ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง

โดย : นายโสภา สุขเมือง วันที่ : 2017-03-25-22:30:31

ที่อยู่ : 82 บ้านหว้าสามัคคี หมู่ที่ 10 ตำบลพิมายเหนือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แม้ว่าจะมีการนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่ไก่พื้นเมือง ก็ยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือประชาชนผู้รับประมาณเนื้อไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองในชนบทโดยทั่วไป ใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย จะให้อาหารบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงทำให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตช้าและเป็นโรคตายจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คือ เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง เนื้อเป็นที่นิยมรับประทาน เพราะมีรสชาติดี สามารถจำหน่ายได้ราคาดี เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกทางหนึ่งด้วย หากมองให้กว้างๆออกไปอีกไก่พื้นเมืองจะช่วยให้ธรรมชาติมีความสมดุลในระบบไร่นา คือ จะช่วยจิกกินแมลงที่ทำลายต้นพืชบางอย่างการ

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสรา้งอาชีพสรา้งรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

       เรือนโรงเลี้ยงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่ายๆได้โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยงและขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควรให้อาหารอย่างเช่น ข้าวเปลือก ถั่ว ข้าวโพด และอาหารอื่นๆแล้ว ควรให้หัวอาหารผสมกับรำข้าวบ้างเป็นบางครั้ง 

-  ในการผสมพันธุ์ไก่ตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 5 ตัว และขังแยกตัวผู้กับตัวเมีย

- จากนั้นปล่อยให้ตัวผู้มาผสมพันธ์กับตัวเมียในช่วงเย็น น้ำเชื่อจะแข็งแรง อัตราการฟัก 95 %

-  หลังจากนั้นทำการผสมพันธ์อย่างต่อเนื่อง หลังแม่ไก่ฟักออกเป็นตัวแล้ว นำลูกไปอนุบาล นำแม่ไก่ไปผสมพันธุ์ต่อ จะได้ขยายพันธ์เร็ว ประหยัดเวลา ได้กำไร

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา