ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงหมู

โดย : นายการัณยภาส บุญยงค์ วันที่ : 2017-03-25-00:01:26

ที่อยู่ : 65 หมู่ที่ 9 ตำบลตาโกน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากสภาพการทำมาหาเลี้ยงชีพของคนไทย คือทำนา ปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ทำนาถ้ามีพื้นที่ทำนามากก็มีรายได้ที่จะเลี้ยงครอบครัว ถ้ามีนาน้อย เราต้องคิดเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินของตนเอง ผมมีที่นาน้อย จึงมองไปที่การปศุสัตว์ คือการเลี้ยงสุกร เริ่มเลี้ยงตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ และได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกรเลี้ยงสุกร จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยง และจากประสบการณ์ของตนเองโดยตรง ปรับปรุง พัฒนาวิธีการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้สุกรที่มีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างอาชีพเสริม

2.เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

           

อุปกรณ์ ->

1.โรงเรือน

2.ที่ให้น้ำ

3.รางอาหาร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. พื้นในคอกของสถานที่เลี้ยงควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
โดยขนาดของคอกควรมีประมาณ 4 x 35 เมตร จึงจะสามารถเลี้ยงสุกรขุน ที่มีขนาด 60 – 100 กิโลกรัม ประมาณ 8 – 10 ตัวส่วนความยาวของคอกนั้นให้ขึ้นอยู่กับว่า จำนวนสุกรที่เกษตรกรเลี้ยงมีตำนวนมากเท่่าไหร่
              ๒. การให้อาหารสุกร โดยสุกรนั้นเป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยอาหารที่มีเยื่อมากๆได้ดีเหมือนสัตว์กระเพาะรวมชนิดอื่นๆ ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกร จึงควรจะต้องมีโภชนาการที่ครบถ้วน อาหารสำหรับสุกรขุนส่วนใหญ่จะนิยมใช้อาหารแบบสำเร็จรูป หรือ ผู้เพาะเลี้ยง เกษตรกรบางรายอาจผสมอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสุกรเอง ซึ่งจะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้หัวอาหารผสมรวมกับรำ, ปลายข้าว หรือวัสดุอื่นๆตามสัดส่วนที่เกษตรกรเป็นคนกำหนด และการให้อาหารสุกรแต่ละช่วงนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการบริโภคของสุกรในแต่ละช่วงอายุของตัวสุกร
              ๓. โดยการจัดการเลี้ยงดูแลสุกร เกษตรกรควรเริ่มเลี้ยงสุกรขุน ตั้งแต่ระยะที่สุกรนั้นหย่านม โดยมีน้ำหนักที่ประมาณ 20 กิโลกรัม โดยใช้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ และให้สุกรกินเต็มที่ประมาณวันละ 1 – 2 กิโลกรัม จากนั้นเมื่อสุกรขุนมีน้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนอาหารโดยใช้อาหารที่มีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์แทน และให้สุกรกินอาหารวันละ 2.5 – 3.5 กิโลกรัม จนถึงระยะที่จะส่งตลาดเมื่อสุกรมีน้ำหนัก ประมาณ 100 กิโลกรัม โดยตลอดระยะเวลาการเลี้ยงสุกรนั้น จะต้องมีน้ำสะอาดให้สุกรกินตลอดทั้งวัน
              ๔. ด้านความสะอาดของสถานที่เลี้ยงหรือคอก เกษตรกรควรทำความสะอาดพื้นคอกสุกรอยู่เป็นประจำ เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจจะนำโรคมาสู้ตัวสุกรได้ และอีกทั้งยังป้องกันกลิ่นจากมูลสุกรไปรบกวนชุมชนสถานที่ใกล้เคียงอีกด้วยอีกด้วย และสุกรทุกตัวต้องมีการถ่ายพยาธิ และ จัดฉีดวัคซีนตามกำหนด ที่เราได้ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุกรมีสุขภาพที่ดี

 

 

 

 

 

ข้อพึงระวัง ->

การเลี้ยงหมู ต้องศึกษาข้อมูล รายละเอียด และมีการวางแผนในระบบต่างๆ ก่อนที่จะเลี้ยงให้แน่ชัด เพื่อที่เมื่อทำการเลี้ยงสุกรไปแล้วจะได้ผลผลิตและกำไรอย่างที่ตั้งใจไว้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา