ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่

โดย : นายพา เล็งเบา วันที่ : 2017-04-01-03:26:47

ที่อยู่ : 144 หมูที่ 7 ตำบลไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เทคนิคและวิธีการให้อาหารไก่พื้นเมือง
1. ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่
2. การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหาร
3. สำหรับไก่ใหญ่ ควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต
4. ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น
5. น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย
6. ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด
7. ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

โปรแกรมการทำวัคซีนป้องกันโรคระบาด
การป้องกันโรคระบาดไก่ด้วยการทำวัคซีน โดยพยายามให้เกษตรกรรู้จักวิธีการใช้วัคซีน เพื่อป้องกันโรคระบาดอย่างถูกต้อง จะเป็นการเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองต่อครัวเรือนได้เป็นอย่างดี และทำให้มีไก่บริโภคได้ตลอดปี เนื่องจาก
1. ลูกไก่ในช่วงอายุ 1-2 เดือน จะมีอัตราการตายสูงสุดคือ 11% ของไก่แรกเกิด หรือ 49% ของไก่ที่ตายทั้งหมด
2. สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไก่ตายมากที่สุด คือโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหวัดหน้าบวม ไก่ที่ตายด้วยโรคนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 1-3 เดือน
3. การตายของไก่จะผันแปรไปตามฤดูกาล ลูกไก่ที่เกิดในฤดูฝน (มีนาคม-กรกฎาคม) จะมีอัตราการตายสูงกว่าลูกไก่ที่เกิดในเดือนอื่นๆ
4. ไก่พื้นเมืองในชนบทที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคระบาดและถ่ายพยาธิตามโปรแกรม มีอัตราการเลี้ยงรอด 77.6% ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา