ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกถั่วฝักยาว

โดย : นางทองจันทร์ สายเนตร วันที่ : 2017-03-27-21:38:05

ที่อยู่ : บ้านปลาข่อ หมู่ที่ 4 ตำบลโพธิ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากผลผลิตจากการทำนาตกต่ำข้าวไม่มีราคาทำให้รายได้ของครัวเรือนไม่พอกับค่าใช้จ่าย จึงทำให้เกิดความขึ้นมาว่าเราควรจะหาอาชีพเสริมหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ดังนั้นจึงหันมาปลูกถั่วเป็นรายได้เสริม เนื่องจากพริกเป็นพืชเศรษฐกิจมีตลาดรองรับพื้นที่เหมาะแก่การปลูกถั่ว และเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

๑.      ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

๒.      ปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นการบำรุงรักษาดิน เพิ่มปุ๋ยให้แก่ดิน

๓.      ทำให้มีรายได้เสริม

๔.      มีอาหารโปรตีน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      เมล็ดพันธุ์ศรแดง  ลำน้ำพอง

2.      ฟางข้าว

3.      ลำไม้ไผ่เพื่อใช้เป็นร้าน

4.      พื้นที่เพาะปลูก

5.      บ่อน้ำบาดาล

6.      ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์

7.      น้ำหมักชีวภาพ

อุปกรณ์ ->

1. เชือกเพื่อถักให้เถาว์ถั่วเลื่อยขึ้นได้

2. สายยางรดน้ำ

3. ปั้มน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-ขั้นตอนการปลูก

1. ไถดะแปลงปลูกเพื่อตากดินประมาณ 1 อาทิตย์

2. ทำแปลงเพื่อเตรียมการปลูก

3. เตรียมดินโดยผสมกับปุ๋ยคอก

4. รดน้ำให้ชุ่มก่อนปลูก

5. หยอดเมล็ดถั่วให้ห่างในแปลงปลูก ประมาณ 20-30 ซม.

6. คุมฟางในแปลงปลูกเพื่อคุมหญ้าไม่ให้ขึ้นและคุมความชื่นของดินไม่ให้ดินแห้งง่าย

7. ปลูกได้ประมาณ 10-15 วัน ทำร้านเพื่อให้ถั่วได้เลื่อยขึ้น

7. รดน้ำหมักชีวภาพให้ฮอร์โมน

  -การดูแลรักษา

1. รดน้ำพริกวันเว้นวัน

2. ถอนหญ้าในแปลงถั่วออกให้หมด

3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์

4. ฉีดน้ำหมักชีวภาพเพื่อกำจัดแมลง

    -การเก็บรักษาผลผลิต

1. หลังจากปลูกถั่วประมาณ 55 วัน สามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่าย

2. ผลผลิตต่อไร่/ต่อรอบการเก็บเกี่ยว ได้ประมาณ 50 กิโลกรัม ราคาเฉลี่ยไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 10 บาท

   และสามารถขายได้ราคาสูงสุดถึง 60 บาท/กิโลกรัมแต่ราคาถั่วนั้นขึ้นอยู่กับราคาตลาดในแต่ละวัน

@  เทคนิค/เคล็ดลับ

1.      การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ให้ฟักใหญ่ และก็ยาว มีน้ำหนักดี ต้านทานต่อโรคได้ดี

2.      การเลือกพื้นที่ในการเพาะปลูกควรเป็นดินร่วนปนทรายสามารถอุ้มน้ำได้ดี

3.      พยายามรดน้ำให้มีความชุ่มอยู่เสมอ

ข้อพึงระวัง ->

1.      การกำจัดแมลงศัตรูพืช

2.      โรคเชื้อราในดิน

3.      โรคพืช ต่างๆ เพลี้ย หนอน

4.      การใส่ปุ๋ยควรใส่ในปริมาณที่เหมาะสม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา