ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศ

โดย : นายบุญเพ็ง บุญช่วย วันที่ : 2017-03-27-21:30:31

ที่อยู่ : 46 บ้านจานโง หมู่ที่ 7 ตำบลสมอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปลาหมอนานับวันจะหาทานได้ยากขึ้น จากแหล่งน้ำทั่วไปในธรรมชาติ เพราะอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณปลาหมอนาในลดน้อยลงทุกที และราคาของปลาหมอนานั้นจึงเพิ่มขึ้น จึงมีคนหันมาเลี้ยงกันในรูปแบบต่างๆ และในปัจจุบันการเลี้ยงปลาหมอนาในบ่อซีเมนต์นั้นเริ่มจะได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถดูแลง่าย และการทำไม่ยุ่งยาก ปลาหมอนา จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทาน เลี้ยงง่าย ใช้น้ำน้อยสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อขนาดต่าง ๆ รวมทั้งเลี้ยงในกระชัง ในแหล่งน้ำนิ่งและเลี้ยงในบ่อพลาสติกได้ และการเลี้ยงได้ไม่ยาก

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. บ่อสำหรับอนุบาลลูกปลาหมอนา ขนาด 6x7 เมตร

2. บ่อผสมพันธุ์ปลาหมอนา ขนาด 6x7 เมตร

3. บ่อสำหรับเลี้ยงปลาหมอนา  ขนาด 6x7 เมตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การคัดเลือก พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ปลาหมอนาแม่พันธุ์

1. ควรมีขนาดป้อมสั้น ยาวประมาณ 3 นิ้ว

2. ในการคัดแม่พันธุ์ปลาหมอนา ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร

3. แม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดงว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ

พ่อพันธุ์

1. ควรมีลักษณะลำตัวยาว ว่ายน้ำปราดเปรียว มีขนาด 3 นิ้ว

2. ในการคัดพ่อพันธุ์ ควรคัดตอนเช้า หลังการถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร

3. พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธู์ บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล

ขั้นตอนการผสมพันธุ์

1. ต้องทำการผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม - กรกฏาคม)

2. ในบ่อผสมพันธุ์ใส่น้ำประมาณ 50-60 เซนติเมตร และควรหาผักบุ้งใส่ในบ่อด้วย เพื่อที่จะได้เป็นที่กำบังและซ่อนตัวเวลาฟักไข่

3. นำแม่พันธุ์ปลาหมอนา 100 ตัว ต่อ พ่อพันธุ์ปลาหมอนา 50 ตัว ลงในบ่อ (อัตราส่วน ปลาหมอตัวเมีย 1 ตัว ต่อ ตัวผู้ 2 ตัว)

4. ปล่อยทิ้งไว้ให้ผสมพันธุ์กัน 3 สัปดาห์5. หลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์แล้ว ให้แยกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ออกจากลูกปลาหมอที่ยังเป็น ลูกคอก

 

การดูแลรักษา

1. ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำสัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง

2. ให้อาหารปลาหมอในช่วงเช้า ทุกวัน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา