ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พันธ์ุพื้นเมือง

โดย : นายยอดใจงาม วิรุณพันธ์ วันที่ : 2017-03-26-21:55:57

ที่อยู่ : บ้านโจดม่วง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโจดม่วง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงไก่ ถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจ  โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริม เพราะในปัจจุบันไก่พื้นเมืองได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เพราะมี รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป มีราคาดี  ตลาดมีความต้องการ จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่  เมืองออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคือปริมาณไก่ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะส่วนมาก จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านเพื่อไว้บริโภค  ประมาณ 10- 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม ไม่มีการดูแลอย่างเป็นระบบ ดังนั้น  การส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในการเลี้ยงไก่ และจัดระบบการเลี้ยง และขยายพันธุ์อย่างถูกหลักวิชาการจะทำให้ การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้แก่ครัวเรือนได้ตลอดปี

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้มีอาชีพเสริม  สามารถจำหน่ายสร้างรายได้ตลอดปี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. พันธุ์ไก่
๒. โรงเรือนที่แข็งแรง
๓.  หัวอาหารสัตว์  ยารักษาโรค

อุปกรณ์ ->

๑. อุปกรณ์ใส่อาหารไก่
๒. ตาข่ายสำหรับทำกรงไก่  หรือไม้สำหรับทำคอกไก่
๓. อุปกรณ์สำหรับฉีดยา และให้วัคซีนไก่/ยารักษาโรคไก่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. สร้างโรงเรือนหรือเล้าไก่ให้มีความเแข็งเเรง และมีตาข่ายกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ไปกัดกินไก่  สามารถทำเป็นแบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเ ป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร
2. นำพ่อพันธ์และแม่พันธ์ไก่ปล่อยเข้าในเล้า รอการผสมพันธ์ และออกไข่ และต้องทำความสะอาดเล้าไก่อยู่เสมอ
๓. การเลี้ยงไก่ผู้เลี้ยงควรจะมีการดูแลรักษาไก่ อย่างเป็นระบบ  ดังนี้คือ
   -  ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่นแรกๆ และเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
   -   ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น
   -. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อป้องกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ
   -  มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

๑.การสร้างคอกไก่ควรคำนึงถึงความโปร่ง และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มืดทึบและมีความสูงเพื่อสะดวกในการเข้าออก
๒. ขนาดของคอกขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ ขนาดอายุของไก่ที่จะเลี้ยง  เช่น  ถ้าต้องการเลี้ยงเฉพาะระยะลูกไก่จนถึงระยะไก่รุ่น     ที่ได้น้ำหนักระหว่าง  1.5 - 2.0 กิโลกรัม  จำนวนที่จะเลี้ยงได้นั้น จะใช้สัดส่วนประมาณ 8 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตาราง เมตร  ดังนั้นถ้าเรือนโรงมีขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ 3 X 5 เมตร จะสามารถเลี้ยง ไก่ได้ประมาณ 120  ตัว
๓. การเลี้ยงไก่แบบชาวบ้านแต่ละปีจะเกิดโรคระบาดเป็นสาเหตุทำให้ไก่ตายปีละมากๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องป้องกันโรค     โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา