ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์

โดย : นายสุริยา สุริยุทธ วันที่ : 2017-03-29-10:31:39

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 141 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเกษตรปัจจุบันสามารถปรับเปลี่ยนการเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาความรู้จากมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาความรู้จากธรรมชาติ เมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ ในระยะปรับเปลี่ยน เมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับ ประเภทเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิต ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ท่องแท้ มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อถอยต่อปัญหา หรืออุปสรรคใดๆ มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง เมื่อเป็นเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอเอกสารรับรอง มาตรฐานจากภาครัฐ หรือเอกชน จึงจะนับว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์ เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

ข้าวเป็นอาหารหลักที่ต้องบริโภคทุกวัน ควรปลอดสารเคมี เพราะจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย และข้าวอินทรีย์เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด หรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ และปุ๋ยเคมี ในทุกขั้นตอนการผลิต  โดยสามารถใช้วัสดุธรรมชาติ และสารสกัดจากพืชต่าง ๆ    ที่ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพดี จึงเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ปลูกข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์

 

วัตถุประสงค์ ->

2.       

1.      เพื่อให้คนได้บริโภคข้าวที่ดีมีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย

2.      เพื่อลดการใช้สารเคมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

1. เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 และ กข 15

          2. ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

อุปกรณ์ ->

1. รถไถ

2. เครื่องพ่นเมล็ดพันธุ์         

1.      เครื่องพ่นปุ๋ย

2.      ถังน้ำ

ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มี

ความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง  รวมถึงการนำเอา

ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย                    

การเตรียมดินจะขึ้นอยู่กับวิธีปลูกข้าว  ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป  แต่ที่เหมือนกัน  ไถดะทิ้งไป 

7-10  วัน  เพื่อ  1.2  การปักดำ เตรียมแปลงปักดำโดยไถดะ  ทิ้งไว้  7-10  วัน ไถแปร  เอาน้ำเข้า  แช่ขี้ไถ  คราดปรับระดับดิน  และทำเทือกรักษาระดับน้ำในแปลงปักดำประมาณ  5  เซนติเมตรจากผิวดิน  ปักดำโดยใช้ต้นกล้าอายุประมาณ  25 วัน ระยะปักดำ  20x20  เซนติเมตร  จำนวน  3-5  ต้นต่อกอรักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นนากดินและกำจัดวัชพืช  

                   การปักดำ เตรียมแปลงปักดำโดยไถดะ  ทิ้งไว้  7-10  วัน ไถแปร  เอาน้ำเข้า  แช่ขี้ไถคราดปรับระดับดิน  และทำเทือกรักษาระดับน้ำในแปลงปักดำประมาณ  5  เซนติเมตรจากผิวดิน  ปักดำโดยใช้ต้นกล้าอายุประมาณ  25 วัน ระยะปักดำ  20x20  เซนติเมตร  จำนวน  3-5  ต้นต่อกอรักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว  ประมาณ  0-10  เซนติเมตร อย่าปล่อยให้ต้นข้าวขาดน้ำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกำเนิดช่อดอกถึงออกรวง    หลังข้าวกรองออกรวง  80  เปอร์เซ็นแล้วประมาณ  20  วัน  ระบายน้ำออก

ข้อพึงระวัง ->

 ระวังโรคระบาด ไม่ต้านทานโรคไหม้ -ไม่ต้านทานแมลงบั่ว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา