ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นางวิมาณ สีสวย วันที่ : 2017-04-05-11:09:12

ที่อยู่ : 60 ม.18 ตำบลไพรบึง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าวหอมมะลิหรือข้าวดอกมะลิ เป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง หมายถึง พันธุ์ข้าวจะออกดอกในวันที่กลางคืนยาวกว่า
กลางวันเท่านั้น คือ ช่วงฤดูหนาวทำให้สามารถปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ส่วนชื่อเรียกว่าข้าวหอมมะลินั้นมีที่มาจากสี
ของข้าวที่ขาวเหมือนดอกมะลิ แต่มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย ไม่ได้หมายความว่าข้าวนั้นหอมเหมือนมะลิ ลักษณะที่สำคัญ
ของข้าวหอมมะลิ คือ เมื่อหุงหรือนึ่งสุกแล้วเมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนิ่มมากกว่าข้าวเจ้าทั่วไป แต่ร่วนน้อยกว่าและมีกลิ่นหอม
ข้าวที่ปลูกเพื่อใช้เป็นข้าวหอมมะลิมี 2 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข.15 ซึ่งข้าวกข. 15 ก็คือข้าวขาว
ดอกมะลิ 105 ที่นำไปอาบรังสีแกมม่าทำให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 4-6 % ซึ่งข้าวทั้งสอง
พันธุ์นี้มีลักษณะ คือ เมล็ดข้าวจะฟักตัวในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ เมล็ดมีเปลือกสีน้ำตาล ยาว 7.4 มม.รูปร่างเรียว เมื่อข้าวสุกจะหอมนุ่ม มีอะมิโลส(amylose) 14-17 % ปลูกได้ในที่นาดอนทั่วไป ทนแล้ง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ต้านทาน
ไส้เดือนฝอยรากปม ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนกอมีคุณสมบัติการหุงต้ม
แบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดมีกลิ่นหอม เพาะปลูกได้ทั้งปี ทนอยู่ภายใต้สภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 สัปดาห์ เหมาะต่อ
การเพาะปลูกในพื้นที่ทำนาภาคกลาง ที่เกิดน้ำท่วมได้ง่าย ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง ให้ผลผลิต
ข้าวเปลือก 900-1000 กิโลกรัมต่อไร่ มีลักษณะประจำพันธุ์อันโดดเด่นดังนี้ ทนต่อน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะ
การเจริญเติบโต ,มีความสูง105-110 เซนติเมตร ,ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน ใบยาวและกว้างปานกลาง ลำต้นและใบเขียว ใบธงทำมุมกับคอรวง ทรงกอตั้ง แบะเล็กน้อย เมล็ดข้าวกว้าง2.5 ยาว10.9 หนา 2.0 มม ข้าวเปลือกเมื่อสุกแก่มีสีฟางคล้ายพันธุ์หอมมะลิ 105 มีจำนวนรวงต่อกอ ในนาดำ ประมาณ 15 รวง รวงยาว 15 เซนติเมตร มีปริมาณอะไมโลสในเมล็ดข้าว 18% หุงต้มสุกได้ที่อุณฟถูมิ 74 องศาเซลเซียส

 

 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม

2.การไม่ว่างงาน

3.มีอาหารบริโภค

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอน

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิ 105 สำหรับนาหว่านข้าวแห้ง เกษตรกรจะไถพรวน ผาล 3-6 ให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร เพื่อกลบตอซัง พลิกดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ ประมาณ 2 สัปดาห์ และหว่านเมล็ดข้าวในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ โดยหว่านให้สม่ำเสมอและกระจายทั่วทั้งแปลง จากนั้นจะใช้โรตารี่ ปั่นตีดิน ในสภาพดินแห้ง ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อกลบเมล็ดข้าวที่หว่านไว้ให้แน่นพอเหมาะ และกระจายตัวสม่ำเสมอ หรือใช้รถไถเดินตาม ผาล 2 ไถกลบเมล็ดข้าวที่หว่านไว้ แล้วจึงใช้คราดเกลี่ยดินเพื่อให้ได้ระดับเดียวกัน เหมาะสมต่อการงอกของข้าว


ด้าน นาปักดำมือ การเตรียมแปลงตกกล้า ชาวนาจะไถพรวน ผาล 3-6 ทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้น ขังน้ำให้ได้ ประมาณ 3 เซนติเมตร ไถพรวน ผาล 2 แล้วคราดดินให้ละเอียด เพาะเมล็ดให้งอกตุ่มตายาว 1-2 มิลลิเมตร หว่านเมล็ดพันธุ์ที่งอกแล้ว ค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำจนต้นกล้าข้าวอายุ 25-30 วัน จึงนำไปปักดำได้ ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 1.5 กิโลกรัม/ไร่ ก่อนถอนกล้า 5-7 วัน เพื่อให้ง่ายต่อการถอน


ส่วนการเตรียมแปลงเพื่อการปักดำมือ ชาวนาจะใช้วิธีการไถพรวน ผาล 3-6 ทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้น ขังน้ำให้ได้ ประมาณ 3 เซนติเมตร ไถพรวน ผาล 3-6 อีกครั้ง แล้วคราดดินให้ละเอียด ขังน้ำให้ได้ ประมาณ 3-5 เซนติเมตร และรอปักดำ สำหรับพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จะใช้วิธีปักดำที่ระยะ 25x25 เซนติเมตร ชาวนาจะถอนกล้าโดยไม่ต้องตัดใบและไม่ฟาดมัดกล้า เพราะจะทำให้ต้นกล้าช้ำ นำต้นกล้าที่เตรียมไว้ไปปักดำ 3-5 ต้น/กอ ลึก 3-5 เซนติเมตร ระดับน้ำขณะปักดำ ต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร

ส่วนการใช้ปุ๋ย เกษตรกรบอกว่า จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อน ให้ใส่ก่อนไถพรวน ผาล 3-6 โดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 40-50 กิโลกรัม/ไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สำหรับนาหว่านข้าวแห้ง ต้องใส่ในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ (ต้นเดือนสิงหาคม) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0(นาดินเหนียว) ส่วนนาปักดำมือ ให้ใส่หลังปักดำ 10-12 วัน หรือในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0 (นาดินเหนียว)


ขณะที่การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ชาวนาจะใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกดอก ประมาณ 30 วัน (ประมาณวันที่ 20 กันยายน ของทุกปี) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ โดยทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย จะต้องมีน้ำขังในแปลงนา ประมาณ 3-8 เซนติเมตร เพื่อให้ข้าวสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เพื่อรักษาคุณภาพข้าวพันธุ์ดี จะใส่ใจดูแลการตัดข้าวปน โดยสำรวจต้นข้าวใน 2 ระยะ คือ ระยะแตกกอ โดยตรวจดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ขนาดความสูงของใบ หากพบต้นผิดปกติให้ถอนทิ้งทันที ส่วนระยะออกดอก ก็ต้องคอยตรวจดูความสูงของต้นข้าวในระยะออกดอก การออกดอกก่อนหรือหลัง ลักษณะของดอก สี ขนาดของเกสรตัวผู้ ถ้าพบต้นผิดปกติ ให้ตัดทิ้งทันทีเช่นกัน

ส่วนขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าว ต้องทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยบันทึกวันออกดอก (เมื่อข้าวออกดอก ร้อยละ 80 ของแปลง) การกำหนดวันเก็บเกี่ยว จะนับจากวันออกดอกไปไม่น้อยกว่า 25 วัน และไม่เกิน 35 วัน เพราะการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ได้น้ำหนักเมล็ดสูง เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดดี และมีคุณภาพการสีดี


ก่อนเก็บเกี่ยว ประมาณ 10 วัน ชาวนาในชุมชนแห่งนี้จะระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน ทุกวันนี้ชาวนาส่วนใหญ่นิยมใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อประหยัดเวลาและต้นทุนแรงงาน ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้ข้าวร่วงหล่นน้อย ภายหลังการเก็บเกี่ยวที่นี่จะไม่นิยมเผาฟางหลังการทำนา แต่จะใช้วิธีการไถกลบตอซัง พอฝนตกลงมา ตอซังที่ไถกลบก็จะย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินต่อไป

 

 

 

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา