ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปลาร้า

โดย : นางสาวสมพิศ คงศรี วันที่ : 2017-03-28-14:59:27

ที่อยู่ : ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๖ หมู่ที่ ๓ ตำบล ทุ่งไชย อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาร้า อยู่คู่คนอิสาน โดยเฉพาะคนบ้านทุ่งไชย หมู่ที่ ๓ เพราะเรามีพื้นที่นาเป็นทุ่งกระทะ มีบ่อล่อปลาธรรมชาติแทบทุกครัวเรือน ในชุมชนยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วยสำราญ ฮ่องใต้ ฮ่องบน สระสิม สระถ่วงสระใหญ่ ไว้เป็นที่ขยายพันธ์ปลา ทุ่งธงชัยจึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จะมีพ่อค้าปลามาซื้อ ซึ่งปลาเล็กปลาน้อยจะมีราคาถูกมาก จึงนำมาแปรรูปเป็นปลาร้า เป็นการถนอมอาหารไว้นานๆ

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อลดรายจ่าย

- เพิ่มรายได้ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- ปลาเล็ก ปลาน้อย ๑๐ กก.

- เหลือสมุทร ๒.5 กก.

- รำ ปลายข้าว  ๒ กก.

- น้ำ ๒ ลิตร

- น้ำตาล ๓ กรัม

อุปกรณ์ ->

1.      กาละมัง     ๒.ไหหรือโอ่งเล็ก ๑ ใบ    ๓. ถุงพลาสติก ๔. ผ้า

๕. ยางรัด  ๑๐. เขียง มีด ครก สาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          - นำปลามาล้าง ตัดหัวควักไส้ออก ถอดเกล็ดล้างให้สะอาด พักไว้

                   - นำเกลือ น้ำตาล คลุกเคล้าให้เข้ากัน เอาลงไหกดให้แน่น ปิดด้วยผ้า พลาสติกตามด้วยผ้าสะอาด รัดปากด้วยหนังยาง ปล่อยไว้ ๑๐-๑๕ วัน

                   - นำรำ ข้าว หรือปลายข้าวมาคั่วด้วยไฟกลาง บดละเอียดผสมเข้าด้วยกัน

                    - น้ำต้มสุก ๒ ลิตร ผสมเกลือ ครึ่ง กก. ปล่อยให้เย็น

                   - เปิดโอ่งหรือไหนำปลาที่หมักไว้ ๑๐-๑๕ วัน มาคลุกกับข้าว รำ ที่คั่วบดละเอียดแล้วผสมกับน้ำที่ต้มเตรียมไว้ให้เข้ากันดี ใส่ลงในโอ่งรึไห กดให้แน่น ปิดปากโอ่งหรือไห ๓ เดือน นำมารับประทานได้

ข้อพึงระวัง ->

* ปลายข้าว รำ ต้องคั่วให้สุก ค่อนไปทางไหม้ ถ้าไม่สุก ปลาร้าจะเปรี้ยว

* เวลาใส่ปลาลงไห ควรเหลือพื้นที่ไว้ ไม่ควรใส่เต็มไห

* ช่วงใส่ปลาลงไหใหม่และใส่ข้าวคั่ว รำคั่ว ต้องหมั่นกด เพราะปลาและข้าวจะอืด อาจทำให้น้ำล้นปากไหและมีแมลงวันมาทำลายได้ ไม่ควรเก็บไหปลาร้าไว้ในที่แสงแดดส่องถึง

 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา