ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายสบัน จันทร์ทิพย์ วันที่ : 2017-04-01-04:02:40

ที่อยู่ : 133 หมูที่ 10 ตำบลไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำการเกษตรแบบผสมผสานมาช้านานแล้ว  จากรูปแบบการผลิตที่ง่ายๆ เช่น  การเลี้ยงปลาในนาข้าว  และหลังจากที่หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการส่งเสริมและวิจัยมากขึ้น  รูปแบบการผลิตจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น  คือ  มีการผสมผสานระหว่างพืช สัตว์และปลา  เป็นต้น  โดยทั่วไปรูปแบบของการผลิตซึ่งประกอบด้วยชนิดและขนาดของกิจกรรมการผลิตในไร่นาจะแตกต่างกันไป

ปัจจัยที่กำหนดรูปแบบการผลิตมี 3 ประการคือ

การทำเกษตรอินทรีย์ มิใช่จะปล่อยให้ธรรมชาติจัดการเองในทุกเรื่อง แต่เกษตรกรหรือผู้ทำเกษตรอินทรีย์เองจะคอยร่วมจัดการ และส่งเสริมให้เกิดความสมดุลขึ้นในระบบ อันประกอบด้วยการเอาใจใส่ในกระบวนการผลิตที่ต้องคอยเกื้อหนุนให้ทรัพยากรทั้งดิน น้ำ และสัตว์อื่นๆเกิดความสมดุล และเกิดปลอดภัยในการทำเกษตรนั้น อันได้แก่ ไม่ใช้สารเคมีที่มีผลต่อทรัพยากรในระบบ หรือส่งเสริมให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษในผลผลิต ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นกระบวนการแรกที่ทำให้เกษตรกรเกิดจิตสำนึก และเอาใจใส่ต่อคุณภาพของผลิต อันปราศจากการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารใดๆที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

1.  สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่  เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ระดับความสูงต่ำของพื้นที่  แหล่งน้ำ  สภาพลมฟ้าอากาศ และอื่นๆ

2.  สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพื้นที่  ได้แก่  ชนิดของพืช  สัตว์และปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

3.  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม  ได้แก่  ขนาดของพื้นที่ถือครอง  จำนวนแรงงานในครัวเรือน  เงินออม  ตลาด  พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา