ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่ไข่

โดย : นายสถิตย์ กาหลง วันที่ : 2017-03-24-12:42:54

ที่อยู่ : 33/2 ม.1 ต.ลิ้นฟ้า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไข่ไก่เป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวและหวานได้มากมายหลายชนิด ไข่ไก่มีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่น สามารถบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย  ดังนั้นไข่ไก่จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากแทบจะทุกครัวเรือนก็ว่าได้  ไก่ไข่จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง การเลี้ยงไก่ไข่ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาในด้านการปรับปรุงพันธุ์ อาหารและการจัดการมาเป็นเวลาช้านานแล้ว จนกระทั่งในปัจจุบันไก่ไข่หลายๆพันธุ์ สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 300 ฟอง/ตัว/ปี จึงสามารถที่จะส่งเสริมให้เป็นอาชีพมั่นคงและยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เป็นอาชีพเสริมในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. โรงเรือนมีม่านกันลม กันฝน กันแดด

                        2.  อุปกรณ์ให้น้ำ เพื่อให้มีน้ำให้ไก่ได้กินตลอดเวลา

3.  รังไข่ใช้ใบตะไคร้รอง เพื่อป้องกันไรไก่

4.  วัสดุรองพื้น พื้นปูแกลบ ขี้เลื่อย ฟาง ไม่ให้ชื้นแฉะ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ช่วงเช้าให้ไก่หากินเองตามธรรมชาติก่อนให้อาหารเสริมพวกคาร์โบไฮเดรต  เช่น  รำ  ปลายข้าว  ข้าวเปลือก  ข้าวโพด

2. ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นอาหาร  เช่น  หยวกกล้วย/กล้วยสุกงอม 5 กก.รำละเอียด 1

กก.รำหยาบ 2  กก.ปลายข้าว  2  กก.  ข้าวเปลือก  1  กก.  และพืชผักธรรมชาติ  เช่น  กระถิน  มะละกอสุก  ตำลึง  เป็นต้น

                   3. เมื่อไก่เริ่มไข่ได้ 5% ของฝูง ควรเปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่สาวเป็นไก่ไข่

4. จดบันทึกการไข่ทุกวัน เพื่อสะดวกในการคัดไก่ที่ไม่ให้ไข่ออกจากฝูง หรือถ้าเลี้ยงแบบปล่อย

ฝูงก็ต้องจดบันทึกจำนวนไข่ทุกวัน เพื่อคิดเปอร์เซ็นต์การไข่

5. การเก็บไข่ ควรเก็บด้วยความระมัดระวัง ใส่ในแผงไข่ที่สะอาด คัดแยกขนาดไข่และไข่บุบ

ร้าว และเก็บไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง สำหรับการเลี้ยงแบบปล่อยฝูง

6. หมั่นตรวจดูวัสดุรองพื้นทั้งที่พื้นและในรังไข่ อย่าให้ชื้นแฉะ หรือจับเป็นแผ่นแข็ง หาก

สกปรกมากควรเปลี่ยนใหม่

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา