ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำการเกษตรผสมผสาน

โดย : นายบุญทิน เเต้มงาม วันที่ : 2017-03-31-13:34:45

ที่อยู่ : 14 ม.9 ต.สะเดาใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มื่อก่อนข้าพเจ้าทำเกษตรเชิงเดี่ยว คือ ทำนา  แต่เกิดปัญหาหลายๆ อย่างคือ
                   1) รายได้ไม่แน่นอน
                   2) ใช้เงินลงทุนมาก ต้นทุนสูง
                   3) คุณภาพดิน
                   ดังนั้นจึงหันมาสนใจกับแนวคิดการทำไร่นาผสมผสาน ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทำกิน

ขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการผลิต ลดการพึ่งพิงเงินทุน สามารถทำให้ได้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น

เพื่อการเกษตรในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงเริ่มเข้าร่วมอบรมและเรียนรู้

ด้วยตนเอง และเริ่มการเปลี่ยนไร่นาเป็นการปลูกตะไคร้ 40 ไร่ และปลูกมะละกอแซมหัว/ท้ายร่อง และปลูกไม้ประดับรอบๆ ไร่ตะไคร้ เป็นต้น สิ่งที่แตกต่างจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว คือ

                   1) ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอ

                   2) ประหยัดค่าใช้จ่าย เงินลงทุนน้อย
                   3) ลดการว่างงาน มีงานทำทั้งปี

วัตถุประสงค์ ->

1.  ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

2. ทำเป็นอาชีพเสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2.1.  การเตรียม/แบ่งพื้นที่

                             จะทำการแบ่งพื้นที่ในการทำเกษตรผสมผสาน ได้แก่

                             1) ปลูกตะไคร้ ประมาณ 40 ไร่

                             2) ปลูกพืชตระกูลไม้พุ่ม ประมาณ 6 ไร่ เช่น ไผ่

                             3) ปลูกไม้ล้อม ไม้ประดับ จำนวน 1 ไร่ เช่น ต้นชมพูพานทิพย์

                             4) ปลูกผลไม้ ประมาณ 2 งาน เช่น มะละกอ

 

 

 

                   2.2.  การคัดเลือกต้นกล้า/พันธุ์ไม้

                             การทำการเกษตรผสมผสานแปลงนี้ จะเลือกปลูกพืช ผลไม้ และต้นไม้ที่มีอายุการเพาะปลูก และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ตั้งแต่ 6 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน สามารถทำให้มีรายได้สม่ำเสมอ และจะทำการเลือกปลูกพืชผักที่มีราคาค่อนข้างที่จะไม่ลงมาก อยู่ระดับกลางๆ   

2.3.  การดูแลรักษา

                             1) การใส่ปุ๋ย  จะใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กันไป แต่ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีค่อนข้างจะน้อยกว่าการทำนา ทำให้ใช้เงินลงทุนต่ำ คุณภาพดินก็ไม่เสื่อมไว เพราะใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ช่วยปรับสภาพดินควบคู่กันไป

                             2) การให้น้ำ  เป็นสิ่งสำคัญ เพราะตะไคร้เป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่อย่าให้น้ำขัง

                   2.4  การเก็บเกี่ยว

                             1) ตะไคร้ และมะละกอ สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากการปลูก 6-8 เดือน

                             2) ไผ่ลืมแล้ง  สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากการปลูก 12 เดือน

                             3) ต้นชมพูพานทิพย์ สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากการปลูก 8-12 เดือน

ข้อพึงระวัง ->

1) ต้องทำการศึกษาว่าเราควรปลูกอะไร ช่วงเวลาไหน ที่สามารถขายได้ราคาดี

2) มีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน

 3) คุณภาพดินเป็นสิ่งสำคัญ ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้าช่วย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา