ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกมันสำปะหลัง

โดย : นายพิทูรย์ โคตรแพง วันที่ : 2017-03-27-21:16:24

ที่อยู่ : บ้านเลขที่…14…หมู่...15...ตำบล....สังเม็ก....

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี โดยมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม อีกร้อยละ 20 ปลูกในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 13 จะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม สำหรับการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนนี้ ผลผลิตหัวสดที่ได้จะสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ แต่ในดินที่มีลักษณะเนื้อดินค่อนข้างหยาบ การปลูกในช่วงฤดูแล้งจะให้ผลผลิตสูงที่สุด ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกช่วงการปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม จึงต้องพิจารณาทั้งปริมาณน้ำฝน และลักษณะของดิน

วัตถุประสงค์ ->

ต้องการสืบทอดภูมิปัญญา ต้องการสร้างอาชีพเสริมให้ตนเองและคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรมี 2 วิธี คือ

                   1. การปลูกแบบนอน

                   2.การปลูกแบบปัก

                   โดยการปลูกแบบปักจะให้ผลดีกว่าการปลูกแบบนอน เนื่องจากมันสำปะหลังจะงอกได้เร็วกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อมและกำจัดวัชพืช การปลุกแบบปักสามารถปลูกได้ทั้งปักตรงและปักเอียง โดยปักลึกลงไปในดินประมาณ 10-15 เซนติเมตร

ข้อพึงระวัง ->

การกำจัดวัชพืช ภายในช่วย 3 เดือนแรกถือว่าเป็นช่วงสำคัญของการปลูกมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลังทำให้มันสำปะหลังแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลงมาก  การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดยใช้จอบถาง  ใช้รถไถเดินไถระหว่างร่อง  ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอก  หรือสารเคมีฆ่าหลังวัชพืชงอก   สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผล เฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น และห้ามใช้ไกลโพเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะจะทำให้มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติบโต

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา