ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมัก

โดย : นายวิชัย นวลละออง วันที่ : 2017-03-23-21:54:24

ที่อยู่ : 90 ม.2 ต.หนองครก อ. เมือง จ.ศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากราคาุปุ๋ยเคมีมีราคาที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง และสารเคมีส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จึงได้ศึกษาหาความรู้จากในอินเตอร์เน็ต เพื่อหาวิธีทำปุ๋ยหมัก จึงได้พบวิธีทำปุ๋ยหมัก แบบไม่พลิกกลับ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้้ทำตามและได้ผลดี

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ฝาง หรือเศษใบไม้

2.มูลวัว

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบกองแถวยาวไม่พลิกกลับกองของแม่โจ้ มีขั้นตอนวิธีทำดังนี้

1. นำฟาง 4 เข่ง "วางหนา 10 ซม." บนพื้นดิน ฐานกว้าง 2.5 ม. โรยทับด้วยขี้วัว 1 เข่ง (เพื่อให้เป็นสัดส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร - ถ้าเป็นใบไม้ใช้ 3 ต่อ 1) แล้วรดน้ำ ..... ถ้าต้องการปุ๋ยหมัก 1 ตันก็ทำซ้ำข้างต้นจนมีความยาวกองปุ๋ยให้ได้ 4 เมตร .... อันนี้เป็นชั้นที่ 1

2. ทำชั้นที่ 2 ซ้ำขั้นตอนข้างต้น แล้วรดน้ำ ... ทำชั้นสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ชั้นเศษพืชหนาเพียง 10 ซม. โดยให้กองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม สูงรวม 1.5 ม. ปกติก็จะมีจำนวน 15 - 20 ชั้น ... การทำเป็นชั้นบาง ๆ ก็เพื่อให้จุลินทรีย์ในมูลสัตว์สามารถออกมาย่อยสลายเศษพืชได้ทั่วถึง ที่สำคัญ ... ห้ามเหยียบ

3. ถ้าต้องการปุ๋ยหมัก 1 ตันก็ให้ต่อกองปุ๋ยจนยาว 4 ม. ... กองปุ๋ยยาว 4 เมตรจะใช้ขี้วัว 30 กระสอบ หรือ 360 กก. ถ้าขี้วัวกระสอบละ 25 บาทก็จะเป็นต้นทุนในการทำปุ๋ย 30 x 25 = 750 บาทต่อตัน .... แต่ถ้าไม่ทำเองแล้วไปซื้อของคนอื่นอาจต้องจ่ายถึง 5,000 - 7,000 บาทต่อตันเชียวครับ

4. ภายในเวลา 2 เดือนให้ดูแลน้ำอย่างปราณีต ได้แก่ รดน้ำวันละครั้ง ในปริมาณที่ไม่ทำให้น้ำไหลนองออกมามากเกินไป ...... แล้วทุก 10 วันก็ให้เอาไม้เจาะกองปุ๋ยถึงพื้นดิน ระยะห่างรู 40 ซม.รอบกอง กรอกน้ำลงไปในปริมาณที่ทำให้ภายในกองปุ๋ยชื้นพอดี ๆ ไม่มีน้ำไหลนองออกมามาก เสร็จแล้วปิดรู ..... สรุป : รดน้ำวันละครั้ง แล้วทุก 10 วันเจาะกองปุ๋ยเติมน้ำ ปิดรู (เจาะรวม 5 ครั้ง)

5. พอครบสองเดือน กองปุ๋ยก็จะยุบเหลือแค่ 1 เมตร กระบวนการก็จะยุติโดยไม่ต้องพลิกกองเลย แล้วทิ้งให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว ไม่เป็นอันตรายต่อพืช แห้งแล้วค่อยเอาไปใช้หรือเก็บใส่กระสอบ เก็บในร่มได้นาน 3-4 ปี

ข้อพึงระวัง ->

 

ข้อห้ามของการทำปุ๋ยวิธีนี้คือห้ามขึ้นเหยียบ ห้ามเอาผ้าคลุม เพราะจะทำให้อากาศไหลเวียนเข้าไปในกองปุ๋ยไม่ได้ ... ห้ามทำชั้นเศษพืชหนาเกินไปเพราะจุลินทรีย์จะเข้าไปย่อยสลายไม่ได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา