ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การต่อ/สานแห

โดย : นายเชียง จันทร วันที่ : 2017-03-24-13:50:03

ที่อยู่ : เลขที่ 26 บ้านผือ หมู่ที่ 1 ตำบลผือใหญ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การสานแหเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษองคนไทย ซึ่งใช้การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพซึ่งมีให้เห็นอยู่แพร่หลาย การที่เราเรียนรู้วิธีการสานแหนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนไทยแล้วยังเป็นหนึ่งในวิธีการทาหากินอีกด้วย    

          สำหรับชาวบ้านชาวชนบทแล้ว แหคือความห่วงโซ่เรื่องอาหารและรายได้ เพื่อการยังชีพ ตราบใดที่แหล่งน้ำธรรมชาติยังมีอยู่ นั้นหมายถึงที่นั้นย่อมมีปลาและอาหารธรรมชาติ ดังนั้นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับแห ยังคงโยงใยกับชีวิตชาวบ้านของชนบท ทุกภาคตลอดไป เพราะวิถีชีวิตได้ถูกกำหนดและถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่แห ยังผูกพันกับปวงชนของบุคคลระดับกลางของสังคมชนบท

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย                                             

          2. การสานแหเพื่อใช้เป็นการประกอบอาชีพ

          3. การสานแหเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต

          4. เพื่อศึกษาวิธีการสานแห

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1 ด้ายในล่อนขาว ด้ายสานแห หรือ เอ็นสานแห

           2. กิม

           3. ไม่ไผ่ หรือ ปาน

           4. ลูกแห หรือ ลูกโซ่ตะกั่ว    

           5. สีย้อมแห หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน

          วิธีการก่อจอมแห

          1. ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น 

          2. ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ3ซม.

          4. พับครึ่งจัดให้เท่าๆกันแล้วมัดไว้ให้แน่น

          5. ถักเพิ่มเพื่อแยกตาแหให้เรียงรอบจอม ทั้งหมด16ตา 

2. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาด

          1. ใช้ปาน(ไม่ไผ่)สอดเทียบกับตาแห

          2. จากนั้นก็ขึงด้ายสานแหไว้

          3. ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้น

          4. จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วง

          5. ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห

          6. จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง

          7. แล้วก็ดึงให้รอดออกไป

          8. ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อย

3. สานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแห  

          เมื่อสานแหเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำอุปกรณ์แหไปทำการย้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติจะนำ เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่นพอประมาณ ให้เอาแหแช่ไว้ประมาณ2-3 ชั่วโมง แล้วนำออกมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปแช่น้ำโคลนประมาณ 1-3 ชั่วโมง จึงนำไปวักแหมีสีดำช่วยยืดอายุในการใช้งานยาวนาน

4. การถ่วงแห หลังจากตากแห แห้งดีแล้วปราชญ์ชาวบ้านบางท่านกล่าวว่า แหก็ยังนำไปทอดหรือตึกไม่ได้ จะต้องนำแห มาถ่วงโดยการใช้ไหบรรจุน้ำจนเต็ม ด้วยการนำไหใส่ในตัวแหแล้วมัดตีนแหให้จอมมัดกับขอหรือกิ่งไม้ ทิ้งไว้ข้ามคืนโดยประมาณ

 5. วิธีบำรุงรักษา เมื่อนำแหไปใช้เป็นอุปกรณ์หาปลา เวลาใช้เสร็จจะต้องทำความสะอาด เนื่องจากอาจมีเศษใบไม้ หญ้า ฟาง ดินเหนียว ติดกับหัวแห ล้างและทำความสะอาด สะบัดน้ำให้หมาด ๆ แขวนผึ่งลม ผึ่งแดด เพื่อเป็นการรักษาให้อายุการใช้งานได้ยาวนาน สำหรับอายุการใช้งาน ประมาณ 10 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำรุง รักษา อุปกรณ์การใช้งานของส่วนประกอบของแหนั้นเอง                                            

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา