ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงเป็ดไข่

โดย : นายรัชชานนท์ มะปราง วันที่ : 2017-04-01-04:09:33

ที่อยู่ : หมู่ 11 ไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เคล็ดลับในการเลี้ยงเป็ดไข่ หลังจากที่เราซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยง 
วิธีการสังเกตุว่าเป็ดตัวไหนเป็นตัวผู้ตัวเมียให้ทราบโดยมีรายละเอียดดังนี้ -หลังจากที่เราซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยงเราจะไม่รู้ว่าตัวไหนมีเพศอะไรเพราะมันมี ขนาดเล็กอยู่ แต่เมื่อเราเลี้ยงไปสักพักระยะเวลา 3 เดือน ก็จะสังเกตุออกแล้ว โดยตัวผู้จะร้องเสียงเบาและเสียงสั้นผิดกับตัวเมียและตัวผู้ที่หางจะมีขน 2 เส้นที่มีลักษณะชี้ด้วย 

หากมีเป็ดตัวผู้อยู่เมื่อผสมพันธุ์กับเป็ดตัวเมียไข่ที่ได้ออกมาจะไม่มี คุณภาพแม่ค้าจะไม่รับซื้อเนื่องจากเมื่อเป็ดตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียไข่ ที่ออกมาจะเก็บไว้ได้ไม่นาน ในระยะเวลา 7-8 วันเมื่อนำไข่ไปส่องไฟหรือแดดดูก็จะพบว่ามีเส้นเลือดที่จะทำให้ไข่ฟักตัว เป็นเป็ดทำให้นำไปบริโภคไม่ได้ สำหรับวิธีการแก้ก็ให้แยกเป็ดตัวผู้ออกให้เหลือแต่เป็ดตัวเมียโดยให้เป็ดตัว เมียผสมพันธุ์กันเองไข่ที่ได้มาก็จะมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด
การเลี้ยงเป็ดไข่ 
เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ 7 วัน ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ 
โรงเรือนต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เป็นลานกว้าง มีหลังคา กันแดด กันลม กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้ จัดที่ให้อาหารและน้ำ 
อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย 
การให้อาหาร คือ หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น 
 ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด ตามแอ่ง มุมต่าง ๆ ของคอก
 วิธีการเก็บไข่ คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ 3 ฟอง จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา