ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เจียรไนพลอย

โดย : นางคำผิว บัวบาน วันที่ : 2017-03-31-10:45:28

ที่อยู่ : 48 ม.9 ต.บุสูง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้ไปทำงานอยู่โรงงานเจียรไนพลอย และมีฝีมือในการเจียรไนพลอย พอกลับมาอยู่บ้านจึงเอาวิชาความรู้มาทำที่บ้านเพื่อหารายได้เสริม

วัตถุประสงค์ ->

          1.เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านรายได้

         2. เพื่อลดการพึ่งพาด้านเงินทุน ปัจจัยการผลิต และอาหารจากภายนอก

          3.  สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้

          4. เกิดอาชีพในชุมชนความเป็นอิสระในการดำรงชีวิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พลอย

อุปกรณ์ ->

เครื่องเจียรพลอย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ 1 แสดงด้านหน้าและด้านหลังของพลอยดิบ rhodolite garmet หมายเหตุ รูปทรงของเม็ดพลอยดิบให้รูปทรงเบื้องต้น pre-formed กับพลอยทรงรูปไข่ (Oval Shape) ในขั้นตอนแรกของการเจียระไนคือการขึ้นรูป (pre-formed) ให้เม็ดพลอยดิบเข้ารูปทรงไข่ก่อน

ขั้นตอนที่ 2 แสดงจุดที่เป็นมลทิน (inclusion) ที่เป็นจุดสีเหลือง yellow spot บริเวณส่วนกลางของเม็ดพลอยดิบ จุดมลทินนี้จะต้องเจียรออกในระหว่างขั้นตอนการเจียระไน การขึ้นรูป (pre-formed) เจียระไนให้ได้รูปทรงสันฐานของเม็ดอัญมณีที่ จานหินเจียระไนที่ขนาดทรายหยาบ lap 260 grit ที่ใช้เจียระไนของเพชร โดยกดหน้าสัมผัส ลงบนจาน (lap) ที่หมุนที่ความเร็วสูง การให้น้ำบริเวณที่หน้าสัมผัสจะทำให้การเจียระไนมีประสิทธิภาพ และลดอุณหภูมิ ที่เกิดในเม็ดพลอย

ขั้นตอนที่ 3 จะเห็นรูปทรง pre-formed ของการขึ้นรูป ต้องเข้าใจว่ารูปทรงยังไม่สมบูรณ์แบบ มีบางส่วนของเม็ดพลอยยังมีพื้นที่กว้างและลาดชัน บริเวณนี้จะถูกออกแบบให้เป็นหน้ากระดาน (Table) ซึ่งสองจุดนี้จะได้รับการเอาใจใส่ในขั้นตอนการเจียรtไนต่อไป

ขั้นตอนที่ 4  การเตรียมไม้โกรน โดยการเผา wax และปลายไม้โกลน (dip stick) ให้ร้อนเพื่อนำเม็ดพลอยมาติดที่ปลายไม้โกรน เม็ดพลอยก็ต้องเผาให้ร้อนเช่นกัน เพื่อให้เม็ดพลอยสามารถติดแน่นกับ wax ปลายไม้โกลน และต้องคอยหมุนเม็ดพลอยในการให้ความร้อน เพราะถ้าเผาจุดใดจุดหนึ่งนานเกินไปอาจเป็นเหตุให้พลอยร้าวแตกได้ง่าย

ขั้นตอนที่ 5  เจียระไนให้ได้รูปทรงดูสม่ำเสมอรอบเม็ด เพื่อให้การเจียระไนสะดวกขึ้น ได้เปลี่ยนจานเจียระไนจากชนิดทรายหยาบ lap 260 grit เป็นทรายละเอียด lap 600 grit เพื่อชลอการเจียระไน ทำให้สามารถควบคุมอัตราการสึกของหน้าพลอยได้ดีมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 6 ใช้ Adapter dop 45 องศามาติดตั้งบนเครื่อง เจียระไน MDR แท่ง Adapter dop นี้จะใช้เจียระไนที่ 90 องศาของหน้ากระดาน (Table) ช่างเจียระไนจะต้องตั้งแท่ง dop นี้ยึดกับพลอย garmet ให้เอียง 45 องศา แล้วจับแท่งให้เอียง 45 องศากับจานเจียระไน ทั้งสองมุมรวมกันก็จะได้ 90 องศา และทำให้ได้หน้าเจียระไนที่แบนราบของหน้ากระดาน (Table)

ขั้นตอนที่ 7 แสดงหน้ากระดาน (Table) ที่เจียระไนเสร็จ ข้อสังเกตุ จะเห็นได้ว่าด้านล่างขวาของหน้ากระดาน (Table) ยังไม่เรียบมากนัก จุดนี้จะถูกเจียระไนออกไปในขั้นตอนการสร้างหน้าเจียระไนของเหลี่ยมต่างๆขณะเจียระไนส่วนของ Crown

ขั้นตอนที่ 8 ขั้นตอนนี้ของการเจียระไน คือ การสร้างหน้าเจียระไนเหลี่ยมต่างๆของ crown ขั้นตอนนี้จะถอด adapter 45 องศาออก ติดตั้งกับ

ไม้โกรน (dop) เข้าไปกับเครื่องเจียระไน มุมของไม้โกรน (dop) เปลี่ยนเป็นมุมของหน้าเหลี่ยม crown สำหรับบริเวณเหลี่ยมสุดท้ายของรูปไข่เพื่อให้แนวขอบ girdle ได้ระดับ

ขั้นตอนที่ 9 แสดงหน้า star facets หลังเจียรไนเพิ่มเข้าไป

ขั้นตอนที่ 10  เป็นภาพแสดงหน้าของ garmet ก่อนทำการขัด polishing ข้อสังเกตุ ขอบของหน้าเจียรไนแต่ละหน้ายังไม่สัมผัสกันดีนัก จุดเหล่านี้จะถูกปรับแต่งขณะทำขั้นตอนการขัดผิวของ crown ด้วยการที่เราเผื่อเหลือผิวไว้ในขั้นตอนการเจียรไนทำให้เรามีพื้นที่เพียงพอ ที่จะขัดผิวและส่วนใหญ่ขั้นตอนขัดผิวจะทำให้ขอบของแต่ละหน้าเหลี่ยมเจียรไน มาชนกันอย่างสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 11 แสดงผิวหน้ากระดาน (Table) อีกครั้งที่เรานำเอา adapter dop 45 องศามาติดตั้งกับแกนไม้โกรน (dop) แทนที่จะใช้จานหินเจียรทรายขนาด 600 grit diamond lap เรานำจานหินเจียระไนทองแดง กับกากเพชรขนาด 50k มาใช้แทน ขั้นตอนการขัดจะอยู่ที่การใช้จานหินเจียระไนที่เป็นทองแดงหรือเซรามิก และทุกหน้าเหลี่ยมเจียระไนของพลอย จะมีเหตุผลในตัวมันเองว่าควรใช้จานเจียระไนแบบใหน

นตอนที่ 12 หลังจากขัดผิวหน้ากระดาน (Table) ขั้นตอนต่อไปคือการขัดผิวส่วนที่เป็น main crown facets ภาพนี้แสดงหลังการขัดหน้าเจียระไน main crown facets ด้วยจานเจียระไนทองแดงกับผงกากเพชรเบอร์ 50k

ขั้นตอนที่ 13 แสดงหน้าเหลี่ยมเจียรไนของ star facets หลังการขัดผิว แต่จุดสัมผัสกับ main facets ยังไม่สมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 14 ขอบผิวของ girdle จะเป็นชุดสุดท้ายที่จะทำการขัดผิว ก่อนที่จะทำการเจียระไนหน้าเหลี่ยมของ pavilion แสดง crown facets หลังจากองค์ประกอบของ crown ทั้งสามระดับได้ทำการขัดผิวแล้วเสร็จ

ขั้้นตอนที่ 15 การขัดขอบ girdle เป็นขั้นตอนท้ายสุดของการขัดหน้าเจียระไนต่างๆ ของ crown การใช้สารช่วยขัดก็แตกต่างกัน แทนที่จะใช้เป็นลักษณะผง ก็มาใช้เป็นแบบแป้งเปียกผสมกากเพชร 8k ผมสามารถขัด girdle ได้หลังจากขอบ outlined 

ขั้นตอนที่ 16 แสดงส่วนที่เป็น pavilion ของเม็ดอัญมณีหลังจากย้ายเม็ดอัญมณีจากโกรน dop อันเดิมมาเป็นโกรน dop อันใหม่ที่จะใช้เพื่อเจียรไนหน้า pavilion 

ขั้นตอนที่ 17 แสดงผิวสี่ด้านจากยอดแหลมของ pavilion ที่ขัดผิวบนจานเจียระไนทองแดงกับกากเพชรเบอร์ 50k เสร็จแล้ว

ขั้นตอนที่ 18 ภาพแสดง pavilion ที่ขัดแล้วเสร็จทุกหน้าแสดงทุกผิวสัมผัสได้อย่างสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 19 ภาพนี้แสดง gamet น้ำหนัก 4.98 cts ที่จัดทำเป็นเม็ดพลอยเสร็จเรียบร้อย น้ำหนักของเม็ดพลอยสำเร็จทำให้ได้ yield 37.44% จากอัญมณีพลอยดิบขนาดน้ำหนัก 13.30 cts

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา