ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายสิน สีสวย วันที่ : 2017-04-05-10:37:15

ที่อยู่ : 54 ม.18 ตำบลไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นอาชีพเสริม

2.ลดรายจ่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ควรคัดเลือกตัวไก่ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ โดย

- คัดพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี เช่น ทรวงอกกว้าง สีเหลืองเข้ม และลึก สง่างาม ดวงตาสดใสเป็นประกาย ขนดกมันงาม แข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น

- ใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในช่วงอายุที่เหมาะสม ไม่หนุ่มหรือแก่จนเกินไป

- แลกเปลี่ยนหรือซื้อหาพ่อไก่ระหว่างหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด

 

2. จัดการให้แม่ไก่ฟักไข่และได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นพร้อมๆ กัน กระทำได้โดย

- ไม่ให้แม่ไก่ฟักไข่ช่วงหน้าร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกๆ ปี ไข่ที่ได้ในช่วงนี้ให้นำไปบริโภคหรือจำหน่าย หากแม่ไก่มีพฤติกรรมอยากฟักไข่ ให้นำไปจุ่มน้ำเปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว

- แยกลูกไก่ออกจากแม่เมื่อลูกไก่มีอายุ 7-14 วัน โดยกระทำพร้อมกันหรือไล่เลี่ยทุกแม่ จากนั้นนำแม่ไก่ไปขังรวมกัน และกำหนดตัวพ่อพันธุ์สำหรับใช้ผสมพันธุ์ในแต่ละรุ่น ส่วนลูกไก่นำไปเลี้ยงอย่างดี พร้อมให้อาหารเสริม

- แม่ไก่ที่ขังรวมกันจะเริ่มไข่ใหม่และไข่ในเวลาใกล้เคียงกัน การจัดการโดยการจับแม่ไก่ไปจุ่มน้ำให้เปียกถึงผิวหนังชุ่มทั้งตัว เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยลดพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของแม่ไก่ และช่วยให้ไข่ชุดใหม่เร็วขึ้น ทั้งนี้ควรให้อาหารเสริมร่วมด้วย

- เมื่อแยกลูกไก่ทุกๆ รุ่นจากแม่ไก่ทุกแม่เช่นนี้ตลอดไป จะได้ลูกไก่ออกมาเป็นรุ่นๆ มีปริมาณมากพอที่จะทำวัคซีนแต่ละครั้ง สะดวกต่อการให้อาหารเสริม และใช้ยาควบคุมหรือป้องกันโรคได้ เมื่อคำนวณคร่าวๆ จะได้ลูกไก่ 7 รุ่น/แม่/ปี หรือประมาณ 70 ตัว/แม่/ปี ซึ่งไม่นับรวมกับไข่ที่นำไปบริโภคหรือจำหน่ายในช่วงฤดูร้อ

 

3. ทำวัคซีนป้องกันโรคตามอายุไก่ เช่น นิวคาสเซิล ฝีดาษ อหิวาต์ โดยให้ถูกต้องทั้งชนิดของวัคซีน ความรุนแรงของเชื้อ และวิธีการทำวัคซีน

4. ถ่ายพยาธิกับไก่รุ่นและไก่ใหญ่ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และควรกำจัดหรือทำลายต้นตอของพยาธิภายนอก เช่น หมัด ไร เห็บ ฯลฯ ทุกครั้งที่พบ

ข้อพึงระวัง ->

เทคนิคและวิธีการให้อาหารไก่พื้นเมือง

1. ใช้อาหารสำเร็จรูปหรือหัวอาหารเร่งการเจริญเติบโตของลูกไก่

2. การเลี้ยงไก่ใหญ่ควรให้อาหารเสริมหรือแร่ธาตุผสมอาหาร

3. สำหรับไก่ใหญ่ ควรให้อาหารที่มีในพื้นที่เป็นหลัก เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เศษผัก หญ้า ปลวก ไส้เดือน ข้าวแห้ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต

4. ควรให้อาหารไก่เป็นเวลา เช้า กลางวัง เย็น หรืออย่างน้อย เช้า และเย็น

5. น้ำกินใส่ไว้ในภาชนะ ให้น้ำอย่าได้ขาด อย่าลืมว่าไก่ชอบกินน้ำสะอาด เมื่อไม่เตรียมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ไก่จะกินน้ำที่ขังอยู่ทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ง่าย

6. ให้ระลึกเสมอว่า ไก่คือโรงงาน  ถ้าไม่ป้อนวัตถุดิบ ไก่จะไม่ผลิตอะไรให้ แล้วตัวโรงงานจะโทรมในที่สุด

7. ควรนำไก่ไปปล่อยเลี้ยงในนาข้าวหรือแปลงปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไปเก็บกินผลผลิตที่ตกหล่น (ข้าว เศษผัก กุ้ง หอย ปู ปลา แมลง มด เป็นต้น)

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา