ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกถั่วลิสง

โดย : นายสุนทร ศรีด้วง วันที่ : 2017-03-29-14:08:04

ที่อยู่ : 81 บ้านหนองแลง หมู่ 9 ตำบลรุ่งระวี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

- ต้องการมีอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำนา ที่เป็นอาชีพหลัก

- เพื่อบริโภค/จำหน่าย

วัตถุประสงค์ ->

-          เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้ตลอดปี

-          เพื่อให้ครอบครัวมีพืชผักปลอดภัยบริโภคตลอดปี      

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.       พันธุ์ถั่วลิสง

2.       ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

อุปกรณ์ ->

1.       รถไถ

2.       จอบ,เสียม

3.       อุปกรณ์รดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูก

            การปลูกใช้ระยะระหว่างแถว  30-50  เซนติเมตร  ระยะระหว่างหลุม  20  เซนติเมตรจำนวน  2  ต้นต่อหลุม  หรือในระยะ  1  เมตร  ควรมีจำนวนต้อนกระจายอยู่  10  ต้น   ใช้เมล็ดพันธุ์  20  กิโลกรัม/ไร่  (ทั้งเปลือก)  เมล็ดขนาดใหญ่หรือเล็กสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน  แต่ในขั้นตอนการปลูกควรแยกกลุ่มตามขนาดเมล็ด  โดยกลุ่มที่มีเมล็ดขนาดโตให้ปลูกในกลุ่มเดียวกัน   ส่วนขนาดเมล็ดเล็กถึงปานกลางก็ให้แยกกลุ่ม  เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตในพื้นที่   กลุ่มเมล็ดขนาดเล็กสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดี   เช่นเดียวกับกลุ่มเมล็ดขนาดใหญ่

            การให้น้ำ

            โดยการให้น้ำทุก ๆ  10-15  วัน   อย่าให้ถั่วลิสงขาดน้ำในระยะออกดอก (30-40  วัน  หลังงอก)  และช่วงลงเข็มเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก 

            ในช่วงฤดูฝน  ควรมีแหล่งน้ำ   ที่สามารถช่วยลดความเสียหายหากถั่วลิสงเกิดกระทบแล้ง

            ในช่วงฤดูแล้ง   อาศัยน้ำชลประทาน   ควรควบคุมการให้น้ำอย่าให้แฉะเกินไป   เพราะจะทำให้ถั่วลิสงเจริญเติบโตไม่ดี  และเกิดโรคโคนเน่าได้ง่าย   และอย่าปล่อยให้ถั่วลิสงขาดน้ำจนแสดงอาการใบเหี่ยว   ในการให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำท่วมหลังแปลงปลูก   การให้น้ำปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดถั่วลิสงเจริญเติบโตได้ดีกว่าการให้น้ำครั้งละมาก ๆ  แต่น้อยครั้ง

 

            การกำจัดวัชพืช  และพูนโคน

            กำจัดวัชพืชครั้งแรกที่อายุ  15  วัน  และครั้งที่ 2  ที่อายุ  30  วันหลังงอก  ถ้ายังมีวัชพืชตกค้างในแปลงมากควรมีการกำจัดอีกครั้งเมื่ออายุ  60  วัน  แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือน   ต่อการลงเข็มของต้นถั่ว หรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช  เช่น  อะลาคลอร์   เมโทลาคลอร์   อิมาเซ็ททาเพิร์   แลคโตเฟน   ฮาล๊อคซิฟอพเมทิล  เป็นต้น  การพูนโคนไม่ควรกองดินสูง  ควรพูนโคนเตี้ย ๆ  และให้แผ่กว้างออกจากโคนต้น   ทั้งนี้เนื่องจากการติดฝักไม่ได้กระจายอยู่บริเวณโคน  แต่จะแผ่กระจายออกจากแนวโคนต้นเล็กน้อย

 

            การใส่ปุ๋ย

            ให้ใช้ตามแนะนำทั่วไปในการใส่ปุ๋ยสำหรับถั่วลิสงโดยมีเนื้อธาตุอาหารอัตราต่างๆดังนี้

-          ดินร่วน-ร่วนเหนียว อัตรา3-9-0 กิโลกรัมต่อไร่ของ N-P2O5-K2O

-          ดินร่วนปนทราย อัตรา 3-9-6กิโลกรัมต่อไร่ ของ N-P2O5-K2O หรือปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ

สูตร 15-15-15 อัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ในช่วงพร้อมกับการปลูก หรือหลังงอกไม่เกิน 15-20 วัน  พร้อมกับการกำจัดวัชพืช  โดนโรยปุ๋ยและพรวนคลุกเคล้ากับดินข้างแถวปลูก

หากวิเคราะห์ดินมีค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยตามอัตราแนะนำให้มีเนื้อธาตุ N-P2O5-K2O อัตรา 3-9-0 หรือ3-9-6 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นกับความละเอียดของดิน หากค่าวิเคราะห์อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมไม่มีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม

            สำหรับถั่วลิสงเมล็ดโตหารดินมีค่าแคลเซียมต่ำกว่าระดับ 400 ส่วนต่อล้านส่วน (ppm) ควรใส่

ยิปซั่มในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ช่วงออกดอกแรกหรือถั่วลิสงมีอายุ 30 วัน จะช่วยให้ฝักและเมล็ดสมบูรณ์มากขึ้น ผลผลิตสูงขึ้น

            อย่างไรก็ตามทั้งขนาดเมล็ดและเปอร์เซ็นต์ของเมล็ดขนาดโตพิเศษจะไม่คงที่แต่ขึ้นอยู่กับดินที่ใช้ปลูก ระยะปลูก และความชื้นในดินในระหว่างฤดูปลูกเป็นสำคัญโดยเฉพาะความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการลงเข็มและการติดฝักถั่วลิสง จะทำให้ผลผลิตและคุณภาพทางการค้าของเมล็ดลดลงได้อย่างมากกล่าวคือ เมล็ดลีบก็จะยิ่งมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจากการดูดใช้แคลเซียมในดินของถั่วลิสงถูกจำกัด เนื่องจากความชื้นที่ต่ำเกินไปในช่วงฝนแล้ง เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาผู้ปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกในดินดังกล่าว  หรือควรมีน้ำให้กับถั่วลิสงสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูกหรืออย่างน้อยก็ไม่ควรให้ช่วงเริ่มลงเข็มและติดฝัก

การเก็บเกี่ยว

ควรนับอายุประกอบการสุ่มถอนดูให้ถั่วลิสงมีฝักแก่ประมาณ  80  เปอร์เซ็นต์ของแต่ละต้น

เนื่องจากถั่วลิสงเมล็ดโตพันธุ์ขอนแก่น  60-3  มีขั้วฝักอ่อนสามารถดึงหลุดจากฝักได้ง่าย  ขณะเก็บเกี่ยวหากถอนต้นถั่วลิสงในขณะดินค่อนข้างแข็งหรือปลูกในดินค่อนข้างเหนียว   จะทำให้ฝักขาดในดินได้ง่าย   ดังนั้นควรใช้จอบขุดดินช่วย   จะทำให้ลดการสูญเสียฝักที่ขาดในดินลงได้อย่างมาด   ถั่วบิสงพันธุ์ขอนแก่น  60-3  อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ  110-120  วัน  หรือฝักถั่วแก่  ประมาณ  60-65  เปอร์เซ็นต์   ของแต่ละต้น   สำหรับถั่วลิสงพันธุ์พระราชทานมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ  120  วัน   ถั่วที่ส่งโรงงานกะเทาะหลังปลิดฝักถั่วลิสงแล้วควรตากฝักประมาณ  3-4  แดด   เก็บไว้ในกระสอบป่านรอการจำหน่ายต่อไป   ถ้าจะเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์   ควรจาก  5-7  แดดให้ความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า  9  เปอร์เซ็นต์  และเก็บไว้ในภาชนะที่กันความชื้น

การตาก

ควรตากฝักถั่วลิสงบนตะแกรง  ตาข่าย  แคร่  หรือผ้าใบ   โดยไม่ให้ฝักถั่วลิสงสัมผัสพื้นดิน  และมีความหนาของกองไม่เกิน  5  เซนติเมตร  ควรมีการพลิกกลับกองไม่เกิน  5  เซนติเมตร   ควรมีการพลิกกลับกองถั่วลิสงที่ตาก   ประมาณ  2-3  ครั้งต่อวัน   เพื่อช่วยให้ฝักถั่วลิสงแห้งเร็วขึ้นและแห้งสม่ำเสมอทั้งกอง   ถ้าเป็นช่วงที่มีแดดจัดใช้เวลาตากประมาณ  3-5  วัน   เพื่อลดความชื้นให้ต่ำกว่า  9  เปอร์เซ็นต์

ข้อพึงระวัง ->

โรคโคนเน่าขาด

เชื้อสาเหตุ  เกิดรุนแรงในช่วงต้นกล้า ต้นถั่วลิสงจะเหี่ยวยุบตัวลง โคนต้นเป็นแผลสีน้ำตาลและมีกลุ่ม

สปอร์เชื้อราสีดำขึ้นปกคลุมที่แผล ถ้าถอนขึ้นมาต้นจะขาดออกโดยง่าย ระยะต้นกล้าอายุ 1-4 สัปดาห์จะอ่อนแอต่อโรคมากที่สุด

การป้องกันกำจัดโรค

-          ไม่ปลูกด้วยเมล็ดที่เก็บไว้เก็บนานเกินไป

-          คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยสารเคมี benomyl + mancoceb, carboxin และ tiprodione

-          ไม่เก็บเกี่ยวเมื่อถั่วแก่จัดเกินไป

โรคโคนเน่าขาว (

เชื้อสาเหตุ     เชื้อรา

ลักษณะอาการ  เกิดการเหี่ยวของกิ่ง  ใบย่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียวซีด และเปลี่ยนเป็น

สีตาล  ในที่สุดบริเวณลำต้นที่เชื้อเข้าทำลายจะฉีกและมีเม็ดสีขาวปรากฎอยู่

            สภาพแวดล้อมที่ระบาด   พบมากในสภาพฝนชุก   การปลูกแน่นจนเกินไป  และปลูกซ้ำที่เดิม

แมลงศัตรูที่สำคัญในถั่วลิสง

            เสี้ยนดิน

            เป็นมดชนิดหนึ่งหรือชาวบ้านเรียกว่า  แมงแดง  เกษตรกรถือว่าเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของถั่วลิสง  อาศัยอยู่ในดิน   ทำลายฝักถั่วลิสง โดยการเจาะเปลือกถั่วเป็นรูแล้วกัดกินเม็ดในฝักหลังจากนั้นจะนำดินเข้าไปใส่ไว้ในฝักแทนเมล็ดที่ถูกทำลาย   ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเสี้ยนดินจะทำให้ผลผลิตลดลงมากจนไม่คุ้มทุนที่จะเก็บเกี่ยว

            การตรวจว่าในไร่มีเสี้ยนดินหรือไม่

            ให้ใช้มะพร้าวแก่ผ่าเป็น  2  ซีก   นำมะพร้าวแต่ละซีกไปฝังดินโดยคว่ำมะพร้าว  ลงในดินให้ลึกพอ  ด้านบนอยู่ในระดับผิวดิน   คอยตรวจดูเสี้ยนดินเป็นระยะ ๆ   ถ้าพบเสี้ยนดินขณะถั่วลิสงอยู่ในระยะติดฝักและสร้างเมล็ดควรหาวิธีป้องกันกำจัด

วิธีป้องกันกำจัด

การปลูกถั่วลิสงในที่ดอนซึ่งหาน้ำผสมสารฆ่าแมลงลำบาก   ให้ใช้  carbofuran  อัตรา  200  กรัมเนื้อสารออกฤทธิ์ต่อไร่   โดยโรยข้างแถวพร้อมใส่ปุ๋ยหลังดายหญ้าครั้งที่ 2  หรือเมื่อถั่วลิสงอายุ  30-35  วัน  แล้วกลบโคนหรือแบ่งใส่ 2  ครั้งเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น   โดยครั้งแรกใส่พร้อมปุ๋ยดังกล่าว   ครั้งที่ 2  ใส่เมือ่ถั่วลิสงอายุ  60-65  วัน  หรือใช้  Chlorpyrifos   อัตรา  200  กรัมเนื้อสารออกฤทธิ์ต่อไร่  พ่นลงดินระหว่างแถวถั่วลิสง   พ่นครั้งแรกเมื่อถั่วลิสงอายุ  30-35  วันและพ่นครั้งที่ 2   เมื่อถั่วลิสงอายุ  60-65

เพลี้ยไฟ

ลักษณะอาการ    ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ   ตาดอก   ดอกและยอดอ่อนทำให้ใบหงิกงอ  บิดเบี้ยว  ใบแห้ง  กรอบ  มีลักษณะเหมือนไขติดอยู่เส้นกลางใบเป็นสีน้ำตาล   ถ้าระบาดรุ่นแรงจะทำลายช่อดอก  ทำให้ดอกร่วง  ถ้าระบาดช่วงแล้งทำให้ยอดไหม้และตาย   เป็นพาหะนำโรคยอดไหม้   และโรคใบจุดเหลือง

การป้องกันกำจัด   ใช้สารเคมี  carbofuran   carbosulfan  triazophos  cyhalotrin  imidacloprid  หรือ  acephate

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา