ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกชะอมไร้หนาม

โดย : นางสาวผกามาศ คำใย วันที่ : 2017-03-30-23:29:55

ที่อยู่ : 12 หมู่ที่ 22 ตำบลบักดอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน

2. เพื่อให้มีอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับตนเอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.กิ่งชะอมไร้หนาม

อุปกรณ์ ->

1.กรรไกร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถพรวน ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ หลังจากนั้นขุดหลุมปลูกให้มีความกว้าง ยาวและลึกประมาณ 20 เซนติเมตร โดยทั่วไปชะอมไร้หนามสามารถปลูกได้กับดินทุกประเภท แต่หากเป็นดินเหนียว ในช่วงแรกควรทำให้ดินละเอียดก่อนเพื่อให้รากเดินได้สะดวกพอ ต้นเริ่มโตรากก็จะเดินได้ดี จะทำให้ต้นแข็งแรงขึ้น

2. ผสมดินที่ขุดมาจากหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 2 กำมือ และคลุกเคล้าปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ลงไปอัตรา 1 ช้อนแกง ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1 คูณ 1  เมตร ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกต้นชะอมไร้หนามได้ประมาณ 1,600 ต้น

3. หลังจากที่ขุดหลุมปลูกและผสมปุ๋ยเสร็จเรียบร้อย นำกิ่งตอนชะอมไร้หนามที่เตรียมไว้แช่น้ำพอชุ่มแล้วแกะถุงพลาสติกที่หุ้มรากออก จากนั้นรองก้นหลุมด้วยฟูราดาน เพื่อป้องกันปลวก โดยใช้โรยที่ก้นหลุมเพียงเล็กน้อยไม่เกินครึ่งช้อนชาค่ะ (ไม่ควรใส่เยอะเกินไป) แล้วโรยดินกลบฟูราดานอีกเพียงเล็กน้อย

4. ปักกิ่งชะอมให้อยู่ส่วนกลางของหลุม หลบดินและอักแน่น รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็จะเริ่มแตกยอด

ข้อพึงระวัง ->

การระบาดของหนอนและด้วงกินใบชะอม ถ้าพบไม่มากจะใช้วิธีจับทำลาย แต่ถ้าพบมากและมีความจำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นสารฆ่าแมลงจะเลือกใช้สารกำจัดแมลงที่ผลิตจากสมุนไพร ในแต่ละปีจะมีการฉีดสารฆ่าแมลงเพียงไม่กี่ครั้ง โดยหลังจากฉีดพ่นสารฆ่าแมลงไปจะต้องเว้นระยะของการเก็บยอดอย่างน้อย 10-15 วัน ในรอบปีจะมีการใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อย 1 ครั้งและจะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) อย่างน้อย 3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง เพื่อช่วยบำรุงต้นชะอมไร้หนามให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ในกรณีที่ต้นชะอมไร้หนามที่มีอายุมากและมีความสูงของต้นมาก แนะนำให้ตัดต้นเหลือเพียงตอเพื่อให้มีการแตกพุ่มใหม่เหมือนกับการทำสาวของต้นผลไม้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องรื้อถอนต้นทิ้งหรือปลูกใหม่

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา