ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกยางพารา

โดย : นายประมวล ผันผาย วันที่ : 2017-03-24-13:10:22

ที่อยู่ : 14 ม.5 ต.หนองหัวช้าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรทั่วประเทศไทยให้ความสนใจต้องการปลูกเป็นอย่างมาก และรัฐบาลได้ให้การส่งเสริมการปลูกยางพาราในทุกภาคของประเทศ  ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับความนิยมในการปลูกเพิ่มมากขึ้น  นับเป็นพืชที่มีอนาคตสดใส เนื่องจากทั่วโลกยังมีความจำเป็นในการใช้ยางพาราอยู่เป็นจำนวนมาก

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมดิน

      ทำการไถพลิกและไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูกยางพารา  และทำการปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน พืชปุ๋ยสดที่นิยมใช้ ได้แก่ ปอเทือง หรือโสนอัฟริกัน หว่านหรือโรยเป็นแถว และไถกลบเมื่ออายุ 45 วัน และปล่อยให้ย่อยสลาย 15 วัน แล้วจึงเตรียมหลุมปลูกยางพารา

วิธีการปลูกยางพารา

      ต้องวางแนวปลูกตามแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยมีระยะปลูก 2.5 x 8.0 เมตร หรือ 3.0 x 7.0 เมตร หรือ 3.0 x 6.0 เมตร ในแหล่งปลูกยางใหม่ โดยมีขนาดของหลุม 50 x 50 x 50 เซนติเมตร และทำการปลูกต้นกล้ายางพารา โดยคัดเลือกต้นกล้ายางพาราที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช ขนาด 1-2 ฉัตร และคลุกปุ๋ยหมักอัตรา 15-25 กิโลกรัมต่อหลุม พร้อมกับใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.3 อัตรา 3 กิโลกรัมต่อตัน ใส่รองก้นหลุมและทำการปลูกต้นกล้ายางพารา หลังจากปลูกยางพาราได้ 15 วัน ให้ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วคาโลโปโกเนียม หรือถั่วคุดซู หรือถั่วฮามาด้า  โรยเป็นแถวแทรกระหว่างยางพารา เพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช ป้องกันการชะล้างพังทลาย และเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

การดูแลรักษา

      ให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสารเร่ง พด.2 ให้พืชปุ๋ยสดทุก 7 วัน อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ นำมาเจือจาง 1:1,000 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชปุ๋ยสด และหลังจากปลูกยางพาราแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับยางพาราทางใบ หรือราดรดลงดินทุก 1 เดือน และให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับพืชตระกูลถั่วที่ปลูกคลุมดินด้วย

 

การป้องกันกำจัดโรค

      โรคราแป้ง ราสีชมพู โรคใบร่วง และผักเน่า และแมลงต่าง ๆ เช่น ปลวก หนอนทราย รวมทั้งวัชพืชชนิดต่าง ๆ ทำได้โดยใช้สารสกัดธรรมชาติหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช การกรีดยางสามารถทำการกรีดยางได้เมื่อต้นยางอายุ 6 ปี ขนาดเส้นรอบวงของลำต้น บริเวณที่ทำการกรีดยางไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยกรีดครึ่งลำต้น ความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน โดยกรีดทำมุม 30 องศา กับแนวระนาบ และเอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง ติดรางรองรับน้ำยางห่างด้านหน้าประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวดรับถ้วยน้ำยางให้ห่างจากรางรองรับน้ำยางลงมาประมาณ 10 เซนติเมตร กรีดยางให้ลึกใกล้เนื้อไม้มากที่สุด แต่ไม่ควรถึงเนื้อไม้ เมื่อกรีดยางเสร็จ ควรฉีดพ่นหรือทาบริเวณที่กรีดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจาง 1:1,000 เพื่อให้ยางมีน้ำยางมากที่สุด ยืดอายุการกรีดยางและต้นยางเสียหายน้อยที่สุด

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา