ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

โดย : นางทิพวัลย์ งอนสุวรรณ์ วันที่ : 2017-03-24-16:57:53

ที่อยู่ : 94 หมู่ที่ 8 ตำบลโนนสูง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มนุษย์รู้จักการทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ ตอนไหนอาจระบุให้ชัดเจนได้ยาก แต่จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในสมัยจักรวรรดิ์อัคคาเดียน บริเวณที่ราบลุ่มเมโสโปเมียมีบันทึกเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกพืช จนมาถึงสมัยโรมัน และกรีกก็มีหลักฐานบันทึกไว้เช่นกัน โดยมีการใช้สารอินทรีย์ใส่ในแปลงปลูกพืช และมีการพัฒนาการนำอินทรีย์วัตถุมากองรวมกันก่อนที่จะนำไปใช้คล้ายกับวิธีการทำปุ๋ยหมักด้วยการกองในปัจจุบัน

ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืช

วัตถุประสงค์ ->

1) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว/ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร

2) นำผลผลิตที่มีจำนวนมากในพื้นที่มาสร้างมูลค่า

3) เผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้สนใจนำไปพัฒนาขยายผลต่อไป 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก.... วัสดุ และส่วนผสม

– ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊บ

– แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน

– รำละเอียด 1 ส่วน

– เชื้อ EM 20 ซีซี

– กากน้ำตาล 100 ซีซี

– น้ำ 10 ลิตร

ปุ๋ยหมักฟางข้าว…..วัสดุ และส่วนผสม

– ฟางแห้งสับละเอียด 1 ส่วน ประมาณ 10 กก.

– แกลบดิบ/แกลบเผา 1 ส่วน

– ปุ๋ยยูเรีย 200 กรัม

– กากน้ำตาล 100 ซีซี

– เชื้อ EM 20 ซีซี

– น้ำ 10 ลิตร

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์
2) ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย และเป็นอันตรายออก แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร
3) รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ
4) โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1
5) ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้
6) ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่
7) สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน

หลักพิจารณาปุ๋ยหมักพร้อมใช้

1. ปุ๋ยหมักจะมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ

2. อุณหภูมิทั่วกองปุ๋ยหมักมีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาการหมักเกือบหมดแล้ว

3. หากใช้นิ้วมือบี้ ก้อนปุ๋ยหมักจะแตกยุ่ยออกจากกันง่าย

4. พบเห็ด เส้นใยรา หรือ พืชอื่นขึ้น

5. กลิ่นของกองปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นฉุนที่เกิดจากการหมัก

6. หากนำปุ๋ยหมักไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจะพบอัตราส่วนของคาร์บอน และไนโตรเจนประมาณ      20:1 หรือคาร์บอนมีค่าน้อยกว่า 20 (ไนโตรเจนยังคงเป็น 1)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา