ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข่าแบบพอเพียง

โดย : นายคำสุข จรเด็ด วันที่ : 2017-04-01-02:05:51

ที่อยู่ : หมู่ 5 ต.ไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ามีมูลค่าในเชิงการค้าที่เป็นประโยชน์โดยตรงแถมสามารถขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ มีตลาดข่ารองรับมากมาย การเตรียมการปลูกเพื่อผลิตก็ไม่ยาก และประโยชน์ทางอ้อมสำหรับการปลูกข่านั้นก็เป็นระบบการป้องกันแมลงได้อีกรูปแบบหนึ่ง

Read more at: http://www.kasetorganic.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9e%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87.html
Copyright © http://www.kasetorganic.com

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการปลูกข่า ให้ได้ผลดี การเตรียมดินสำหรับปลูกข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบชื้น ดินร่วนซุย แต่ไม่ชอบแฉะและน้ำขัง หากพื้นที่ไหนมีน้ำขังก็คงเป็นเรื่องยากสักหน่อยสำหรับการปลูกข่า หรืออาจะแก้ไขด้วยการไถเปิดหน้าดินแล้วก่อนขึ้นเป็นคัน แต่หากเป็นพื้นที่ราบปกติแล้วก็สามารถไถเปิดหน้าดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตรแล้วคลุกกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน หรือหากเป็นการปลูกข่าเพื่อใช้รับประทานในครัวเรือนก็สามารถใช้จอบขุดขึ้นแปลงเล็กๆ หรือขุดหลุมแล้วคลุกดินด้วยปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักได้ไม่ยุ่งยาก การเตรียมต้นพันธุ์ข่า สำหรับปลูก ข่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่หากท่านใดมีโอกาสก็อยากจะแนะนำต้นพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ที่มีอายุได้ 8 – 9 เดือนเพราะมีตามากและรากงอกใหม่ได้ง่าย เพียงแตค่แยกแง่งตัดใบตัดรากออกให้หมดแล้วล้างให้สะอาดก็เป็นอันใช้ได้ แต่หากท่านไหนไม่สามารถหาต้นพันธุ์ได้นั้นก็สามารถหาซื้อไปตามตลาดโดยคัดเลือกหัวหรือแง่งที่มีตาตามข้อ ตัดแต่งส่วนที่เน่าหรือช้ำออกเพราะจะทำให้ลุกลามในภายหลังได้และเมื่อเสร็จแล้วก็นำไปแช่ในน้ำยากันเชื้อรา หลังจากนั้นก็นำไปเพาะชำในแกลบดำหรือวัสดุปลูกชนิดอ่อนเช่นแกลบหรือขุยมะพร้าวแล้วรดน้ำให้ชุ่มเป็นเวลา 10 – 15 วัน เพื่อรอให้รากงอกและแทงยอดออกมาใหม่ หรือหากท่านใดนิยมการปลูกแบบบ้านๆ ก็ไม่ต้องพิถีพิถันอะไรมากก็สามารถปักลงดินแล้วรดน้ำได้เลยแต่ถ้าหากอยากให้อัตราการรอดสูงก็อาจจะต้องพึ่งพาการอนุบาลเสียเล็กน้อยเพื่อศิริมงคลแก่ชีวิต การปลูกข่าให้ได้ผลดี การปลูกนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเกินไปกว่าการขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตรและกว้าง 30 เซนติเมตร แล้วอาจจะรองก้นหลุมด้วยใบสะเดา ยาสูบหั่นฝอย หรือพืชที่มีกลิ่นฉุนเพื่อดักทางแมลงหรือหนอน แล้วตามด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า (หลีกเลี่ยงการใช้มูลวัวเพราะง่ายต่อการแพร่ของหนอนกอ) สำหรับการรองก้นหลุมแล้วจึงกลบดินถมให้ลึกประมาณ 20 – 25 เซนติเมตรโดยให้ตาของหน่อข่าชี้ขึ้นด้านบน โดยทิ้งระยะห่างระหว่างกอที่ 1 – 1.2 เมตร แล้วคลุมด้วยฟางหรือวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากการถูกแดดเผา หรือไม่ใช้ก็ได้ก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของประชาชน อิอิอิ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็อยากจะให้หาวัสดุคลุมให้เรียบร้อยเพื่อรักษาความชื้นในดินและถึงแม้จะดูยุ่งยากในช่วงแรกแต่ก็เป็นผลดีในระยะยาว

ข้อพึงระวัง ->

การดูแลรักษาข่าหลังการปลูก ถึงแม้ว่าข่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก โตได้ตามมีตามเกิดแต่หากต้องการผลผลิตที่ดีมีคุณภาพนั้นก็เห็นทีจะต้องบำรุงให้งาม เพื่อขายได้ราคา ท่านอื่นไม่แน่ใจว่าจะใช้อะไรแต่สำหรับผู้เขียนนั้นนิยมใช้ปุ๋ยหมักทำเองที่ได้จากการหมักผักตบชวากับมูลไก่และแกลบ โดยใส่บริเวณโคนต้นจำนวน 0.5 กิโลกรัมต่อต้นเดือนละครั้ง (ขออภัยในความขี้เกียจ -__-!!!) หากเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็คงจะใส่น้อยกว่านี้ตามอัตราส่วน ส่วนการรดน้ำนั้นหากเพื่อนๆ มีฟางหรือวัสดุคลุมไว้ก็จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดีทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ โดยอาจจะรดน้ำแต่อาทิตย์ละครั้ง แต่หากไม่มีวัสดุคลุมก็ควรดูจากระดับความชื้นในดิน และสำหรับไร่ผู้เขียนเองนั้นก็เพิ่มเติมด้วยการรดน้ำหมักชีวภาพทุกอาทิตย์เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา