขียวแก่ชัดเจนและสีนี้จะค่อยๆ จางลงจนเป็นสีน้ำเงินปนดำเมื่อเป็ดมีอายุมากขึ้น ขนหาง 2-3 เส้นจะโค้งงอขึ้นด้านบน ปลายขนหางและปลายขนปีกจะมีสีน้ำตาลดำ ขนลำตัวสีเทา แต่ขนจากกลางคอจนถึงไหล่และหน้าอกด้านหน้าจะสีน้ำตาลเข้ม แข้งสีส้ม ปากสีน้ำเงินปนดำ

 1.2 ลักษณะของเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ
             มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ขนสีดำตลอดลำตัว บางตัวหน้าอกด่าง เพศผู้มีลักษณะพิเศษ ที่ขน หัว คอ และปลายปีก จะมีสีเขียวเข้ม ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีปากและขนสีดำเริ่มไข่เมื่ออายุ 145-183 วัน น้ำหนักตัว เมื่อเริ่มไข่ 1450-1550 กรัม/ตัว สามารถไข่ได้ปีละ 270-300 ฟอง น้ำหนักไข่เฉลี่ย 62 กรัม กินอาหารวันละ 135 กรัม และสามารถไข่ได้ 1-2 ปี แต่ปีแรกจะไข่มากที่สุด เลี้ยงง่ายเลี้ยงได้ทุกสภาพพื้นที่ทั้งที่เป็นพื้นที่ลุ่มหรือดอน ต้านทานโรคระบาดไม่ฟักไข่เอง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา