ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายอาทิตย์ เสนบุญมี วันที่ : 2017-03-30-11:13:41

ที่อยู่ : 51 หมู่ที่ 9 ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรง

เป็นแบบอย่างที่ดี  ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ จึงได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติใช้จากที่เมื่อก่อนทำนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ต้องประสบปัญหาผลผลิตที่ได้ไม่พอค่าใช้จ่าย จึงได้หันมาทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม จนปลดหนี้ได้ และยังมีรายได้ตลอดทั้งปี

วัตถุประสงค์ ->

1.       เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำริในเรื่อง ทฤษฎี "อยู่อย่างพอเพียง"  มาปฏิบัติใช้จริง โดยทำไร่นาสวนผสมในพื้นที่

2.       เพื่อความยั่งยืน มั่นคง แบบพอเพียงของชีวิตและครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.    เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ เพื่อทำนาปลูกข้าว
2.    เมล็ดพันธุ์พืชผัก ผลไม้ เช่น ผักบุ้ง ผักกาด  ผักคะน้า  กระเพรา  โหระพา  สะระแหน่ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว มะพร้าว มะม่วง มะละกอ ฯลฯ
3.    พันธุ์ปลา กบ เช่น ปลาดุก ปลานิล  ปลาช่อน กบ  ฯลฯ
4.    ไก่, เปิด, หมู ฯลฯ
5.    ไม้ สำหรับทำรั้ว /โรงเรือน คอกเป็ด ไก่ หมู

อุปกรณ์ ->

1.       เครื่องสูบน้ำ

2.       เครื่องตัดหญ้า

3.       ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

4.       เครื่องพ่นปุ๋ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน ก่อนอื่นต้องดูสภาพดินก่อน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สภาพดินเหมาะกับการปลูกพืชอะไรได้บ้าง การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เมื่อรู้แล้วว่าจะปลูกพืชอะไร ก็ดูว่า สัตว์ที่จะเลี้ยงนั้น เอื้อประโยชน์กับพืชที่ปลูกอย่างไรบ้าง ใช้เป็นอาหารหรือใช้ประโยชน์อะไรจากพืชและสัตว์ มีการเอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างไร หลักการพื้นฐานของระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสาน ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นการผสมผสานที่ดี โดยการทำการเกษตรทั้งสองกิจกรรมนั้น ต้องทำในพื้นที่และระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมการเกษตรควรประกอบไปด้วยการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามอาจสามารถผสมผสานระหว่างการปลูกพืชต่างชนิด หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างชนิดกันก็ได้ ในการจัดการกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร ให้มีการผสมผสานเกื้อกูลกัน อย่างได้ประโยชน์สูงสุดนั้นควรจะมีกิจกรรมหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ร่วมกันไปด้วย เนื่องจากพืชและสัตว์ มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีห่วงโซ่ความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกันอยู่ พืชโดยทั่วไปมีหน้าที่และบทบาทในการดึงเอาแร่ธาตุในดิน อากาศ และพลังงานจากแสงแดดมาสังเคราะห์ให้อยู่ในรูปของอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ ที่สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับสัตว์นั้น สัตว์ไม่สามารถบริโภคอากาศและแร่ธาตุที่จำเป็นโดยตรง แต่จะต้องบริโภคอาหารจากพืชอีกต่อหนึ่ง เมื่อสัตว์นั้นขับถ่ายของเสีย หรือตายลงก็จะเน่าเปื่อยย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับพืช

ข้อพึงระวัง ->

การเกิดโรคระบาดดของแต่ละชนิดพืชที่ปลูก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา