ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าไหม

โดย : นางไพรวรรณ วรรณวงษ์ วันที่ : 2017-03-24-14:13:02

ที่อยู่ : 17 ม.1 ต.จิกสังข์ทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้ามัดหมี่ เป็นการทอผ้าอย่างหนึ่งที่มีการสร้างลวดลายก่อนที่จะทำการย้อมสี การทำลายผ้ามัดหมี่เป็นการเอาเชือกมามัดด้ายหรือมัดเส้นไหมตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ การมัดและย้อมลายจะมีการทำทั้งเส้นทางแนวยืน และแนวนอนหรือที่เรียกว่าแนวพุ่ง มีการสันนิษฐานว่าการมัดลายในแนวยืนน่าจะมีมาก่อนในแนวพุ่ง และจากการสืบค้นมีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่างมาจากประเทศอินเดีย โดยในสมัยโบราณที่มีการค้าขายกันและติดมากับสินค้าอื่น 

          ปัจจุบันผ้ามัดหมี่มีการทำกันอย่างแพร่หลาย สามารถทำได้ดีทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าไหมจะมีความสวยงามมาก นอกจากตัวผ้าไหมเองแล้ว ลวดลายและสีสันยังเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความสวยงามให้มากยิ่งขึ้น การอนุรักษ์ลวดลายโบราณ และนำมาประยุกต์ใช้ จึงเป็นสิ่งที่น่าจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การเก็บรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่สีธรรมชาติเพื่อการถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปจึงเป็นเรื่องที่ดีและควรให้การสนับสนุน สำหรับลวดลายต่างๆที่มีการสร้างสรรค์มาแต่โบราณ จึงเป็นงานศิลป์ที่ควรแก่คุณค่าให้เป็นสินทรัพย์ของแผ่นดินไทยตลอดไป  

วัตถุประสงค์ ->

1) เพื่อใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย

          2) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

          3) เพื่อสร้างกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) เส้นไหม

อุปกรณ์ ->

๑) เส้นไหม ใช้เส้นไหมคุณภาพมาตรฐาน ประกอบด้วยเส้นไหมยืน และเส้นไหมพุ่ง

          ๒) หลักเฝือ คือ อุปกรณ์ในการค้นเส้นยืน เพื่อทำการเตรียมเส้นยืน ก่อนที่จะนำไปติดตั้งกี่ทอผ้า

๓) กง คือ อุปกรณ์สำหรับใส่เส้นไหมเพื่อการกรอเส้นไหมเข้าอัก
4) อัก คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหมที่ทำการกรอจากกง
5) ไน/หลา คืออุปกรณ์สำหรับการกรอเส้นไหมเข้าหลอด หรือ เป็นอุปกรณ์ในการตีเกลียวเส้นไหม และ

ควบตีเกลียวเส้นไหม

          6) หลอด คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหมเพื่อนำไปในกระสวยเพื่อการพุ่งเส้นพุ่งในการทอผ้ามัดหมี่

7) กระสวย คือ อุปกรณ์สำหรับใส่หลอดม้วนเส้นไหมพุ่งเพื่อพุ่งนำหลอดเส้นพุ่งในการทอผ้า
8) ฟืม คือ อุปกรณ์สำหรับการจัดเรียงเส้นไหมยืนก่อนที่จะนำไปเส้นยืนไปกลางตั้งขึ้นบนกี่ทอผ้า
9) กี่ทอผ้า คือ อุปกรณ์สำหรับการทอผ้า
10) ไม้เหยียบหูก คือ อุปกรณ์ที่เป็นท่อนไม้ที่อยู่ด้านล่างของกี่ทอผ้า มีเชือดโยงติดกับตะกอฟืม เพื่อใช้

เท้าเหยียบให้เส้นยืนสลับขึ้นและลง เพื่อการสอดเส้นพุ่งในการทอผ้า

          11) แปรงทาแป้งบนเส้นยืน คือ อุปกรณ์สำหรับใช้ทาน้ำแป้งบนเส้นยืนเพื่อป้องกันเส้นยืนแตกในขณะทอผ้า
12) ไม้คันผัง คือ อุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้ค้ำยันขอบริมผ้าหน้ากว้างทั้งสองด้านของหน้ากว้างผืนผ้าให้ตึง

และตรงตลอดทั้งแนวความยาว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) ทำการเลือกเส้นไหม ทั้งส่วนที่ใช้ทำเป็นเส้นยืน และเส้นพุ่ง โดยเลือกใช้เส้นไหมที่มีมาตรฐานคุณภาพคือมีการสานเส้นไหมเป็นลักษณะตาข่าย ขนาดเส้นรอบวงไจไหม น้ำหนักไจไหม การทำไพไหม เพื่อการง่ายและสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

    2) ทำการเตรียมสารลอกกาวธรรมชาติ โดยใช้ผักโขมมาตากแดด แล้วนำมาเผาให้เป็นขี้เถ้านำขี้เถ้าที่

เผาได้มาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน นำมากรองด้วยผ้าบาง ก็จะได้น้ำด่างธรรมชาติเพื่อการลอกกาว

             3) นำเส้นไหมที่เตรียมไว้มาทำการต้มลอกกาวด้วยสารลอกกาวธรรมชาติที่เตรียมไว้ โดยใช้อัตราส่วนระหว่างสารลอกกาวกับเส้นไหมเท่ากับ 50 ลิตรต่อเส้นไหม 1 กิโลกรัม แล้วทำการต้มลอกกาวในระดับอุณหภูมิที่ 95 องศาเซลเซียส นานประมาณ 45 นาที แล้วให้ทดสอบโดยการใช้มือสัมผัสว่ากาวได้ถูกต้มออกหมดแล้ว นำเส้นไหมมาล้างด้วยน้ำร้อนที่ไม่น้อยกว่า 90 องศาเซลเซียส แล้วล้างด้วยน้ำอุ่น และน้ำธรรมดา จากนั้นบีบน้ำออกจากเส้นไหม แล้วทำการกระตุกเส้นไหมก่อน นำไปผึ่งตากแห้ง จากนั้นจึงเตรียมฟืมทอผ้าด้วยการค้นเส้นด้ายร้อยเข้ากับฟืมผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่องๆ ละ ๒ เส้น แล้วใช้ไม้ไผ่เล็กๆ สอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อยเข้าช่องฟันหวีเพื่อขึงให้ตึงและจัดเรียนเส้นด้ายให้เรียบร้อย ด้านหลังของฟืมก็ทำเช่นเดียวกันกับด้านหน้า

             ๔) การเตรียมสีธรรมชาติตามสีที่ต้องการย้อมสี ซึ่งลายโบราณที่ทำเป็นลายมัดหมี่ลวดลายหมี่ข้อ ซึ่งในสมัยโบราณจะทอผ้ามัดหมี่ที่มีหมี่ข้อและตกแต่งด้วยการทอสอดเส้นไหมคั่นโดยทำการทอแบบค้ำเพลาทำให้เส้นไหมที่ทอสอดคั่นฟูสวยงาม

             ๕) ต่อเส้นไหมเข้ากับเส้นด้ายที่อยู่ในซี่ฟันหวีเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการม้วนเส้นยืนด้วยแผ่นไม้ในกรณีที่เดินเส้นยืนไว้ยาว แต่หากเส้นยืนที่เดินไว้ไม่ยาวมากก็ให้นำไปขึ้นกี่ทอผ้าได้เลย แล้วทำการจัดเรียงระเบียบของเส้นไหมตามช่องฟันฟืมให้เป็นระเบียบของเส้นไหมตามช่องฟันฟืม ทำการขึงตึงเส้นไหมด้วยไม้ม้วนผ้าที่ติดอยู่กับกี่ทอผ้า แล้วค่อยๆ ผลักฟืมพร้อมตะกอออกจากรอยต่อของเส้นไหมกับเส้นด้าย 

             ๖) นำหลอดด้ายไหมออกจากเชือกที่เรียงร้อยไว้มาทีละหลอด เพื่อนำไปใส่ในกระสวย แล้วเริ่มทำการทอผ้าไหมมัดหมี่ด้วยกี่ทอผ้าแบบพื้นบ้านตามลวดลายที่ได้ออกแบบ โดยทอสลับกับการทอสอดเส้นไหมสีต่างๆเพื่อคั่นลายและเพิ่มสีสันให้เกิดสวยงามในลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้วิธีการทอแบบทอค้ำเพลา ขั้นตอนการทอสอดเส้นไหมจะต้องมีการทอสลับกับทอขัดเพื่อช่วยทำให้ผ้าแน่น เส้นไหมไม่หลุดลุ่ย ส่วนขั้นตอนการทอแบบค้ำเพลาจะทอสลับกับลายบนผืนผ้าเพื่อเพิ่มสีสัน และความสวยงาม เมื่อทอจนหลอดด้ายไหมที่เรียงร้อยไว้หมดก็จะได้ผ้าไหมมัดหมี่ลายโบราณ 1 ผืน

ข้อพึงระวัง ->

1) เส้นไหมมีความละเอียด ดังนั้นผู้ทอจึงต้องให้ความใส่ใจในกระบวนการทอทุกขั้นตอน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา