ความรู้สัมมาชีพชุมชน

น้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายประสงค์ พระทัศน์ วันที่ : 2017-03-31-10:12:07

ที่อยู่ : 18/2 หมู่ที่ 5 บ้านสะเดาตะวันตก ตำบลสะเดาใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่นผักต่าง ๆ  และผักสะเดา    จุรินทรีย์  EM    และกากน้ำตาล นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ดังนั้นการเอา จุรินทรีย์ EM   มาช่วยในการเร่ง   ปฏิกิริยาการย่อยสลายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เหลือใช้ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตการเกษตร   ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศที่มีราคาสูง   ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเรียนรู้และศึกษาวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

2.เพื่อเป็นแนวทางในการแนะนำเกษตรกรให้หันมาใช้สารที่ผลิตจากธรรมชาติ

3.เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืชและผัก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม เช่น ฟักทอง(เอาทั้งเมล็ด), กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, สับปะรด(เอาทั้งเปลือก) น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนดที่ไม่ผ่านการฟอกสีหรือเจือปนด้วยน้ำยากันเสีย หรือใช้กากน้ำตาล

อุปกรณ์ ->

ถังน้ำ ขนาดลิตร  16 ลิตร

หัวเชื้อ  (EM)

กากน้ำตาล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน
          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย
           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้
           ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย
           ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช          

ข้อพึงระวัง ->

1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้น สูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้
           2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที
           3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
           4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา