ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกข้าวหอมมะลิ

โดย : นางทองวรรณ สุระ วันที่ : 2017-03-25-00:23:08

ที่อยู่ : 15 หมู่ที่ 9 ตำบลตาโกน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำนาปลูกข้าว  เป็นอาชีพหลักที่ได้รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สมัยก่อนการทำนา  จะเป็นการทำนาดำ ไม่มีการใช้สารเคมีในการทำนา ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยคอกในการบำรุง และปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่ทำนาเพื่อไว้บริโภคเพียงอย่างเดียว ต่อมาข้าพเจ้าได้เปลี่ยนวิธีการทำนามาเป็นผลิตเพื่อจำหน่าย ดังนั้นการปลูกข้าวเพื่อจำหน่าย ต้องมาองที่ความต้องการของตลาดว่านิยมบริโภคข้าวพันธุ์อะไร ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ นิยมรับประทานข้าวหอมมะลิ เพื่อมีกลิ่นหอม และนุ่มอร่อย จึงเริ่มปลูกข้าวหอมมะลิ มาได้ประมาณ ๑๐ ปี ทำให้เกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญในการปลูกข้าวหอมมะลิ

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างอาชีพเสริม

2.เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        วิธีการปลูกนิยมทั้ง 2 วิธี คือ การปักดำจากต้นกล้าในระยะ 25×25 เซนติเมตร และวิธีการหว่านในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้การปลูกข้าวด้วยการหว่านควรกำจัดวัชพืชในแปลงออกให้เหลือน้อยที่สุด  การหว่านแบบแห้งพร้อมไถกลบ ควรไถกลบ และไถดะตากดินหรือวัชพืชให้เน่าหรือตายเสียก่อนอย่างน้อยประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก่อนการหว่าน  การ หว่านแบบเปียก ควรไถกลบ และแช่น้ำให้วัชพืชหรือตอซังเน่าอย่างน้อยประมาณ 1-2 อาทิตย์ ก่อนการหว่าน สำหรับวิธีการปักดำมักไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องวัชพืช

การดูแลในระยะปลูก
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ดินเสียเร็วขึ้น
          - ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่แนะนำ ควรใส่ในอัตรา 500-1000 กิโลกรัม/ไร่
          - ปุ๋ยเคมี ครั้งแรก หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 16-16-8 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-20-0 ในอัตราเดียวกัน
          - ปุ๋ยเคมี ครั้งสอง ในระยะก่อนข้าวตั้งท้องหรือตั้งท้อง หากเป็นดินทรายแนะนำสูตร 20-20-20หรือ 15-15-15 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนดินเหนียวสูตร 16-16-8 ในอัตราเดียวกัน

          - น้ำในแปลงนาต้องมั่นตรวจสอบจุดรั่วไหล ควรให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับระบบน้ำ และการชลประทาน หากน้ำน้อยไม่เพียงพอควรมีอย่างน้อย 5-10 เซนติเมตร โดยเฉพาะในช่วงระยะเริ่มแรกของการปลูกจนถึงข้าวตั้งท้อง ส่วนระยะหลังข้าวเป็นเม็ดแป้งแล้วการขาดน้ำมักไม่มีผลต่อเมล็ดข้าวมากนัก

          -โรคข้าว สัตว์ และแมลงศัตรูข้าวให้มีการตรวจสอบต้นข้าวเป็นระยะ โดยเฉพาะหนอนกอข้าว และโรคไหม้ ที่มักเกิดมากในทุกท้องที่ รวมไปถึงสัตว์ชนิดต่างๆที่อาจทำลายต้นข้าวได้ เช่น หอยเชอรี่ และหนูนา

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา