ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงกบในกระชัง

โดย : นายนพรัตน์ ทองดี วันที่ : 2017-04-02-06:34:51

ที่อยู่ : ๓๕ ม.๑๓ ต.ดู่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาหลายปี แต่ก็ยังมีหนี้สินที่เพิ่มขึ้น จึงหันมาทำเกษตรผสมผสาน โดยได้รับการฝึกอบรมให้ความรู้จากหน่วยงานราชการต่างๆ ตนจึงปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ สัตว์ชนิดหนึ่งที่สนใจเป็นพิเศษคือการเลี้ยงกบในกระชัง 

วัตถุประสงค์ ->

๑.เพื่อเลี้ยงกบไว้บริโภคในครัวเรือน

๒.เพื่อสร้างรายได้จากการขายกบ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑.ลูกอ๊อด/ลูกกบ

๒.อาหารกบ

 

อุปกรณ์ ->

๑.กระชังสำเร็จรูป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ลักษณะบ่อดินเพื่อใช้เลี้ยงกบในกระชัง
• ขุดบ่อดินขาดประมาณ 35 x 20 เมตรขึ้นไป ลึก 80 – 100 เซนติเมตร            ไว้หลายๆบ่อ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่เป็นทุ่งนามาก่อน
• นำกระชังเลี้ยงกบสำเร็จรูป(ใช้เครื่องจักรเย็บกระชัง จะทนทานกว่าใช้มือเย็บเอง) โดยกระชังที่นิยมที่สุดคือ ขนาด 3 x 4 เมตร ซึ่งจะใส่กบได้ประมาณ 1,200 – 2,500 ตัว/กระชัง
• สูบน้ำเข้าบ่อประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำกระชังขึงด้วยไม้ไผ่
• ด้านบนปิดด้วยตาข่าย กันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสงและกันฝน กันกบตกใจ
• ปกติถ้าน้ำดีๆจะถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน ก็ได้ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมากนัก

 

ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่ทุ่งไร่ ทุ่งนาได้ดีมากๆ
2. อายุการใช้งานของกระชังเฉลี่ย 2 – 3 ปี ต่อกระชัง เงินลงทุนกระชังละไม่เกิน 600 บาท/กระชัง
3. เปลี่ยนถ่ายน้ำได้บ่อยๆ และง่าย รวดเร็ว กว่าแบบอื่นๆมาก ถ้ามีน้ำคลองสามารถเปิดให้ไหลผ่านหมุนเวียนได้ตลอด จะดีที่สุด กบจะไม่มีโรค และไม่เปลืองค่ายารักษาโรค
4. ให้อาหารง่าย ไม่เปลืองอาหารมากนัก เหมือนๆกับการเลี้ยงในบ่อปูน
5. ควบคุมดูแลโรคได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ เหมือนๆกับการเลี้ยงในบ่อปูน แต่ด้อยกว่าเล็กน้อย
6. เป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ได้อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุดอีกแบบหนึ่ง
7. สามารถจับกบขายได้ตลอดเวลา
8. กบไม่มีกลิ่นอับติดตัว เพราะเลี้ยงใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด
9. กบมีพยาธิน้อยเพราะไม่ได้สัมผัสดิน โคลนโดยตรง
10. จำนวนกบที่รอดชีวิตจนจับขายได้ มีสูงกว่าบ่อดินธรรมดามาก

 

ข้อพึงระวัง ->

ต้องระวังสัตว์ที่จะมากินกบ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา