ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนา ปลูกผัก เศรษฐกิจพอเพียง

โดย : นางจิตรอาภา สวัสดี วันที่ : 2017-03-30-17:50:14

ที่อยู่ : 19/1 หมู่ 6 บ้านปุน ตำบลไพร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากเกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน หลังจากที่เรียนจบ ชั้น ป. ๖ ก็ไม่ได้ไปเรียนต่อก็ได้ทำไร่ทำนา กับพ่อ แม่ จนกระทั่งแต่งงานได้ พาครอบครัว มาอยู่กิน กับ พ่อแม่ ท่านได้แบ่งที่นาให้ทำเอง เกิดความคิดจากเดิม มีที่นา แค่ ๑๒ ไร่ ทำนาทั้งปี ได้ ๘๐ กระสอบ จึงได้คิดค้นการทำนาที่ได้ผลผลิต สูงกว่านี้  เพราะถ้าทำนาแบบนี้ คงไม่พ้นการทำนาขาดทุน ทั้งค่าปุ๋ย ค่าไถนา ค่าจ้างแรงงาน ต่างๆ บางปี ต้องกู้หนี้ยืมสิน หนำซ้ำยังทำนาขาดทุน จึงได้เปลี่ยนเป็นการเกษตรแบบผสมผสาน หลังจากหมดฤดูทำนา ก็ปลูกแตงโม ปลูกถั่ว ปลูกพริก ไว้กิน แบ่งปันญาติพี่น้อง แบ่งปันเพื่อนบ้าน บางปีที่ได้ผลผลิตเยอะ ก็ได้นำมาขาย  เพราะว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูงที่มีการแข่งขันสูงขอคำปรึกษาจากทางเกษตรอำเภอเพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนาการปลูกพืชผักต่างๆ เป็นคนที่มีความเพียรมานะอยู่เสมอ

วัตถุประสงค์ ->

1.      เพื่อร่วมกันวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในสถานภาพชาวนาไทย  สถานการณ์การผลิต และการค้าข้าวของไทย อันอาจนำมาซึ่งภาวะวิกฤตต่ออาชีพชาวนาไทย

2.      เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทาง แก้ไขวิกฤตอาชีพชาวนาไทยและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน  มีนโยบายสนับสนุนอาชีพชาวนาอย่างจริงจัง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปุ๋ย  น้ำ  เมล็ดข้าว

อุปกรณ์ ->

 1. เมล็ดพันธ์                                                                                          2. การใส่ปุ๋ย                                                                                          3. การควบคุมวัชพืช      

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการทำนา

(๑)    การเตรียมดิน  ไถกลบเพื่อให้ตอซังข้าวเป็นปุ๋ย

(๒)    แช่ข้าวเปลือก เพื่อตกกล้า ก่อนนำไปปักดำ ต้นกล้าจะได้มีความแข็งแรง

(๓)    ไถนาดำ คือการไถนา และคราดนา เพื่อที่จะเอาต้นกล้าที่ตกไว้ มาปักดำ

(๔)    การปักดำ ใช้ต้นกล้าที่มีอายุ ประมาณ ๒๕ วัน ดำในแปลงที่ที่ไถคราด เว้นระยะห่างแต่ละต้น ๒๐ เซนติเมตร เพื่อให้ต้นข้าวได้แตกกอ

(๕)    หว่านปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ของต้นข้าว

(๖)    กำจัดวัชพืช กำจัดหญ้าในนาข้าวเพราะต้นหญ้าจะมาแยกสารอาหารในดิน ของต้นข้าว

(๗)    ทิ้งระยะห่างของการทำนา ประมาณ ๔-๕ เดือน ต้นกล้าก็จะออกรวง พร้อมเก็บเกี่ยว

(๘)    การเกี่ยวข้าว จะเกี่ยวโดยใช้เคียว ตัดช่วง ครึ่งลำต้นเพื่อให้เหลือพื้นที่ในการนไปมัดรวมกัน

(๙)    การนวดข้าว เป็นการเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง แล้วนำไปตากที่ลานเพื่อให้ข้าวไม่มีความชื้น แล้วนำไปเก็บในยุ้งฉางข้าว

ข้อพึงระวัง ->

หากเมล็ดข้าว ไม่แห้งสนิท มีความชื้น อาจทำให้เมล็ดข้าวเกิดเชื้อรา ได้ ในขั้นตอนการตากนี้ จึงควรมีความเชี่ยวชาญมากกว่าทุกๆขั้นตอน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา