ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหมพื้นบ้าน

โดย : นางสังวาล ใจสว่าง วันที่ : 2017-03-25-11:52:13

ที่อยู่ : 12 บ้านขามฆ้อง หมู่ที่ ๒ ตำบลพิมายเหนือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านขามฆ้อง มีการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมมัดมี่ จากบรรพบุรุษ ค่อยๆ เรียนรู้ ฝึกฝนผีมือการทอผ้าไหมมาอย่างต่อเนื่อง และได้เข้ารับการฝึกอบรมการทอผ้า การมัดหมี่ และพัฒนาลวดลายของผ้าไหมให้มีความประณีต สวยงาม หลากหลาย ตรงตามความต้องการของตลาด ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ส่งผลให้มีลูกค้ามาสั่งชื้อสินค้ามากขึ้น การทอผ้าไหมมัดหมี่ จะต้องเกิดจากใจรัก ต้องอาศัยความตั้งใจ และความพยายามสูง โดยเฉพาะการมัดหมี่ กว่าจะทำได้แต่ละชิ้น ต้องศึกษาและทำความเข้าใจลวดลายอย่างถี่ถ้วน ปัจจุบัน ผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอ มีคุณภาพ ประณีต สวยงาม ทำให้ลูกค้าสั่งทอมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างอาชีพเสริม

2.เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหม

อุปกรณ์ ->

1) เส้นไหม ใช้เส้นไหมคุณภาพมาตรฐาน ประกอบด้วยเส้นไหมยืน และเส้นไหมพุ่ง

2) หลักเฝือ

3) กง

4) อัก

5) ไน/หลา

6) หลอด

7) กระสวย

8) ฟืม

9) กี่ทอผ้า

10) ไม้เหยียบหูก

11) แปรงทาแป้งบนเส้นยืน

12) ไม้คันผัง คือ อุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้ค้ำยันขอบริมผ้าหน้ากว้างทั้งสองด้านของหน้ากว้างผืนผ้าให้ตึง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามี ลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา