ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเย็บหน้าหมอนขิต

โดย : นางหนูจันทร์ จงรักษ์ วันที่ : 2017-03-26-15:28:59

ที่อยู่ : บ้านหนองมะเกลือเหนือ หมู่ที่ ๒๐ ตำบลโนนค้อ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กลุ่มสตรีเย็บหน้าหมอนขิต เป็นการร่วมมือของกลุ่มสตรีตัดเย็บหน้าหมอนขิตในหมู่บ้านเป็นการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการระดมหุ้นจากสมาชิกกลุ่มในการเย็บหน้าหมอนขิต เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับสตรีในหมู่บ้านหลังจากฤดูทำนา สร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยนางหนูจันทร์ จงรักษ์เป็นประธานกลุ่ม เย็บหน้าหมอนขิต และคณะกรรมการในการบริหารกลุ่ม

 การเย็บหมอนขิต เป็นการสืบสานภูมิปัญญาในการทำหมอนใช้เอง คือ หมอนขอ หมอนหกลูก และหมอนเก้าลูก  ซึ่งใช้ประโยชน์ในการเป็นของขวัญในงานต่างๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน (เครื่องสมมา) งานบวช งานผ้าป่า/กฐิน ซึ่งแต่ก่อนเป็นงานฝีมือล้วนๆ ซึ่งในปัจจุบันมีคนทำน้อยมากแต่ความต้องการยังมีอยู่มาก

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1.ผ้าด้ายดินสีต่างๆ  

อุปกรณ์ ->

1.จักรอุตสาหกรรม  

2.กรรไกร

3.ไม้บรรทัด

4.เข็ม

5. ด้าย

6. ดินสอ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.นำผ้ามาตัดตามขนาดของการทำหมอน เช่น หมอนเก้าลูก ตัดผ้าให้มีขนาดความกว้าง ๑.๖ นิ้ว ความยาวตามผ้า

          ๒. นำผ้าสีต่างกัน ๒ ชิ้น มาเย็บริมประกบกันตามความยาวทั้ง ๒ ข้าง

          ๓. ตัดผ้าตามข้อ ๒ ความยาว ๗ นิ้ว แล้วพับทบไปมาให้ได้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วออกตัดเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก

          ๔. นำผ้าตามข้อ ๓ มาตัดทแยงแบ่งครึ่งเป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก  ต้องตัดให้เหมือนเดิมแนวเดิมทุกชิ้น

         ๕. นำผ้าสามเหลี่ยมตามข้อ ๔ มาเย็บติดกันโดยให้มุมชนกันรวมเป็นผืนสี่เหลี่ยมสวยงาม

          ๖. ใช้ผ้าสีอื่นที่กลมกลืนมาตัด ขนาด ๑.๕ นิ้ว (เรียกว่าผ้าแคป) แล้วเย็บริมทั้ง ๔ ด้าน  

          ๗. นำไปบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายถุงละ ๒ โหล

ข้อพึงระวัง ->

สามารถใช้เวลาว่างจากการประกอบอาชีพอื่นมาทำได้ที่ในครัวเรือน โดยใช้ความขยันของตนเอง มีรายได้ทุก ๑๕ วัน ประมาณครั้งละ ๑,๐๐๐ – ๑,๕๐๐ บาท เนื่องจากสินค้าเป็นที่ต้องการต่อเนื่องโดยมีตลาดประจำมารับซื้อ

        ข้อพึงระวัง หน้าหมอนห้ามซัก เพราะผ้าจะตกสี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา