ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสานสุ่มไก่

โดย : นายดำรง ธรรมชาติ วันที่ : 2017-03-29-16:24:34

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 48/1 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

   สุ่มไก่เป็นเครื่องมือจักรสานไม้ไผ่สำหรับขังไก่หรือสัตว์อื่นๆ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ก่อเกิดและสืบทอดในชุมชนมาเป็นเวลาช้านานเมื่อชุมชนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นก็มีเปลี่ยนและการปรับตัวเช่นเดียวกันความรู้ภูมิปัญญาจำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอดหรือถ่ายทอดต่อคนรุ่นหลัง ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรักษาไว้แต่ในปัจจุบันมีหลายภูมิปัญญาได้จางหายไปบ้างแล้วเราทั้งหลายควรช่วยกันรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกของคนไทยและเป็นการสร้างเสริมกิจกรรม มีรายได้เสริมให้กับครัวเรือนและคนในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ ->

 

              1) ใช้สำหรับการเลี้ยงไก่ (ขัง)

              2) เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

              3) อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

    ไม้ไผ่

อุปกรณ์ ->

 

              1) เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่ เสร็จแล้ว

              2) มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมี    

                  ความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน

              3) ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

         สุ่มไก่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับครอบไก่ขังไก่ จำกัดบริเวณของไก่ นิยมใช้ในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านหรือไก่ชน ราคาของสุ่มแต่ละแห่งก็อาจแตกต่างกันไป จะมากจะน้อยเท่าไรนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลาย อย่าง เช่น วัสดุที่ใช้ทำสุ่ม ขนาด ความปราณีตสวยงาม ความแข็งแรง ระยะทางในการขนส่ง 

              การจักตอกไผ่

   1) ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก

              2) ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ

    3) จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่) ความกว้างของตอก

แต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม.

ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ

              4) ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป

การสานสุ่มไก่

1) เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

2) ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป

3) ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

4) สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น

5) ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

ข้อพึงระวัง ->

 ควรใช้ไม้ไผ่ที่มีปล้องยาว  อายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา