ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสานกระติบข้าว

โดย : นายสมพงษ์ ผามณี วันที่ : 2017-03-29-16:47:42

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระติบข้าว คือ ภาชนะในการเก็บอาหารที่เป็นงานหัตถกรรมอันทรงคุณค่าชนิดหนึ่งที่มากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นของที่มีประจำบ้านของชาวไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมายาวนาน กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้ กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียวทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะไม่ติดมือ พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง

วัตถุประสงค์ ->

 

              1) ใช้สำหรับบรรจุข้าวเหนียว

              2) เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

              3) อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

    1. ไม้ไผ่บ้าน  

    2. ด้ายไนล่อน 

    3. ก้านตาล

อุปกรณ์ ->

 

    1. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่   

    2. กรรไกร 

    3. มีดโต้

    4. เลื่อย 

    5. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)    

    6. เครื่องขูดตอก   

    7. เครื่องกรอด้าย 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

           กระติบข้าวสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง เช่น ใบจาก ใบตาล ใบลาน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้ทำมาก และมีคุณภาพดีที่สุด ต้องทำจากไม้ไผ่  ไม้ไผ่มีหลายชนิด แต่ละชนิด เหมาะกับงานแต่ละอย่าง และไม้ไผ่ที่นิยมนำมาทำกระติบข้าว คือไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่ใหญ่ อายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี เพราะมีปล้องใหญ่และปล้องยาว เนื้อไม้เหนียวกำลังดี ไม่เปราะง่าย ทำเป็นเส้นตอกสวย ขาว 

 

 

           ขั้นตอนการสานกระติบข้าว 

           1.นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ 2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง 

             2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน 

              3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา 

              4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด 

               5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง  

              6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย 

              7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว 

               8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ

               9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ

บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม 

                       10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน

ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้

                       11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้ 

ข้อพึงระวัง ->

 ควรใช้ไม้ไผ่บ้าน และการจักตอก ต้องมีขนาดความกว้าง ความยาวให้เท่า ๆ กันทุกเส้น 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา