ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นายท่อน บุญพามา วันที่ : 2017-03-31-11:08:42

ที่อยู่ : 10 ม.3 ต.ศรีสำราญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้รับงบประมาณโครงการ 250,000 บาทจากรัฐบาลมาทำการเพาะเห็ด

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านรายได้

         2. เพื่อลดการพึ่งพาด้านเงินทุน ปัจจัยการผลิต และอาหารจากภายนอก

          3.  สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้

          4. เกิดอาชีพในชุมชนความเป็นอิสระในการดำรงชีวิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า

อุปกรณ์ ->

โรงเรือน  ระบบน้ำรดเห้ด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ารเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า

        หลังจากที่ได้เราทำการบ่มเชื้อเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นช่วงระยะเวลาของการเปิดดอกและทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพออากาศไม่ร้อนมาก เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืนก็จะออกดอกได้ดี เทคนิคที่ทำให้ออกดอกสม่ำเสมอและดอกใหญ่สามารถทำได้ดังนี้  เมื่อเก็บดอกเสร็จต้องทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อโดยเขี่ยเศษเห็ดออกให้หมด งดให้น้ำสัก 3 วัน เพื่อให้เชื้อฟักตัวแล้วก็กลับมาให้น้ำอีกตามปกติเห็ดก็จะเกิดเยอะเหมือนเดิมหรือเมื่อเก็บดอกเห็ดเสร็จก็ทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อเหมือนเดิม แล้วรัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้าทิ้งระยะเวลาประมาณ 2 – 3 วัน ให้น้ำปกติหลังจากนั้นก็เปิดปากถุงก็จะเกิดดอกที่สม่ำเสมอเป็นการเหนี่ยวนำให้ออกดอกพร้อมกัน เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้ว ให้เก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อ โยกซ้ายขวา-บนล่าง แล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ปากถุงเห็ดบาน ถ้าดอกเห็นโคนขาดติดอยู่ให้แคะออกทิ้งให้สะอาดเพื่อป้องกันการเน่าเสีย เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอนจากการวางไข่ของแมลงได้ การดูลักษณะดอกเห็ดที่ควรเก็บ คือดอกไม่แก่ หรืออ่อนจนเกินไป ดูที่ขอบดอกยังงุ้มอยู่คือดอกที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยว ถ้าขอบยกขึ้นแสดงว่าแก่แล้ว ดอกเห็ดที่แก่จัด และออกสปอร์เป็นผงขาวด้านหลังดอกเห็ด ต้องรีบเก็บออก เพราะสปอร์จะเป็นตัวชักนำให้แมลงเข้ามาในโรงเรือนเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าได้

ข้อพึงระวัง ->

ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า

เราสามารถวิเคราะห์ปัญหาในการเพาะเห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้าออกมาได้ 7 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

1. เชื้อในถุงไม่เดิน 
สาเหตุ ขณะหยอดเชื้อถุงก้อนเชื้อร้อนเกิน เชื้ออ่อนแอเกินไป และลืมหยอดเชื้อ
วิธีแก้ไข ตั้งก้อนเชื้อให้เย็นอย่างน้อย 24 ชั่งโมง คัดเชื้ออ่อนแอทิ้ง ก่อนหยอดเชื้อ ขณะหยอดเชื้อต้องมีสติ และสมาธิแน่นแน่

2. หนอนแมลงหวี่กินเส้นใย 
สาเหตุ แมลงหวี่ไข่ไว้ที่ฝาจุกหรือสำลี
วิธีแก้ไข ตรวจสอบสุขภาพอนามัยของโรงเรือน จุก สำลี ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ สำลีต้องอุดให้แน่น ปิดกระดาษให้สนิทอย่าให้มีช่อง

3. เชื้อเดิน แต่หยุด มีกลิ่นบูด มีน้ำเมือก มีสีเหลือง เขียว หรือสีดำ 
สาเหตุ มีราหรือแบคทีเรียปนเปื้อน นึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด นึ่งฆ่าเชื้อดีแต่กระบวนการลดความร้อนและเปิดหม้อนึ่งไม่ถูกต้อง เชื้อเห็ดที่ใช้ไม่มีคุณภาพ วิธีการหยอดเชื้อไม่ดี บ่มถุงก้อนเชื้อหนาแน่นเกินไปทำให้การระบายอากาศไม่ดี มีคาร์บอนไดออกไซค์มาก
วิธีแก้ไข ให้ทบทวนสาเหตุหลักของการปนเปื้อน ตรวจกระบวนการนึ่ง เรื่อง เวลา อุณหภูมิ จำนวนก้อน ไล่อากาศในหม้อนึ่ง ค่อยๆลดความร้อน อย่าเปิดหม้อนึ่งอย่ารวดเร็ว ตรวจดูจุกสำลีว่าแน่นหรือไม่ ใช้เชื้อเห็ดที่บริสุทธิ์ อบรมวิธีการปลอดเชื้อ และปรับปรุงวิธีทำงาน ห้องบ่มเชื้อควรมีอุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส ปรับปรุงเรื่องสุขอนามัยฟาร์ม

4. เชื้อเดินเต็มก้อน แต่ไม่ออกดอก
สาเหตุ เชื้อเป็นหมัน เชื้อไม่ดี สภาพแวดล้อมในโรงเรือนไม่เหมาะสม มีสิ่งปนเปื้อน เช่น รา ไร แบคทีเรีย หนอน และมีการใช้สารเคมีมากเกินไป
วิธีแก้ไข จัดหาเชื้อใหม่ จัดสภาพในโรงเรือนให้เหมาะสม จัดสุขอนามัยฟาร์ม แสง อุณหภูมิ ความชื้น การถ่ายเทอากาศ และไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลง

5. เกิดดอกเห็ดแต่ก้านยาวหมวกดอกไม่แผ่ออก
สาเหตุ แสงไม่เพียงพอและมีคาร์บอนไดออกไซค์มากเกินไป
วิธีแก้ไข ปรับแสงให้มากขึ้น จัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น

6. เกิดหน่อมากแต่ดอกกลับเติบโตน้อย
สาเหตุ เชื้ออ่อนแอ เงื่อนไขเหมาะแก่การเกิดหน่อ ไม่เหมาะแก่การพัฒนาของดอก ขาดออกซิเจนและแสง อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอหรือไม่มีคุณภาพ เชื้อที่ใช้ไม่ดี มีคุณภาพต่ำ มีจุลินทรีย์ต่างๆรบกวน การถ่ายเทอากาศไม่ดี ความชื้นสูงเกินไปและรดน้ำมากเกินไป เกิดจากการใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอก
การแก้ไข เปลี่ยนเชื้อใหม่ ปรับเงื่อนไขของการเกิดดอก เพิ่มการถ่ายเทอากาศ เพิ่มช่องแสง
ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ ใช้เชื้อที่มีอัตราการเดินเส้นใยดี ปรับโรงเรือนไม่ให้เหมาะกับจุลินทรีย์ เพิ่มการถ่ายเทอากาศ ลดความชื้นลง ควรเลิกใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอก

7. เกิดดอกเพียงรุ่นเดียวรุ่นต่อไปไม่เกิด
สาเหตุ อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ เกิดการปนเปื้อน การจัดโรงเรือนไม่ดี เชื้อไม่ดี
การแก้ไข ปรับสูตรอาหารใหม่ จัดการเรื่องสุขอนามัยฟาร์ม ปรับเรื่องแสง อุณหภูมิ ความชื้น ขูดลอกผิวส่วนที่ปากถุงออก ปรับปรุงวิธีการจัดการและเอาใจใส่มากขึ้น เปลี่ยนเชื้อใหม่ 
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา