ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ภูมิปัญญาเสื้อย้อมมะเกลือ

โดย : นางราตรี นามสกุล ดวงนิล วันที่ : 2017-03-24-14:09:45

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๙๑ หมู่ ๖ ตำบล เมืองหลวง อำเภอ ห้วยทับทัน จังหวัด ศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            เสื้อเก็บ เป็นชื่อที่เรียกเฉพาะถิ่น ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน มีความหมายดังนี้

๑.เกิดจากการเก็บลายเพื่อทอให้เกิดลวดลายบนผ้า การเก็บลายให้ได้ ๔-๕ ตะกอ เพื่อใช้ในการทอ

ซึ่งเรียกว่า  “ลายลูกแก้ว”

๒. มาจากกระบวนการผลิต ที่มีความยุ่งยากใช้เวลานาน เช่น การย้อมมะเกลือใช้เวลา ๒ - ๓ เดือน การปักลายที่ใช้ฝีมือปักด้วยความประณีต เป็นของฝากที่ผู้รับมีความพึ่งพอใจกับการรอคอย  ในอดีตใช้มัดปลายแหลมคมในการตัดให้เป็นตัวเสื้อในปัจจุบัน มีการตัดเย็บที่ทันสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ ดั้งเดิมของมะเกลือ และสมุนไพร  ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชนบททั่วทุกท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันมีการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง  ที่มีการถักทอจากเส้นใยธรรมชาติ  เส้นใยที่ได้มานั้นมีทั้งจากพืช เช่น  ฝ้าย ป่าน ปอ และผลิตผลจากส่วนต่าง ๆของพืช และจากพวกสัตว์หรือแมลง เช่น ตัวไหม ขนของสัตว์ต่าง ๆนำเส้นใยดังกล่าวมาย้อมสีตามธรรมชาติเพื่อให้เกิดความสวยงาม สีที่นำมาย้อมจะได้จากพืช เช่น สีเขียวจาก ใบเตย ขี้เหล็ก สีเหลืองจากขมิ้น เปลือกขนุน สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน สีดำจากมะเกลือ สีแดงจากครั่ง

เป็นต้น  โดยมุ่งถึงความคงทน ปกปิดร่างกาย ป้องกันความร้อน จากแสงแดด และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทอและเย็บผ้าด้วยมือ ลวดลายที่ทอเป็นลวดลายที่นึกคิดขึ้นมาเอง ส่วนมากจะนิยมทอเป็นผ้าเหยียบหรือผ้าเก็บซึ่งมีความคงทนและสามารถให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี  ในการตัดเย็บใช้วิธีตัดและเย็บด้วยมือเพราะไม่มีจักรเย็บผ้าหรือเครื่องมือทุ่นแรง

                     ลักษณะของเสื้อเก็บบ้านเมืองน้อย  เป็นเสื้อที่ทำจากผ้าไหมพื้นบ้านทอมือ ทอลายในตัว ย้อมสีดำด้วยมะเกลือ ตัดเย็บตามแบบเสื้อพื้นบ้านของชนเผ่าส่วย เขมร มีการเย็บและปักด้วยเส้นไหมสีสันต่างๆ เรียกว่า

การแซว และอบด้วยสมุนไพรให้มีกลิ่นหอมติดทนทาน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า เสื้อผ้าเหยียบ

วัตถุประสงค์ ->

-สร้างอาชีพ สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

    วัตถุดิบและส่วนประกอบ

    ตัวเสื้อ

๑.       เส้นไหม (ได้จากการเลี้ยงไหมเอง)

๒.       พันธุ์หม่อนที่ใช้เลี้ยงไหม : Mullberry (จากเครือข่ายหมู่บ้านใกล้เคียงและอำเภอใกล้เคียง)

๓.       มะเกลือ :Ebony tree  (เป็นวัตถุดิบสำคัญในการย้อมเสื้อไหมเก็บบ้านเมืองหลวง)

ต้นใบขน (ส่วนที่นำมาใช้คือ ราก ลำต้น และใบ)

เครื่องอบสมุนไพร

๑.       ขมิ้น

๒.       เปราะหอม หรือไพลหอม

๓.       ใบเล็บครุฑ (นำส่วน ก้านและใบ มาใช้)

๔.       รากแฝกหอม หรือ รากเสน

๕.       ใบกล้วย(นำใบมาใช้ห่อเครื่องอบสมุนไพร)

๖.       ต้นเนียม(นำส่วน ลำต้นและใบ มาใช้)

๗.       ลูกฆ้อง (นำส่วน ผล มาใช้)

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนการผลิต

วิธีการทอผ้า

ทอด้วยกี่ไม้ทอมือ ที่ผลิตเอง และได้รับจากบรรพบุรุษ ฟืมที่ทอขนาดฟืม ๔๕ เพื่อทอผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพที่ศูนย์ห้วยทับทันและฟืม ๒๒  ใช้ทำเสื้อผ้าไหมเก็บ

วิธีการตัดเสื้อไหมเก็บ

           ตัดเสื้อแบบไม่มีตะเข็บบ่า ตัดตามยาว   จากนั้นก็ทำการเย็บเป็นตัวเสื้อขนาดมาตรฐาน S M L  ภายหลังตัดแล้วจะเย็บด้วยมือ แล้วจึงนำมาย้อมมะเกลือ หรือ บางรายนำผ้ามาย้อมมะเกลือให้เป็นสีตามต้องการก่อนแล้วจึงนำไปตัดเย็บ

วิธีการย้อมสีดำด้วยมะเกลือ

·         โขลกมะเกลือผสมกับใบขนและเล็บครุฑ

·         นำน้ำมาผสมให้มีความพอดี ไม่ข้นจนกินไปและไม่จางจนเกินไป

·         นำเสื้อลงจุ่มน้ำที่ผสมแล้ว บิดพอหมาดแล้วนำไปตากแดด (ให้ตากที่ๆมีความร้อนสม่ำเสมอ) เมื่อผ้าเริ่มแห้งนำมาจุ่มน้ำมะเกลือใหม่แล้วนำไปตาก เมื่อย้อมได้ ๓ วัน  นำเสื้อไปย้อมทับโคลน แล้วนำมาย้อมใหม่อีกครั้ง  เสื้อตัวหนึ่งใช้เวลาย้อมประมาณ ๑ สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น  สุดท้ายน้ำเสื้อไปต้มเพื่อให้ผ้าดูดซับสีของมะเกลือได้ดียิ่งขึ้น

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เวลาย้อมมะเกลือ ต้องทำตามขั้นตอน และ ระยะเวลา อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้สีสวยติดทนไม่ซีดจาง และไม่ตก เมื่อนำไปตากให้ตากในที่ๆ มีแดดสม่ำเสมอ ประมาณ ๖๐ แดด ๒๐๐ จุ่ม เพื่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา