ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านป่าดู่

โดย : นางธัญสิริ บรรลังก์ วันที่ : 2017-03-29-08:39:10

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวังหิน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔ ) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรม  ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม  เป็น ๑ ใน๑๐ ยุทธศาสตร์  การพัฒนาตามแผน และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน ๑๑ ด้าน  ซึ่งเป็นนโยบายด้านการลดความเหลื่อมล้ำของสั่งคมและการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  โดยมีแผนงานที่สำคัญคือแผนการพัฒนาเศรษฐกิจรากฐานและชุมชนเข้มแข็ง  ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย  โดยมีกรมการพัฒนาชุมชน  เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

                        ปัจจุบันสถานการณ์ประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชน มีความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม  ไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิต  มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย  หรือมีแต่ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างพอเพียง ประชาชนเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง  ซึ่งส่วนราชการมีศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพ  แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร  ปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพในหมู่บ้าน  มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นๆปฏิบัติตามให้สำเร็จได้

                        ในปี ๒๕๖๐  กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจ  เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น   โดยมีการสร้างสัมมาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น  โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้  โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ  ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้  จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ ให้กับครัวเรือน  และต่อยอดสู่การรวมกลุ่ม  จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

                อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ  มีพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน จำนวน  26  หมู่บ้าน  บ้านป่าดู่  หมู่ที่ 3  ตำบลทุ่งสว่าง  เป็น 1 ใน 26 หมู่บ้าน ที่ดำเนินการตามโครงการจนสามารถสรุปบทเรียนจากกการดำเนินการได้ดังนี้

วัตถุประสงค์ ->

1.ทบทวน เตรียมเนื้อหา จัดทำแผนงาน ที่จะถ่ายทอดความรู้

2. ประสานปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมประชุม

3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ในการจัดประชุม ให้พร้อม

4. จัดประชุมเตรียมความพร้อมของทีมสัมมาชีพชุมชน โดยดำเนินการดังนี้

          4.1 ลำดับแรก ต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาชีพชุมชน ให้กับปราชญ์ชุมชนได้เข้าใจถึงความเป็นไปเป็นมา วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และผลประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากดำเนินการ

          4.2 ถ่ายทอดเทคนิคการเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้ปราชญ์ชุมชน มีทักษะในการถ่ายทอด มีความรู้ และเทคนิคการเป็นวิทยากร เพื่อที่จะได้สามารถไปถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          4.3 แบ่งครัวเรือนรับผิดชอบ 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือน

          4.4 ทบทวน และจัดทำแผนการฝึกอบรมอาชีพ การส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนสัมมาชีพ

          4.5 วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการฝึกอาชีพ

          4.6 จัดเตรียมพื้นที่ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และวัสดุ/อุปกรณ์ในการฝึกอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน มีความมุ่งมั่น ทำงานด้วยความตั้งใจจริง ใส่ใจในงานที่ทำ และมีติดตาม ส่งเสริมสนับสนุนครัวเรือนเป้าหมาย ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ

อุปกรณ์ ->

การถ่ายทอดความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน ผู้ถ่ายทอดต้องเตรียมความพร้อม วางแผนงานมาเป็นอย่างดี จึงจะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้รับการถอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าใจมากที่สุด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้สนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนโดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนคือนางสุพรรณ  มโนรมย์   เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชนบ้านป่าดู่ เข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้ที่ประกอบสัมมาชีพ ที่มีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพปลูกดอกมะลิและร้อยมาลัยมะลิ ประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงในอาชีพเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนพร้อมมีจิตอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆในชุมชน

                                 นางสุพรรณ  มโนรมย์ และทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน รวม  ๕  คน ดำเนินการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนบ้านป่าดู่ พร้อมกับจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนและทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนประกอบด้วย เครือข่าย 4  องค์กรคือ ศอช. กลุ่มสตรี  ผู้นำอช.  กลุ่มออมทรัพย์  ดังนี้

๑.      ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด ได้เข้าร่วมสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับจังหวัด

๒.     .เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ที่หอประชุมอำเภอวังหิน

๓.     .ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ดังนี้

-ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านได้ให้องค์ความรู้แก่ครอบครัวเป้าหมายสัมมาชีพ  จำนวน  20  ครัวเรือน ในเรื่องสัมมาชีพชุมชน  จะต้องเป็นอาชีพที่พึงมีลักษณะดังนี้อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการทำมาหากิน  เป็นการทำมาค้าขาย โยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้งหรือเป็นเป้าหมายสุดท้ายและต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กล่าวคือความสุขของตนและคนทำงานรวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้รับบริการเป็นหลัก

- วิทยากรสัมมาชีพชุมชนพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ได้นำเสนอองค์ความรู้ในเรื่องของการปลูกดอกมะลิพร้อมสาธิตกิจกรรมการร้อยมาลัยมะลิ

-ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  นำครอบครัวครัวเรือนเป้าหมายศึกษาดูงานที่บ้านหนองกอง  หมู่ที่ ๔  ตำบลทุ่งสว่าง  

-ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  รับมอบวัสดุสาธิตพร้อมแสดงการสาธิตกิจกรรมร้อยมาลัยมะลิ    

          ๔ .ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ เดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นพร้อมสนับสนุนให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนคือนางสุพรรณ  มโนรมย์  ได้สมัครพัฒนาตนเองตามระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน    

๔.๒ เทคนิค

          (๑) ใช้เทคนิค การการสร้างแรงบันดาลใจ เขาทำได้เราทำได้  ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น

          (๒) ใช้เทคนิค สร้างการมีส่วนร่วม  เจ้าหน้าที่ต้องมีส่วนร่วมในลักษณะช่วยเหลือ  แนะนำ  เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมสัมมาชีพ  ไม่ใช่การชี้นำ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา