ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางสมอน แปนสุวรรณ์ วันที่ : 2017-03-24-16:50:19

ที่อยู่ : 48 หมู่ที่ 3 ตำบลตาโกน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอผ้าไหมมัดมี่ ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ค่อยๆ เรียนรู้ ฝึกฝนผีมือการทอผ้าไหมมาอย่างต่อเนื่อง และได้เข้ารับการฝึกอบรมการทอผ้า การมัดหมี่ และพัฒนาลวดลายของผ้าไหมให้มีความประณีต สวยงาม หลากหลาย ตรงตามความต้องการของตลาด ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ส่งผลให้มีลูกค้ามาสั่งชื้อสินค้ามากขึ้น การทอผ้าไหมมัดหมี่ จะต้องเกิดจากใจรัก ต้องอาศัยความตั้งใจ และความพยายามสูง โดยเฉพาะการมัดหมี่ กว่าจะทำได้แต่ละชิ้น ต้องศึกษาและทำความเข้าใจลวดลายอย่างถี่ถ้วน ปัจจุบัน ผ้าไหมมัดหมี่ที่ทอ มีคุณภาพ ประณีต สวยงาม ทำให้ลูกค้าสั่งทอมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างอาชีพเสริม

2.เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นไหม

อุปกรณ์ ->

(1) เส้นไหม ใช้เส้นไหมคุณภาพมาตรฐาน ประกอบด้วยเส้นไหมยืน และเส้นไหมพุ่ง

(2) หลักเฝือ คือ อุปกรณ์ในการค้นเส้นยืน เพื่อทำการเตรียมเส้นยืน ก่อนที่จะนำไปติดตั้งกี่ทอผ้า

(3) กง คือ อุปกรณ์สำหรับใส่เส้นไหมเพื่อการกรอเส้นไหมเข้าอัก

(4) อัก คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหมที่ทำการกรอจากกง

(5) ไน/หลา คืออุปกรณ์สำหรับการกรอเส้นไหมเข้าหลอด หรือ เป็นอุปกรณ์ในการตีเกลียวเส้นไหม และควบตีเกลียวเส้นไหม

(6) หลอด คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหมเพื่อนำไปในกระสวยเพื่อการพุ่งเส้นพุ่งในการทอผ้ามัดหมี่

(7) กระสวย คือ อุปกรณ์สำหรับใส่หลอดม้วนเส้นไหมพุ่งเพื่อพุ่งนำหลอดเส้นพุ่งในการทอผ้า

(8) ฟืม คือ อุปกรณ์สำหรับการจัดเรียงเส้นไหมยืนก่อนที่จะนำไปเส้นยืนไปกลางตั้งขึ้นบนกี่ทอผ้า

(9) กี่ทอผ้า คือ อุปกรณ์สำหรับการทอผ้า

(10) ไม้เหยียบหูก คือ อุปกรณ์ที่เป็นท่อนไม้ที่อยู่ด้านล่างของกี่ทอผ้า มีเชือดโยงติดกับตะกอฟืม เพื่อใช้เท้าเหยียบให้เส้นยืนสลับขึ้นและลง เพื่อการสอดเส้นพุ่งในการทอผ้า

(11) แปรงทาแป้งบนเส้นยืน คือ อุปกรณ์สำหรับใช้ทาน้ำแป้งบนเส้นยืนเพื่อป้องกันเส้นยืนแตกในขณะที่ทอผ้า

(12) ไม้คันผัง คือ อุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้ค้ำยันขอบริมผ้าหน้ากว้างทั้งสองด้านของหน้ากว้างผืนผ้าให้ตึงและตรงตลอดทั้งแนวความยาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑) เลือกเส้นไหมที่มีคุณภาพ              ๒) ทำการลอกกาวตามขั้นตอน

                   ๓) กวักเส้นไหมเพื่อเตรียมข้นใส่เหล็ก   ๔) เตรียมมัดหมี่ลงในเส้นไหมที่เตรียมไว้ในเหล็ก

                   ๕) ย้อมสีตามที่ต้องการ แล้วโอบไว้ด้วยเชือกฟาง ตามลายที่ต้องการ

                   ๖) เมื่อโอบเสร็จแล้วแกะเชือกฟางออก  ๗) กวักใส่อักไว้ เตรียมปั่นใส่หลอดร้อยต่อกันจนหมดอัก

                   ๘) ทอใส่เครื่องที่เตรียมไว้เป็นพื้นผ้า เพื่อนำออกจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

ข้อพึงระวังเวลามัดหมี่ คือการมัดโอบแต่ละครั้งจะต้องมัดเชือกให้แน่นที่สุดเพื่อป้องกัน เวลาล้างด่างจะได้ไม่ออก เวลาแกะเชือกต้องระวังไม่ให้ถูกเส้นไหม เพราะเวลากวักจะทำให้กวักยาก

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา